Pages

Wednesday, December 23, 2009

TOP 25 GLOBAL RETAIL BRAND 2009


เนื่องจากช่วงนี้พอมีเวลาว่างแล้วหาข้อมูลเลยไปเจอกับ report นึงซึ่งน่าสนใจมากเกี่ยวกับ retail ซึ่งได้ตีมูลค่าแบรนด์ retail 25 อันดับแรกของโลก







โดย report ฉบับได้จัดทำโดย MIV และ Millward Brown Optimor ซึ่งเป็น strategic brand consultant agency ที่จะจัดอันดับ Top 100 Valuable Brand เป็นประจำทุกปี

โดยจะเป็นกลุ่ม brand ทุกอุตสาหกรรม เช่น Google Nokia Toyota DHL Avon KFC Intel LV Gucci Coca-Cola



ครั้งนี้รู้สึกว่าจะเป็นครั้งแรกที่ Millward Brown Optimor ทำการวัดมูลค่า Brand ค้าปลีก



สำหรับวิธีการคิดนั้นจะวัดทั้งมุมมองของลูกค้าและพื้นฐานการเงินของบริษัท สำหรับวิธีการคำนวณอย่างละเอียดสามารถดูได้จาก brandz



โดย report ชิ้นนี้ได้ระบุถึงปัจจัยที่ทำให้แบรนด์ค้าปลีกเหล่านั้นประสบความสำเร็จ

โดยจะยก Top 10 Most Valuede Brand มาพูดถึงอย่างละเอียด







จากการศึกษาพบว่า Top 25 Brand ค้าปลีกทั้งนี้ได้ทำยอดขายถึง 1.09 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ จากจำนวนสาขาทั้งหมด 38,000 สาขาใน 71 ประเทศทั่วโลกในปี 2008






------------------------------------------------------------------






Retail is Local

กว่าครึ่งพบว่ายอดขายมาจากตลาดในประเทศเดียว โดยจะเลือกตลาดที่มีกำลังซื้อสูง เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น หรือประเทศใหญ่ในยุโรป

โดยจาก Top 25 พบว่ามีกลยุทธทั้งแนวทางที่ปรับตัวให้เข้ากับตลาดท้องถิ่น เช่น ปรับรูปแบบของร้าน สินค้า หรือ position ให้เข้ากับกลุ่มลูกค้า เช่น Tesco Carrefour ที่มีรูปแบบที่แตกต่างกันไปในแต่ละตลาดหรือแม้กระทั่ง Ebay ก็มี business ที่หลากหลายในแต่ละประเทศ

ในขณะที่บางแบรนด์ยึด single model เป็นอาวุธหลักในการดำเนินธุรกิจหรือมีการปรับน้อยมาก เช่น IKEA ที่เข้าตลาดโดยแบรนด์ IKEA เท่านั้น หรือ Amazon ก็เหมือนกัน



12 จาก 25 แบรนด์มียอดขายมากกว่า 90% จากตลาดหลักตลาดเดียว

2 จาก 25 ใช้ single brand strategy ในการทำตลาดต่างประเทศ (international market) คือ IKEA และ Amazon












------------------------------------------------------------------



Top 25 Has Small Impact in 7 Key Markets

สำหรับ 7 ประเทศที่ global retail มีผลต่อสภาพตลาดน้อยมากประกอบด้วย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย รัสเซีย แอฟริกาใต้

ซึ่งสาเหตุที่ global retail ไม่ประสบความสำเร็จหรือสำเร็จเกิดจากเหตุสำคัญ 3 ประการด้วยกัน คือ ผู้บริโภค สภาพตลาดค้าปลีก และการสนับสนุนของรัฐบาล



1)จีน - ถึงแม้ว่าตลาดจะมีขนาดใหญ่มากและก็มีหลายรายที่อยู่ประเทศจีน เช่น Wal-mart Carrefour Tesco แต่ทั้งหมดนั้นก็ได้ Market share ที่น้อยมาก




2)ญี่ปุ่น - ด้วยสภาพภูมิประเทศที่ทำให้การจัดการ Logistics เป็นไปอย่างซับซ้อนและความเป็นชาตินิยม ทำให้ Jusco คือผู้ครองตลาดญี่ปุ่นไว้อย่างเหนียวแน่น




