Photo Source: http://th.openrice.com |
"โตเกียว คาเร"
ร้านข้าวแกงกะหรี่ในเครือบริษัทส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่
บูมกระแสข้าวแกงกะหรี่ญี่ปุ่น เดินหน้าขยายสาขา วางกลยุทธ์ราคาต่ำกว่าคู่แข่ง
เน้นเทรนดี้เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ตั้งเป้า 10 สาขาใน 5 ปี
พร้อมเดินหน้าเปิดแบรนด์ใหม่ต่อเนื่อง หวังเป็นเหมือน "ไมเนอร์ ฟู้ด"
นางสาววรรณศิริ อร่ามวัฒนานนท์
ผู้บริหารร้านข้าวแกงกะหรี่ญี่ปุ่น "โตเกียว คาเร" (Tokyo
KA-REI) ในเครือบริษัท ซี เวลท์ โฟรเซ่น ฟู้ด จำกัด
ผู้ผลิตอาหารทะเลส่งออกรายใหญ่ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า โตเกียว
คาเร เป็นคอนเซ็ปต์ที่พัฒนาขึ้นเปิดตัวเมื่อ 3 ปีที่แล้ว
ถือเป็นการแตกไลน์ธุรกิจในเครือซึ่งมีความพร้อมด้านวัตถุดิบในฐานะผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่ของประเทศ
โดยนำเข้าผงแกงกะหรี่จากพันธมิตรจากญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ผลิตผงแกงกะหรี่รายใหญ่
ขณะนั้นบริษัทเข้ามาบุกเบิกตลาดข้าวแกงกะหรี่ใกล้เคียงกับแบรนด์
"โคโค่ อิฉิบันยะ" ของค่ายร้านอาหารฟูจิ ปัจจุบันมีเปิดให้บริการแล้ว 3
สาขา ได้แก่ จามจุรี สแควร์, ริเวอร์ซิตี้
และเทสโก้ ศรีนครินทร์
ส่วนแผนเปิดสาขาใหม่จากนี้จะเน้นทำเลที่ใกล้กรุงเทพฯเป็นหลัก
เพราะเอื้อกับการขนส่งวัตถุดิบและระบบโลจิสติกส์ต่าง ๆ
เพราะครัวกลางตั้งอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร
"ที่แน่นอนแล้วว่าจะเปิดให้บริการในปีหน้าคือ
เมกะ บางนา นอกจากนี้ยังมองที่สีลมคอมเพล็กซ์
ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการรีโนเวตโซนอาหาร ซึ่งจะเพิ่มพื้นที่ให้มากขึ้น
ส่วนต่างจังหวัดมองไปที่หาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งจะมีการสร้างศูนย์การค้าเซ็นทรัล
โดยตั้งเป้าเปิดอีก 10 สาขา ภายใน 5 ปีจากนี้"
ปัจจุบันข้าวแกงกะหรี่ถือเป็นเซ็กเมนต์ใหม่ในร้านอาหารญี่ปุ่น
ซึ่งการแข่งขันยังไม่สูงมาก
ที่เป็นเชนมีเพียงโตเกียวคาเรและโคโค่ฯเท่านั้นโดยบริษัทวางแคแร็กเตอร์ที่แตกต่างเน้นเทรนดี้
เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่
"ถือว่าตลาดยังมีโอกาสอีกมาก
ขณะนี้ถือว่าคนไทยมีความคุ้นเคยกับข้าวแกงกะหรี่ญี่ปุ่นมากขึ้น
แต่ยังถือเป็นตลาดที่เล็กอยู่" นางสาววรรณศิริกล่าว
ทั้งนี้
บริษัทพยายามเพิ่มความหลากหลายให้กับลูกค้า โดยเพิ่มเมนูอาหารญี่ปุ่นอื่น ๆ
เพื่อเป็นทางเลือก อาทิ ราเมนแบบต่าง ๆ ข้าวไก่เทอริยากิ ฯลฯ
โดยเน้นเป็นอาหารจานเดียว รับประทานง่าย ในคอนเซ็ปต์ ฟาสต์ แคชวล เรสเตอรองต์
ทั้งนี้ จะเน้นกลยุทธ์ราคาที่แข่งขันได้ที่ระหว่าง 99-129 บาท
สำหรับเมนูข้าวแกงกะหรี่ญี่ปุ่นเริ่มต้นที่ราคา 109 บาท
หากเทียบกับคู่แข่งถือว่าราคาต่ำกว่ามาก กลุ่มเป้าหมายมีทั้งนักศึกษา คนทำงาน
และครอบครัว
นางสาววรรณศิริกล่าวว่า
เป้าหมายของบริษัทคือการรุกธุรกิจอาหารอย่างเต็มที่
โดยวิชั่นคือสามารถเปิดสาขาได้ถึงระดับเครือไมเนอร์ ฟู้ด
ที่ถือเป็นเจ้าตลาดอาหารประเภท QSR หรืออาหารจานด่วนในปัจจุบัน
โดยในช่วง 3 ปีข้างหน้ามีแผนเปิดตัวแบรนด์ที่ยังเน้นเป็นอาหารจานเดียว
รับประทานง่าย สะดวก เหมาะกับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคใหม่ อีกทั้งบริหารจัดการง่าย
ซึ่งข้อได้เปรียบของบริษัทคือมีคอนเน็กชั่นซึ่งเป็นลูกค้าในต่างประเทศจำนวนมาก
สามารถนำมาต่อยอดธุรกิจได้ อาทิ ตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำในด้านฟาสต์ แคชวล
เรสเตอรองต์ โดยเบื้องต้นคาดว่าภายใน 7-8
ปีข้างหน้าจะมีแบรนด์ร้านอาหารในเครืออยู่ที่ 2-3 แบรนด์
สำหรับงบฯลงทุนวางไว้เฉลี่ยสาขาละ
3 ล้านบาท พื้นที่ประมาณ 80-100 กว่าตารางเมตร
ปัจจุบันบริษัทสามารถทำยอดขายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 9 แสน-1 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
โดยสิ้นปีนี้คาดว่าจะเติบโต 10% จากผลกระทบน้ำท่วม ส่วนปีหน้าตั้งเป้าเติบโต 20%
จากนี้จะเดินหน้ารุกตลาดมากขึ้นผ่านสื่อออนไลน์ อาทิ เฟซบุ๊ก รวมถึงนิตยสาร
การออกรายการที่ลิงก์ไปกับปลากระป๋องซีแวลู ของบริษัท ซูเปอร์ ซีเชฟ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือด้วยกัน
ทั้งนี้
เชื่อว่าเทรนด์ร้านอาหารญี่ปุ่นจากนี้ยังเติบโตต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม
จากคู่แข่งที่มากขึ้นทำให้แต่ละแบรนด์ต้องมีการปรับตัวสร้างโพซิชันนิ่งที่ชัดเจน
พร้อมกับตอกย้ำเรื่องคุณภาพ
No comments:
Post a Comment