Pages

Thursday, October 29, 2009

7 ELEVEN INVESTS 500 MB FRESH DC



"เซเว่นฯ" ยิ้ม อิ่มสะดวก ดันยอดลูกค้าเพิ่ม เตรียมควักอีก 500 ล้านสร้างศูนย์กระจายอาหารสดแถบตะวันออก หวังกระจายตระกูลอาหารกล่องย้ำภาพลักษณ์ใหม่ คาด 5 ปีโมเดลอิ่มสะดวกครอบคลุมทั่วประเทศ


นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านอิ่มสะดวก เซเว่น อีเลฟเว่น กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปีหน้าบริษัทจะลงทุน 500 ล้านบาท เพื่อสร้างศูนย์กระจายสินค้าอาหารสด และรถห้องเย็นแถบภาคตะวันออก ได้แก่ ที่ จ.ชลบุรี พัทยา และระยอง ซึ่งจะช่วยกระจายอาหารกล่องพร้อมรับประทานให้ครอบคลุมสาขาในพื้นที่ดังกล่าว 200-300 สาขา จากเดิมมีศูนย์อยู่แล้วที่สุราษฎร์ธานี ขอนแก่น เชียงใหม่ ฯลฯ

คาดว่า 5 ปีข้างหน้าบริษัทจะมีศูนย์ที่สามารถกระจายอาหารสดได้ทั่วประเทศ เบื้องต้นเน้นกระจายอาหารกล่องพร้อม รับประทานไปที่หัวเมืองใหญ่ ๆ ที่มีศักยภาพก่อน ขณะที่กลุ่มเบเกอรี่จะเจาะกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัด ทั้งนี้เพื่อให้ร้านเซเว่นฯทุกสาขาปรับภาพลักษณ์เป็นร้าน อิ่มสะดวกอย่างสมบูรณ์




นายสุวิทย์กล่าวต่อไปว่า สินค้าที่จำหน่ายในร้านอิ่มสะดวกไม่จำเป็นต้องมีสินค้าครบทุกไลน์ แต่ต้องดูที่ความต้องการของผู้บริโภคและความพร้อมของแต่ละพื้นที่เป็นหลัก



ปัจจุบันเซเว่นฯมีอาหารกล่อง 2 ชนิด ได้แก่ อาหารแช่แข็งอีซี่โก ซึ่งสามารถเก็บได้นาน วางจำหน่ายได้ทุกสาขากับอาหารแช่เย็นหรือชิลฟู้ด แบรนด์อีซี่ช้อยส์และ อีซี่เวย์ ซึ่งมีอายุ 3 วัน จำหน่ายในสาขากรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียง 300 สาขา และสำหรับช่วงเทศกาลอาหารเจที่ผ่านมาก็ได้มีการเพิ่มเมนูเจราคา 35 บาท อีก 4 เมนู ได้แก่ ข้าวกะเพราทรงเครื่องเจ ผัดหมี่ฮ่องกงเจ ข้าวกล่องแกงเขียวหวาน และแกงเผ็ดเป็ดย่างเจ เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ครอบครัวรุ่นใหม่ที่มีเวลาเข้าครัวน้อย



"หลังประกาศปรับภาพลักษณ์เป็นร้านอิ่มสะดวกเมื่อต้นปี ควบคู่การใช้หนังโฆษณาภายใต้คอนเซ็ปต์ หิวเมื่อไร ก็แวะมา จำนวน 5 ชุด ตลอดทั้งปีพบว่าลูกค้าเริ่มคุ้นเคยมากขึ้น ประกอบกับผลจากการที่ ลูกค้ากังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทาง จึงหันมาซื้อสินค้าที่ร้านใกล้บ้าน ส่งผลให้ เซเว่นฯมีจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้น"



