Pages

Friday, December 9, 2011

INDEX LIVING MALL The Walk โมเดล “เฟอร์นิเจอร์+คอมมูนิตี้”

Story & Photo Source: http://www.positioningmag.com
อินเด็กซ์ ลิฟวิ่ง มอลล์ น่าจะเป็นศูนย์เฟอร์นิเจอร์ที่ถูกจับตามองมากที่สุดว่าจะรับมือกับการเข้ามาของอิเกียอย่างไร เพราะมีความทับซ้อนในเรื่องของสินค้า และรูปแบบร้าน
เราถูกนำไปเปรียบเทียบกับอิเกียตลอดเวลา ว่าต้องชนกับเขาตรงๆ เพราะมีเฟอร์นิเจอร์ และของแต่งบ้านเหมือนกัน แต่อินเด็กซ์มีสิ่งที่ไม่เหมือนคือ บรรยากาศ การแต่งร้าน  การจัดวาง อินเด็กซ์เป็นโฮมแฟชั่น ดีไซน์กฤษชนก ปัทมสัตยาสนธิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเด็กซ์  ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด อธิบายถึงความแตกต่างของตัวเองกับคู่แข่ง
แม้ว่าจะมีความต่างในหลายๆ ด้าน แต่เมื่อรายใหญ่ลงตลาดอย่างเต็มตัว ก็เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการเดิมในตลาต้องคิด และวางแผนรับมือเช่นกัน เธอบอกว่า รับรู้ถึงการเข้ามาของคู่แข่งมานานแล้ว และได้ลงมือปรับเปลี่ยนอินเด็กซ์ไปมากพอสมควร
สิ่งที่อินเด็กซ์ทำก็คือ การทำสำรวจตลาดทั้งของตัวเอง และคู่แข่งที่มีอยู่ว่าต้องปรับเปลี่ยน หรือเพิ่มเติมอะไรบ้าง ในทุกแง่มุมทั้งตัวสินค้า บริการ และราคา เพื่อนำมาปรับให้สามารถแข่งขันได้ รวมถึงให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ
อินเด็กซ์มอง 3 ข้อหลักในการทำสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านคือ ออกแบบ ราคา คุณภาพ ซึ่งความต้องการในแต่ละช่วงเวลาของผู้บริโภค และการแข่งขันจะไม่เหมือนกัน แต่ปัจจัยทั้งสามข้อนี้จะเป็นแกนหลัก สลับสับเปลี่ยนกันไปว่าเรื่องใดจะเป็นสัดส่วนหลักในการปรับให้เหมาะสมกับช่วงนั้นๆ
การเข้ามาของอิเกีย ทางอินเด็กซ์ก็ปรับเพิ่มในส่วนของการออกแบบมากขึ้น เพื่อสร้างความต่างและดึงลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ต้องการสินค้าที่ตัวเองชื่นชอบ

