Pages

Tuesday, November 10, 2009

การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา MK



สุกี้MK เป็นหนึ่งในองค์กรต้นแบบ จากความสำเร็จในเชิงธุรกิจที่เริ่มต้นจาก ร้านสุกี้ก่อนพัฒนาขึ้นเป็นกลุ่มธุรกิจอาหารระดับภูมิภาคในปัจจุบัน ฤทธิ์ ธีรโกเมน ประธานกรรมการ บริษัท MK เรสโตรองต์ จำกัด ให้สัมภาษณ์ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงทิศทาง และเบื้องหลังความสำเร็จของMK





ทิศทางของMK?

กับทิศทางของMK ฤทธิ์ บอกว่า ปัจจุบัน MKมีสาขาราว 300 แห่ง และบริษัทประเมินว่า เมื่อขยายถึง 500 แห่ง ตลาดในไทยคงอิ่มตัว "เราก็คิดว่าต้องไปต่างประเทศ" เขากล่าว

"
ปัจจุบัน MKมีสาขา 18 แห่งในญี่ปุ่น และจะเปิดสาขาแรก ในเวียดนาม เดือนธันวาคมนี้ คือ ทิศทางต่อไปคือไปต่างประเทศ เพราะระบบที่เราพัฒนาขึ้นมาเป็นมาตรฐานโลก ทำให้MKสามารถมี ที่ไหนก็ได้ จะส่งอาหารจากเมืองไทยไปก็ได้ สามารถผ่านการตรวจสอบของสำนักงานอาหารและยา ของประเทศนั้นๆ ได้" ฤทธิ์ขยายความ




ระบบของMK

ประธานกรรมการMK บอกว่า MKเริ่มพัฒนาระบบในการบริหารองค์กรตั้งแต่สาขาเพิ่มเป็น 70-80 แห่ง ซึ่งถือว่ามากสำหรับธุรกิจร้านอาหารในไทยขณะนั้น อีกทั้ง คนไทยยังไม่มีประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจร้านอาหารที่มีขนาดใหญ่เช่นนั้นมาก่อน จากโจทย์ที่ว่า เราจึงมองว่าหากจะพัฒนาต้องให้เทียบชั้น มาตรฐานโลกเหมือนนักกีฬา ถ้าระดับโลกต้องโอลิมปิก




หนึ่งในประสบการณ์สู่มาตรฐานโลกของMK คือ การสร้างโรงงานอาหาร

"ตอนนั้นก็ปิดโรงงานเก่า และสร้างโรงงานที่สอง ออกแบบใหม่หมด ใช้มาตรฐานโลก พอเสร็จแล้วให้พวกตรวจสอบมาตรฐานโรงงานอาหารมาตรวจสอบว่า เทียบเท่า ญี่ปุ่น หรือสหรัฐฯ ได้หรือไม่ เชิญเพื่อนที่ทำแมคโดนัลด์ หรือเคเอฟซี มาดูโรงงานบ้าง เขาบอกว่าเทียบเขาได้" ฤทธิ์เล่าตอนหนึ่ง และต่อว่า ต่อจากนั้น MKค่อยๆ พัฒนาระบบต่างๆ เช่น การฝึกอบรม และอื่นๆ โดยยึดเกณฑ์เดียวกัน คือ "ต้องมาตรฐานโลก"

การตัดสินใจยึดมาตรฐานโลกในการพัฒนาองค์กร ทำให้MKสามารถยืนหยัดได้อย่างสบาย เมื่อสาขาเพิ่มเป็น 200 แห่ง " เป็นความคิดที่ถูกต้อง เพราะหากเราไม่วางมาตรฐานตอนนั้น (ช่วงที่มีสาขา 70-80 แห่ง) ตอนขยายมาเป็น 200 สาขา เราคงมีปัญหามาก"