นายสุวิทย์ยังกล่าวอีกว่า ด้านการพัฒนาธุรกิจไปยังต่างประเทศ บริษัทกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาตลาดที่เวียดนาม ซึ่งหากต้องไปทำตลาดจริง ๆ จะต้องขอไลเซนส์จากบริษัทแม่อีกครั้ง ส่วนตัวมองว่าหลังเริ่มเปิดเขตการค้าเสรีอาฟต้าน่าจะยิ่งส่งผลดีในแง่ภาษีที่ลดลง และทำให้สินค้าจากประเทศไทยที่จำหน่ายในเซเว่นฯมีโอกาสขยายตลาดมากขึ้น แต่แผนดังกล่าวไม่น่าจะเสร็จทันปีหน้า และต้องใช้เวลาศึกษา อีกสักระยะ อย่างไรก็ตามการเปิดร้าน เซเว่นฯในเวียดนามอาจไม่อยู่ในรูปแบบร้านอิ่มสะดวกเหมือนในเมืองไทยและญี่ปุ่น เพราะกว่าจะพัฒนาโมเดลนี้ต้องใช้ระยะเวลานานนับ 10 ปี



Reblog this post [with Zemanta]

TESCO...ผูกใจท้องถิ่น พลิกตำรา "CSR" สู้แรงต้าน



เป็นค่ายค้าปลีกที่มีข่าวต่อต้านปรากฏให้เห็นหนาตากว่าค้าปลีกรายอื่น ๆ สำหรับ "เทสโก้ โลตัส" ซึ่งเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยครบ 15 ปีเต็ม



ความท้าทายในฐานะไฮเปอร์มาร์เก็ต เบอร์ 1 รายนี้ จึงไม่ได้มีแค่แผนการตลาดเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกิจกรรมเพื่อสังคม หรือซีเอสอาร์ที่เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเทสโก้ฯ กับชุมชน



"ประชาชาติธุรกิจ" ได้โอกาสพูดคุยกับ "สาวฟาง เอกลักษณ์รุจี" ผู้จัดการอาวุโส กิจการบรรษัท กิจการสาธารณะ บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น จำกัด ผู้บริหารห้างเทสโก้ โลตัส โดยโจทย์สำคัญที่เธอได้รับมอบหมาย คือ การทำให้โปรเจ็กต์ซีเอสอาร์ทั้ง 3 ด้านของเทสโก้ฯ คือ การศึกษา สุขภาพ การประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปรากฏสู่สายตาสาธารณะ ท่ามกลางกระแสข่าวที่มีผล เชิงลบต่อองค์กร




คำถามแรก ๆ ที่เปิดประเด็นคุย เป็นเรื่องกระแสต่อต้านที่ปรากฏให้เห็นในข่าวอยู่เนือง ๆ "สาวฟาง" ยอมรับว่า ตอนแรกที่เข้ามาทำงานก็ห่วงเรื่องการประท้วงเหมือนกัน แต่หลังจากได้ลงพื้นที่จริง ๆ กลับไม่ค่อยเจอปัญหาอย่างที่กังวล



เรื่องนี้ถือเป็นพัฒนาการของโมเดิร์นเทรดที่ทำให้เกิดกระแส เพราะไปขัดผลประโยชน์กับคนบางกลุ่ม แต่สำหรับภาพรวมไม่ได้เป็นอย่างนั้น แต่ก็ยอมรับว่าบางที่ก็มีกระแสต่อต้านจริง เช่น สมุย



"สาวฟาง" เล่าให้ฟังว่า ตอนตั้งสาขาแรกที่สมุยนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่ชอบ เพราะเทสโก้ฯ ขายสินค้าราคาถูกกว่า ร้านค้าอื่น ๆ ที่ขายราคานักท่องเที่ยว ชุมชนต้อนรับดี แต่พอจะเปิดเพิ่มอีก 1 ที่เขาเริ่มตกใจจนเกิดการประท้วง เราต้องลงพื้นที่เพื่อเข้าไปพูดคุยกับเขา ไปอธิบายว่าสาขาใหม่ที่จะไปเปิดเป็นคนละไซซ์กัน และใช้ผลวิจัยสำรวจควบคู่ไปด้วย



"สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นหลักในการทำงาน ทุกครั้งที่เราเข้าไปในชุมชน เราต้องฟังเขาก่อนว่าเขาอยากให้เราช่วยอะไร แล้วค่อยทำในสิ่งที่เขาต้องการ อย่างที่สมุย เขาอยากชูประเพณีท้องถิ่น เราก็เอาเรือมาตั้ง จัดพื้นที่ให้แสดงสินค้าโอท็อป นี่คือสิ่งที่เราให้ในเชิงธุรกิจ"