ขายสไตล์การแต่งบ้าน+บริการ
เมื่อรายใหญ่อย่างอิเกียมองที่ตลาดแมส และมีราคาเป็นแรงจูงใจ การปรับตัวของอินเด็กซ์ก็มุ่งไปที่การขายความต่าง และจับลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่ง สิ่งที่อินเด็กซ์ต้องการเน่นในช่วงก่อนที่อิเกียจะเปิดสาขาก็คือ ขายสินค้าสไตล์การแต่งบ้าน
เรามีดีไซเนอร์ ออกแบบให้ลูกค้าว่าใส่เฟอร์นิเจอร์แล้วเป็นอย่างไร แต่เราไม่มีสไตลิสต์คอยแนะนำว่าจะทำให้เฟอร์นิเจอร์เข้ากับบ้านได้อย่างไรกฤษชนกขยายความ
สินค้า 4 สไตล์ที่อินเด็กซ์ทำออกมาคือ สไตล์ Romantic Passion สไตล์ Traditional Elegant สไตล์ Modern Italian และสไตล์ Mix & Match
การที่เริ่มทำสินค้าที่มีแนวคิดหลักเช่นนี้ ต้องใช้เวลาในการหาสไตลิสต์ที่ประจำทุกสาขา  จึงใช้เวลานาน และที่สำคัญลูกค้าต้องเชื่อถือ และมั่นใจ ซึ่งหลังจากเริ่มทำออกไป การตอบรับของลูกค้าก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจ
อินเด็กซ์กำลังมองความต้องการของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม และเจาะเข้าไปให้ถึงความต้องการ พร้อมๆ กับสร้างลูกค้าของตัวเองขึ้นมาใหม่ เพราะเชื่อว่าลูกค้าแต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกัน ไม่ได้ชอบสินค้าที่เหมือนกันทุกรายการ และการลงไปแข่งในตลาดแมสกับรายใหญ่ เป็นเรื่องยาก
สิ่งที่อินเด็กซ์มองไว้ก็คือ การบริการหลังการขายทั้งขนส่ง และประกอบติดตั้ง ยังเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้บริโภคคนไทย และเป็นสิ่งที่ผู้ซื้อต้องการ 
ค่าแรงบ้านเราไม่แพงเหมือนในยุโรป เราสามารถจ้างในราคาที่ไม่แพง ทำไมเราไม่จ้างประกอบ คนไทยยังคิดแบบนี้อยู่ แต่ถ้าวันไหนที่ค่าแรงแพงขึ้น ก็คงต้องคิดอีกแบบหนึ่ง
ความแตกต่างของผู้ประกอบการรายใหม่ และรายเก่าจะแตกต่างกันในเรื่องบริการ และสิ่งอำนวยความสะดวก แต่ก็อาจจะต้องแลกมาด้วยราคาสินค้าต่างกัน
ปรับแค็ตตาล็อกแจกปีละ 2 เล่ม
แค็ตตาล็อกก็เป็นอีกเครื่องมือการตลาดที่อินเด็กซ์ลงมือปรับเปลี่ยนให้มีความชัดเจนขึ้นเมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งกฤษชนกอธิบายว่า เดิมแค็ตตาล็อกของอินเด็กซ์ทำแยกเนื้อหาเป็นสินค้าแต่งบ้าน 1 เล่ม และเฟอร์นิเจอร์ 1 เล่ม แยกกันอย่างชัดเจน
เรานำเนื้อหาทั้ง 2 ส่วนมารวมกัน แล้วนำเสนอเป็นสไตล์การแต่งบ้าน เพื่อให้ลูกค้าเกิดแรงบันดาลใจ
แค็ตตาล็อกของอินเด็กซ์แจกปีละ 2 เล่มโดยแบ่งแจก 6 เดือนต่อเล่ม ยอดพิมพ์ของทั้งสองเล่มประมาณปีละ 250,000 เล่ม โดยการแจกลูกค้าสามารถรับแค็ตตาล็อกฟรีได้ที่สาขาของอินเด็กซ์ อีกส่วนหนึ่งอินเด็กซ์จะทำการส่งให้กับสมาชิกที่มีความเคลื่อนไหวในการซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง ที่ไม่สามารถแจกให้กับสมาชิกทุกรายได้เพราะขณะนี้สมาชิกของอินเด็กซ์มีประมาณ 600,000 ราย
กรณีที่แจกแค็ตตาล็อกหมดแล้วจะไม่มีการพิมพ์เพิ่ม แต่สามารถดาวน์โหลดแค็ตตาล็อกผ่านเว็บไซต์ของอินเด็กซ์ได้ 
แค็ตตาล็อกของอินเด็กซ์เริ่มต้นมีจำนวน 36 หน้า และค่อยๆ เพิ่มเนื้อหาและจำนวนหน้าจนขณะนี้ความหนา 268 หน้า

กฤษชนก ปัทมสัตยาสนธิ กรรมการผู้จัดการ
บริษัทอินเด็กซ์  ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด
The Walk คอมมูนิตี้มอลล์พ่วงศูนย์เฟอร์นิเจอร์
การปรับเปลี่ยนที่เห็นได้ชัดเจนของอินเด็กซ์คือ การคิดใหม่ในการทำศูนย์เฟอร์นิเจอร์แบบ Standalone เหมือนที่เคยทำมา ก้าวไปสู่การทำคอมมูนิตี้มอลล์ กระจายไปทั่วทุกทำเลในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
เดอะวอล์ค เป็นคอมมูนิตี้มอลล์ ไม่ใช่ศูนย์เฟอร์นิเจอร์ มีทุกอย่างรวมในนี้ หากใช้อินเด็กซ์แบบเดิม คนก็จะนึกว่าเป็นศูนย์เฟอร์นิเจอร์อย่างเดียว เดอะวอล์คเป็นโมเดลใหม่ของอินเด็กซ์ และใช้ชื่อเดอะวอล์คไปตลอด
 เป้าหมายของเดอะวอล์ค คือ เปิดให้ได้ประมาณปีละ 1 สาขา และมีการจัดแบ่งเป็นพื้นที่เช่น สำหรับร้านค้า และผู้เช่า อีกส่วนหนึ่งจะเป็นอินเด็กซ์ ลิฟฟวิ่งมอลล์ ซึ่งจะตามไปทุกโครงการของเดอะวอล์ค
เดอะวอล์ค สาขาแรกที่ถนนราชพฤกษ์จะเปิดตัวปลายปีนี้ ด้วยเงินลงทุน 1,500 ล้านบาท  และสาขาที่สอง เดอะวอล์ค เกษตร-นวมินทร์ จะทยอยเปิดในปี 2555 ซึ่งอินเด็กซ์จะมองการลงทุนแต่ละสาขาไม่เกิน 1,500 ล้านบาท และมองไปทุกทำเลทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด 