3)เกาหลีใต้ - พฤติกรรมผู้บริโภคเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เหลือ Global retail แค่ Tesco และ Costo ในขณะที่ Carrefour ไม่สามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าได้ต้องขายกิจการให้ Tesco




4)อินเดีย - ถึงแม้ว่าจะเป็นดาวรุ่งดวงหนึ่งใน BRIC แต่ว่ายังขาดปัจจัยที่จะทำให้ global retail ขยายสาขาได้ ไม่ว่าจะเป็น infrastructure การกระจายรายได้ การสนับสนุนของรัฐบาล




5)ออสเตรเลีย - สถาพภูมิประเทศเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ค้าปลีกท้องถิ่นเป็นผู้นำตลาด




6)รัสเซีย - สภาพภูมิประเทศ สภาพอากาศ ภาครัฐและราคาอสังหาริมทรัพย์ทำให้เป็นอุปสรรคในการขยายสาขาของค้าปลีกข้ามชาติ ถึงแม้ว่า Auchan จะขยายตัวอย่างรวดเร็วในรัสเซียก็ตาม




7)แอฟริกาใต้ - สภาพภูมิประเทศที่กันดารและการกระจุกตัวของประชากรทำให้เป็นข้อจำกัดของค้าปลีกข้ามชาติ ค้าปลีกแอฟริกาใต้



อย่างไรก็ตามในตลาดเกิดใหม่อย่าง บราซิล เม็กซิโก อาร์เจนติน่า ไทย มาเลเซีย และกลุ่มประเทศยุโรปกลางและตะวันออก ก็เป็นฐานสร้างรายได้สำคัญสำหรับเหล่า Top 25 Global Retail อย่างเช่น Carrefour ของฝรั่งเศสหรือ Metro ของเยอรมัน



โดยสรุปตลาดสำคัญของเหล่า Top 25 Global Retail คือตลาดใน สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมันและฝรั่งเศส ซึ่งสร้างยอดขายกว่า 80%




------------------------------------------------------------------



ในขณะที่ Lidl และ Auchan จะแปลกกว่า โดยเป็นแบรนด์ที่ขายดีในตลาดที่ไม่ใช่ตลาดหลัก โดยสรุปเป็นข้อสังเกตุได้ 3 ข้อด้วยกัน



1) ขยายตัวในตลาดที่ถูกละเลย (ข้อนี้น่าจะเป็น Blue Ocean) โดยที่ลดความเสี่ยงจากตลาดที่มีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจหรือตลาดที่เติบโตเกือบเต็มที่แล้ว โดย Auchan มีอัตราการเติบโตในระดับสูงในอิตาลี รัสเซียและจีน ในขณะที่ Lidl (German Discount Supermarket) ขยายสาขาครอบคลุมหลายประเทศในยุโรป



2) Need ชนะ want โดยเหล่าแบรนด์ที่ตอบสนองความต้องการพื้นฐานจะมีผลงานดีกว่า อย่างเช่น Jusco, Home Depot จะพยายามเลือกสินค้าในกลุ่มที่ได้ผลกระทบจากเศรษฐกิจน้อยนำเสนอลูกค้า



3) เน้นที่ความคุ้มค่าของเงินมากกว่าความแตกต่างเพียวๆ โดยแบรนด์ที่มูลค่าแบรนด์เพิ่มขึ้นจะเน้นจุดนี้เป็นกลยุทธสำคัญของแบรนด์ตัวเอง โดยปัจจัยที่ทำให้ brand เหล่านี้ประสบความสำเร็จมาจากการสื่อสารเรื่องความได้เปรียบทางด้านราคา โดยไม่ลืมที่จะลิ๊งค์กับทางด้านความรู้สึกของลูกค้า (emotional)




Reblog this post [with Zemanta]

2 comments:

  1. Wow Such a great Blog. I discovered this which is exceptionally utilize full. Extraordinary article and data continue sharing more! Love yours blog. Thanks for sharing. Strategic brand consultant

    ReplyDelete

  2. I am really enjoying reading your well written articles. It looks like you spend a lot of effort and time on your blog. I have bookmarked it and I am looking forward to reading new articles. Keep up the good work. Strategic brand consultant

    ReplyDelete

LinkWithin

Related Posts with Thumbnails