นอกจากนี้ ยังมีการให้ทุนการศึกษา การทำโครงการเรารักสมุย ให้ถังขยะไปตั้งทั่วเกาะ ที่สำคัญคือไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไร เราต้องเริ่มจากการรักชุมชนเขาก่อนแล้ว สิ่งนั้นมันก็จะลิงก์กลับมาหาเรา"



ส่วนการรับมือกับกระแสต่อต้านในภาคเหนือกับอีสาน เธอเล่าว่า ต้องดูก่อนว่าสิ่งที่เขาประท้วงคือประเด็นไหน ถ้าเป็นเรื่องที่เขาว่าเราไม่ทำเลย เราก็ต้องพิจารณาตัวเองแล้วลงมือทำ แต่สิ่งที่ได้ยินมาเป็นเรื่องที่ว่าเราไม่จ่ายภาษี แต่ความจริงเราจ่าย เราจึงต้องกลับมาดูว่าที่ผ่านมาเราสื่อสารข้อมูลไปทั่วถึงหรือยัง ตอนนี้เราก็ต้องทำให้ทั่วถึงมากขึ้น



สำหรับสาขารูปแบบเอ็กซ์เพรสที่เป็นมินิซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ 2-3 ปีมานี้เทสโก้ฯเริ่มขยายมากขึ้น และปีนี้ก็จะเปิดเพิ่มใกล้เคียงกับปีที่แล้วที่เปิดไป 69 สาขา ด้วยอัตราการขยายสาขาที่รวดเร็ว ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่า "เอ็กซ์เพรส" จะส่งผลกระทบต่อร้านโชห่วย ทำให้มีข่าวเชิงลบออกมาเป็นระยะ ๆ



"สาวฟาง" เผยว่า บริษัทกำลังวางแผนโปรเจ็กต์ซีเอสอาร์เพื่อลดกระแสต่อต้านสำหรับเอ็กซ์เพรสโดยเฉพาะ ตอนนี้แม้เอ็กซ์เพรสจะยังไม่มีสาขาครอบคลุมมาก แต่เราก็โฟกัสมากขึ้น โดยจะมีการทำกิจกรรมในท้องถิ่น และให้พนักงานมีส่วนร่วม



กลยุทธ์ที่เทสโก้ฯยึดเป็นหลักในการทำ ซีเอสอาร์ให้เห็นออกมาเป็นรูปธรรม "สาวฟาง" แจงว่า ข้อแรกคือความยั่งยืน ต้องคิดเสมอว่าการลงทุนที่ดีคือการลงทุนกับชุมชน และต้องลงทุนให้เห็นพัฒนาการ คือเมื่อลงทุนกับชุมชน สังคมก็จะแข็งแรงและส่งผลไปถึงเศรษฐกิจที่ดีของประเทศชาติ สุดท้ายคนทำธุรกิจก็จะเข้มแข็ง



"หลายบริษัทมองว่าซีเอสอาร์เป็นเครื่องมือหนึ่งของการตลาด แต่สำหรับเทสโก้ฯไม่ใช่เพราะเราต้องการลงทุนอย่างยั่งยืน"



"การทำซีเอสอาร์ที่ดี เราต้องให้ซีเอสอาร์เข้าไปอยู่ในดีเอ็นเอพนักงาน ตอนนี้เราให้พนักงานกระจายทำความดีตามชุมชน เป็นลักษณะคอมมิวนิตี้เซอร์วิสเป็นเวลา 30 ชั่วโมง วัดผลโดยการส่งรีพอร์ตประจำเดือน และมีรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นสีสัน"



ต่อมาคือคู่ค้า ที่ผ่านมามีโครงการโก กรีนที่เทสโก้ฯขอความร่วมมือกับคู่ค้าให้เปลี่ยนแพ็กเกจเพื่อช่วยลดโลกร้อน และร่วมกันหาผลิตภัณฑ์ที่ลดการใช้พลังงาน รวมถึงการให้ความรู้ลูกค้า