หากมีพื้นที่เหมาะสมและตรงกับแนวคิดก็อาจจะเปิดสาขาใหม่ได้ แต่มีข้อห้ามที่สำคัญคือ จะต้องไม่มีศูนย์การค้าตั้งอยู่ในบริเวณนั้น เพราะอินเด็กซ์คงไม่สามารถไปแข่งกับศูนย์การค้าขนาดใหญ่ได้
ในทางกลับกัน อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์นอกจากจะอยู่ในเดอะวอลล์ทุกสาขาแล้ว การเปิดในศูนย์การค้าขนาดใหญ่ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่ง ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องผูกกับเดอะวอล์คไปตลอด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
เมื่อมองความหมายของการใช้เดอะวอล์คมาเป็นโมเดลใหม่ของอินเด็กซ์ ก็น่าจะมาจากพื้นที่ในการสร้างศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ น้อยลง จะกระจายออกไปรอบนอก และต่างจังหวัด อินเด็กซ์ที่ขยายตัวไปกับห้างก็ต้องหาทางออกของตัวเอง เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ให้มากที่สุด
การเลือกทำโมเดลคอมมูนิตี้มอลล์ คือการสร้างกลุ่มเครือข่ายในแต่ละทำเล และที่สำคัญเป็นการมองผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง 
ลูกค้าอีกมากที่ไม่ค่อยเดินชั้นเฟอร์นิเจอร์ในศูนย์การค้า แต่อินเด็กซ์กำลังคิดว่า จะนำร้านเฟอร์นิเจอร์ไปตั้งให้ใกล้บ้าน ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไกล อีกทางหนึ่งก็คือการมีสาขากระจายรายล้อมไว้ด้านนอก ในระหว่างที่อิเกียยังมีสาขาเดียว ถึงจะมีการขยายสาขาก็คงไม่ได้มากพอเท่ากับรายอื่นๆ
อินเด็กซ์ก็เก็บลูกค้าด้านนอก แบบเคาะประตูบ้านไปเรื่อยๆ 
รายใหญ่เข้ามา ตลาดยิ่งโต
อิเกียเป็นยักษ์ใหญ่ระดับโลก เฟอร์นิเจอร์เป็นเบอร์หนึ่งอยู่แล้ว เราไม่ได้กลัว แต่ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจว่าไม่กระทบเรา เราต้องเตรียมตัวให้ดีที่สุด แต่ไม่ได้รู้สึกว่ามาแล้วเราแย่แน่ มองอีกมุมหนึ่งตลาดก็จะเติบโตขึ้นมากด้วย  เขาต้องสร้างให้คนอยากแต่งบ้านมากขึ้น เค้กก้อนนี้จะต้องใหญ่ขึ้น เลยไม่ทำให้กลัวเรื่องนี้เท่าไหร่กฤษชนกบอกเล่าถึงการเข้ามาของอิเกีย 
เธอประเมินด้วยว่าในช่วงต่อไป หลังอิเกียเข้ามาเปิดสาขาอย่างเป็นทางการแล้ว จะทำให้ตลาดรวมของเฟอร์นิเจอร์ สินค้าแต่งบ้าน เติบโตขึ้นได้ประมาณ 30% 
ทุกวันนี้เธอยอมรับว่า ผู้บริโภคยังนิยมใช้จ่ายเงินนอกบ้านมากกว่าใช้เงินในการตกแต่งบ้าน แต่อิเกียสร้างให้คนอยากอยู่บ้าน รักบ้าน และหันมาใช้เงินกับบ้านมากขึ้น  ตลาดก็จะโตขึ้นไปด้วย 
ขณะนี้อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ บางนา ลูกค้าเฉลี่ยซื้อประมาณ 15,000 ต่อบิลต่อคน มีคนเข้าศูนย์วันละ1,500 คน การซื้อเฉลี่ยกฤษชนกเชื่อว่าสามารถทำให้ได้มากกว่านี้ โดยใช้กลยุทธ์หลายๆ อย่างเข้ามาช่วย และอาจจะสูงถึง  25,000 บาทต่อบิล แต่ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