เปิดแผนโกอินเตอร์




เช่นที่กล่าวถึงข้างต้นว่า วิสัยทัศน์ของผู้บริหารMKในการนำพาองค์กรให้เติบโตต่อไป คือ มุ่งตลาดต่างประเทศ ฤทธิ์ ขยายความกลยุทธ์ว่า MKจะจับมือกับพันธมิตรต่างแดน เพื่อประสานความชำนาญในการรุก เขากล่าวถึง ร้านอาหารยาโยอิ พันธมิตรรายแรกของMKที่MKถึงเข้ามาขยายสาขาในไทย 3 ปีแล้ว และในขณะเดียวกัน MKได้ใช้สายสัมพันธ์กับยาโยอิ ในการขยายสาขาMKที่ญี่ปุ่นเช่นกัน




"ต่อไปเรากับยาโยอิ จะบุกไปต่างประเทศด้วยกัน แบบเปิดเป็นร้านคู่ ซึ่งเมืองไทยเราเปิดคู่หลายแห่งแล้ว เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน เป็นโค แบรนด์ เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือก เวลาเบื่ออาหารร้านใดร้านหนึ่ง" ประธานกรรมการ MK เล่าก่อนปิดท้ายแผนรุกของMKว่า




มีเป้าขยายร้านอาหารไทย ณ สยาม ซึ่งถือเป็นมรดกตกทอดจากคุณแม่ ซึ่งเดิมเปิดร้านอาหารไทยชื่อ MKอยู่บริเวณสยาม สแควร์ ต่อมาเมื่อทางครอบครัวตัดสินรุกธุริกจสุกี้ จึงเลือกใช้แบรนด์MKกับร้านสุกี้ และสร้างแบรนด์ ณ สยาม สำหรับร้านอาหารไทย เพื่อไม่ให้ลูกค้าสับสน

ถึงวันนี้สุกี้MK กำลังมุ่งหน้าสู่การเป็นธุรกิจระดับภูมิภาค ด้วยการขยายสาขาในต่างประเทศ



อะไรคือ กุญแจดอกสำคัญ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรธุรกิจแห่งนี้

ฤทธิ์ตอบคำถามนี้อย่างมั่นใจ "เพราะเราชอบเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา" เขายกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่ดูเหมือนเล็ก แต่เป็นจุดเปลี่ยนของร้านสุกี้MK เช่น ตัดสินเปลี่ยนมาใช้เตาไฟฟ้า หรือ การทดลองทำชามใส่อาหารทรงเหลี่ยม เพื่อประหยัดพื้นที่ใช้สอยบนโต๊ะ และที่กำลังทำอยู่เวลานี้ คือ เปลี่ยนประเภทตะเกียบ ซึ่งถือเป็นเรื่องท้าทายของMKมาก




เนื่องจากตะเกียบไม้ ที่ใช้ปัจจุบัน แม้ไปได้ดีกับอาหารหม้อร้อน แต่สวนทางกับกระแสโลกที่มุ่งอนุรักษ์ "การหาสิ่งทดแทนตะเกียบไม้ยากมาก เพราะในหม้อร้อน เราคิดหลายทางถ้าจะมาแทนต้องแก้ปัญหาให้จบ ล่าสุดลองเอาสเตนเลสส์มาแทนแบบเกาหลี ตอนนี้กำลังทดลองอยู่"

เขาบอกว่า หลักคิดในการบริหารของMK ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง เราคิดว่า "ถ้ามีประโยชน์กับลูกค้า แม้แต่เพียงนิดเดียว เราจะทดลองทำทันที"




นอกจากพฤติกรรมองค์กร ที่ไม่หยุดนิ่งแล้ว ฤทธิ์ บอกว่า เบื้องหลังความสำเร็จของMKนั้น มาจากวัฒนธรรม 14 ข้อ ซึ่งติดอยู่ในทุกหน่วยงาน ซึ่ง ฤทธิ์ บอกว่า เป็นการแปรเอาคุณค่าจากยุคของคุณแม่ ที่มักทักทายกับลูกค้า และพร้อมจะทำใหม่ให้ ถ้าหากไม่อร่อย มาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของMK ซึ่งถือเป็นกุญแจดอกสำคัญที่นำความสำเร็จมาสู่MK









Reblog this post [with Zemanta]

No comments:

Post a Comment

LinkWithin

Related Posts with Thumbnails