นอกจากนี้ ยังมีชุมชนที่ต้องพยายามทำให้เขาเข้าร่วมกับโครงการต่าง ๆ เพราะเขาเป็นเจ้าของพื้นที่ และสุดท้ายคือ ต้องคิดเสมอว่าลูกค้าไม่ใช่คนสร้างปัญหา แต่เป็นผู้ช่วยเราแก้ปัญหา



สุดท้าย "สาวฟาง" ย้ำว่า "หากมีจุดยืนที่ชัดเจนแล้วพูดความจริงในสิ่งที่ทำ คนก็จะเห็นภาพเราชัดขึ้น"





Reblog this post [with Zemanta]

Wednesday, October 28, 2009

ROBINSON shifts focus to suburban stores


Robinson Department Store Plc's Rarm Intra outlet has become a new strategic centre for the company's Bangkok operations due to the area's growing number of upscale housing developments, a senior executive says.

Customer purchasing power in the Rarm Intra area has increased dramatically when compared to shopping behaviour in downtown Bangkok, said vice-president for marketing Sirinij Chokchairittikul.


Average spending per bill at Robinson Rarm Intra, which is located at Fashion Island, increased to about 2,500 baht from almost 1,000 five years ago.

Best-selling products were high-priced items such as watches, high-tech gadgets and fashion and lifestyle products, she said.


A company study found that half of Rarm Intra households earned between 50,000 and 60,000 baht per month. They also liked to shop locally.


"In my opinion, department stores in Bangkok's outskirts and upcountry areas got a modest impact from the economic downturn and political unrest when compared to downtown stores," said Ms Sirinij.


Due to better-than-expected performance of Robinson's Rarm Intra and Rangsit branches, the firm will increase the marketing budget for the two stores and develop specific strategies for each outlet's customers.

"We see tougher competition in Bangkok and what we want to do is to focus more on suburban stores and those locating upcountry. These stores have less competition and the business potential is tremendous," she said.


Yesterday, the company launched its 10-million-baht "Beauty World @ Robinson Fashion Island" which runs from Oct 22 to Nov 2. The event features about 50 cosmetic brands, more than 20 of which are high-end brands.


Prasert Sriuranpong, executive director of Siam Retail Development Co, which operates Fashion Island shopping complex, said the recession has only had a small impact on the mall's business.


"Despite economic and political difficulties, we have seen the number of shoppers grow 8.5% year-on-year so far this year," he said.


Mr Prasert said Rarm Intra was a prime residential area with high-end housing projects where units can range from 5 million to 30 million baht.


Cosmetics was one of the product categories least affected by the recession. Cosmetics sales at Robinson increased by 5% in the first nine months and are expected the rise by 7% to 8% for the whole year. The category contributes 15% to Robinson's overall sales.


Shares of Robinson closed on the Stock Exchange of Thailand at 10 baht, down 40 satang, in trade worth 12.98 million baht.

Writer: Pitsinee Jitpleecheep
Position: Business Reporter

Reblog this post [with Zemanta]

TESCO considers online sales in Thailand




The UK-based retail chain Tesco is exploring new business opportunities in Thailand including online shopping and will maintain its local investment in the long term despite current economic uncertainties.

The company's http://www.tesco.com is the world's biggest online grocery marketplace and it could be offered in Thailand in the future, said Steve Hammett, CEO of Ex-Chai Distribution System, the operator of Tesco Lotus hypermarkets.


"We have experience from online shopping and this channel is challenging. If we can do it here, we will," he said.
Additionally, the company will spend at least 7 billion baht next year, on par with this year's level, to improve existing stores, open new outlets and enhance IT systems.

Tesco has been in the Thai market for 15 years.


Tesco Lotus this year will open six hypermarkets, 10 Talad Lotus stores and 60 Express stores, bringing its total to 577 outlets by year-end. The number of new stores next year will be on par with this year.


Apart from the three main retail formats, the company has two new Plus shopping malls in the pipeline next year. They require combined investments of about 700-800 million baht.


"We introduced Plus Shopping Mall 12 months ago and it was successful," he said, adding that the company planned to open the new mall at Amata Nakorn Industrial Estate in Chon Buri next week.


"There are 10,000 convenience stores and supermarkets available in the Thai modern retail segment. But the number of all retail outlets under Tesco Lotus is less than 5% of them so far," he said.