การปรับตัวรับมือการแข่งขัน
1.ปรับการวางสินค้าใหม่
อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ บางนา ปรับพื้นที่โชว์สินค้าชั้นหนึ่งใหม่ มีตัวอย่างห้องที่แต่งแล้วตาม 4 สไตล์ ให้ลูกค้าดูเป็นตัวอย่าง 3 ห้อง

2.ปรับแค็ตตาล็อกใหม่
นำเนื้อหาของแค็ตตาล็อกมารวมกันระหว่างเฟอร์นิเจอร์ และสินค้าแต่งบ้าน และแจกปีละ 2 เล่ม เป็นราย 6 เดือน จำนวนพิมพ์ 250,000 เล่ม

3.ปรับแนวคิดเฟอร์นิเจอร์ไลฟ์สไตล์ 4 แบบ
ออกสินค้าเฟอร์เจอร์ ของแต่งบ้าน 4 รูปแบบ เพื่อจับกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ และมี 4 เซเลบฯ เป็นพรีเซ็นเตอร์ และเพิ่มเติมบริการสไตลิสต์ให้คำแนะนำการแต่งบ้านตามที่ลูกค้าต้องการ โดยมีสไตลิสต์ประจำ 17 สาขา

4.ปรับใช้โมเดล The Walk
เป็นเฟอร์นิเจอร์คอมมูนิตี้ ที่อินเด็กซ์เริ่มมดลองทำสาขาแรกที่ถนนราชพฤกษ์ เป็นคอมมูนิตี้มอลล์ มีร้านอาหาร ร้านค้า และอินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์อยู่ด้วยกัน เปิดปีละ 1 สาขา ลงทุนสาขาละ 1,500 ล้านบาท

 
จำนวนสาขาของอินเด็กซ์
ประเภท
จำนวนสาขา
อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์
17
อินเด็กซ์ เฟอร์นิเจอร์ 
8


สัดส่วนสาขาของอินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์
พื้นที่
จำนวนสาขา
กรุงเทพฯ
8
พัทยา
1
ภูเก็ต
1
หัวหิน
1
อุบลราชธานี
1
เชียงใหม่
1
พิษณุโลก
1
อุดรธานี
1
ชลบุรี
1
ขอนแก่น
1


สัดส่วนรายได้ของอินเด็กซ์ ปี 2553
ประเภท
สัดส่วน (%)
ขายปลีก
60
ส่งออก
30
บริการอื่น ๆ
10
รายได้รวม
7,700 ล้านบาท


The Walk มีอะไรบ้าง
โครงการ
 The Walk ราชพฤกษ์
พื้นที่
20 ไร่
พื้นที่ใช้สอย
 22,000  ตารางเมตร
อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์
11,000  ตารางเมตร
พื้นที่เช่า
11,000 ตารางเมตร
การลงทุน
1,000 ล้านบาท


สินค้ากลุ่มต่างๆ ของอินเด็กซ์
1.Index Furniture
เฟอร์นิเจอร์นำเข้า เน้นกลุ่มคนรุ่นใหม่ใช้ชีวิตในเมือง
2.Trend Design
เฟอร์นิเจอร์นำเข้าจากต่างประเทศเน้นกลุ่มระดับกลางขึ้นไป
3.Winner
เฟอร์นิเจอร์ราคาปานกลาง เน้นกลุ่มคนทำงาน และส่งออกไปต่างประเทศ
4.Logica
เฟอร์นิเจอร์สำนักงาน เน้นกลุ่มที่เปิดสำนักงานใหม่ และปรับเปลี่ยนทดแทนของเก่า
5.Serta
ที่นอนจากสหรัฐฯ เน้นกลุ่มลูกค้าระดับบน
6.Theraflex
ที่นอนที่ออกแบบเฉพาะสำหรับการนอนแต่ละสไตล์ 


No comments:

Post a Comment

LinkWithin

Related Posts with Thumbnails