The company has observed in recent weeks that some shoppers are starting to spend slightly more again, as concerns about the economy and H1N1 influenza ease, improving confidence.


"We know how to do things better and respond quickly to what consumers want. Now, we serve one million shoppers every day," Mr Hammett said.
Reblog this post [with Zemanta]

Monday, October 26, 2009

ค้าปลีกเฟ้นโมเดลใหม่หนีกฎเหล็ก ปูพรมไซซ์เล็กเจาะชุมชน-แก้ปมผุดสาขาใหญ่ยาก



ค่ายค้าปลีกออกแรงดิ้นหนีกฎเหล็ก ทยอยเปิดฟอร์แมตใหม่ แก้ปมขอใบอนุญาตยาก-อำนวยความสะดวกลูกค้าปรับพฤติ กรรมชอบซื้อของใกล้บ้าน คาร์ฟูร์สุ่มชิมลางส่งโมเดล "ซิตี้" ทดลองตลาด ขณะที่ "เทสโก้ โลตัส" ประกาศปูพรมสาขาเอ็กซ์เพรส ส่วน "ท็อปส์" ไม่น้อยหน้า ลั่นเปิด ซูเปอร์ไซซ์เล็ก "เดลี่" อีก 40 แห่งทั่วประเทศ

ขณะนี้แม้ว่าการเปิดสาขาของค้าปลีกรายใหญ่จะมีความถี่และมีจำนวนไม่มาก แต่ภาพหนึ่งที่มีให้เห็นมากขึ้นก็คือการนำฟอร์แมตใหม่ ๆ มาทดลองเปิดให้บริการ โดยเฉพาะสาขาที่มีขนาดเล็กลง เมื่อเร็ว ๆ นี้ คาร์ฟูร์ได้เปิดสาขาไซซ์เล็ก มีขนาดเพียง 300 ตร.ม. ที่คอมมิวนิตี้มอลล์ เออร์เบิน สแควร์ ใกล้มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยใช้ชื่อว่าคาร์ฟูร์ซิตี้



คาร์ฟูร์เทสต์โมเดลใหม่ "ซิตี้"



แหล่งข่าวจากบริษัท เซ็นคาร์ จำกัด ผู้บริหารห้างคาร์ฟูร์ ให้ข้อมูลว่า เป็นการปรับตัวตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมซื้อสินค้าในร้านใกล้บ้าน สินค้าส่วนใหญ่เน้นกลุ่มอาหารโกรเซอรี่ สินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อตอบโจทย์กำลังซื้อลูกค้ากลุ่มระดับกลางและกลาง-บน เป็นโมเดลลอนช์ครั้งแรกที่ฝรั่งเศส เมื่อช่วงต้นปี ประสบความสำเร็จมาก เพราะฝรั่งเศสไม่มีกฎหมายจำกัดเหมือนในประเทศไทย สำหรับในเมืองไทยถือเป็นสาขานำร่องที่อยู่ระหว่างการทดลอง ส่วนการเปิดเพิ่มในอนาคต คงต้องรอดูผลตอบรับจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายก่อน



จากการสำรวจคาร์ฟูร์ซิตี้ ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม พบว่าจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคคล้ายๆ ซูเปอร์มาร์เก็ต ทั่ว ๆ ไป สินค้าส่วนใหญ่เป็นแบรนด์หลัก ในตลาดและเฮาส์แบรนด์ คาร์ฟูร์ และไส้กรอก ขนมจีบ ซาลาเปา เบอร์เกอร์ มีมุมจำหน่ายซีดีเพลงและภาพยนตร์ รวมถึงมุมกาแฟให้ลูกค้านั่งพัก รวมทั้งมีบริการรับชำระค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ด้วย






ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากการเปิดโมเดลใหม่ดังกล่าว ที่ผ่านมาคาร์ฟูร์ได้ทยอยเปิดสาขาเพิ่ม เช่น สาขาเดอะมาร์เก็ต ที่บางโพ ที่มีขนาด 2,000 ตร.ม. และเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาเปิดสาขา เต็มรูปแบบที่รังสิต คลอง 4 เร็ว ๆ นี้จะเปิดเพิ่มอีกที่ชุมพร และยังมีกระแสข่าวว่าอยู่ระหว่างการหาพื้นที่จังหวัดตรังด้วย



เทสโก้ฯเร่งปูพรม "เอ็กซ์เพรส"



ดร.ดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ผู้บริหารห้างเทสโก้ โลตัส ให้ข้อมูล "ประชา ชาติธุรกิจ" ว่า ร้านทุกขนาดเกิดขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชน ซึ่งปัจจุบันค้าปลีกในเมืองไทยมีประมาณ 10,000 แห่ง และมีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคตจะได้เห็นภาพของมินิมาร์ตและคอนวีเนี่ยนสโตร์ที่ตอบโจทย์รายได้และวิถีชีวิตของคนในชุมชนเพิ่มจำนวนมากขึ้น ขณะเดียวกันในแง่การแข่งขันก็จะมีความรุนแรงตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่



สำหรับเทสโก้ โลตัสก็จะยังคงเดินหน้าขยายสาขาที่เป็นโมเดลโลตัส เอ็กซ์เพรส อย่างต่อเนื่อง ปีหน้าจะเปิดอีก 50-60 สาขา ใช้พื้นที่ต่อสาขา 300 ตารางเมตร ภายใต้คอนเซ็ปต์ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็ก จำหน่ายทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคและอาหารสด



ขณะที่แหล่งข่าวจากเทสโก้ โลตัสอีกรายหนึ่งยอมรับว่า การขอใบอนุญาตการก่อสร้างสาขาขนาดใหญ่ในย่านชุมชน ประกอบกับโลเกชั่นดี ๆ หายากขึ้น ทำให้ ผู้ประกอบการทุกค่ายต่างต้องพยายามสร้างหรือโมเดลค้าปลีกรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นมารองรับ โดยเฉพาะไซซ์เล็กที่สามารถดำเนินการได้งานและสอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภค รวมทั้งการขยายตัวของชุมชนที่มีมากขึ้น



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมาเทสโก้ โลตัสเป็นค่ายหนึ่งที่มีโมเดลใหม่ ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากสาขาในรูปแบบที่เป็นคอมมิวนิตี้มอลล์ อย่างแอทพาร์ค แอทการ์เด้นท์ และแอทโอเอซิส แล้วโมเดลที่น่าสนใจและได้รับการตอบรับจากผู้เช่าพื้นที่และลูกค้าก็คือพลัส ช็อปปิ้งมอลล์ ซึ่งเป็นการปรับสาขาเดิมที่มีอยู่แล้ว และเพิ่มพื้นที่เช่าสำหรับผู้ประกอบการรายเล็ก ปัจจุบันมี 2 สาขา ล่าสุดที่เพิ่งเปิดไปก็คือพลัส อมตะนคร และเร็วๆ นี้จะเปิดให้บริการสาขาเต็มรูปแบบที่จังหวัดสตูล ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เปิดโลตัส เอ็กซ์เพรสไปแล้วที่อำเภอละงู



"กม." บีบค้าปลีกผุดฟอร์แมตใหม่



นายธนภณ ตังคณานันท์ นายกสมาคมค้าปลีกไทย กล่าวในเรื่องนี้ว่า ปกติผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่จะมีสาขาหลาย ๆ ฟอร์แมต ไม่ว่าจะเป็นไฮเปอร์ มาร์เก็ตซูเปอร์มาร์เก็ต คอนวีเนี่ยนสโตร์ กึ่งคอนวีเนี่ยนสโตร์ ฯลฯ การที่ค้าปลีกรายใหญ่หันมาเปิดฟอร์แมตใหม่ ๆ มากขึ้น หลักๆ เป็นผลมาจากกฎระเบียบที่เข้มงวด ทำให้ผู้ประกอบการต้องนำฟอร์แมตใหม่ๆ มาให้บริการ ส่วนอีกประเด็นหนึ่งก็คือเป็นการปรับตัวเพื่อให้เข้าถึงและอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภค



"ตอนนี้ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด การเปิดสาขาขนาดใหญ่ทำได้ยากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากเรื่องโซนนิ่ง การควบคุมอาคาร และยังมีเรื่องของ พ.ร.บ.ค้าปลีกฯ ที่กำลังจะมีออกมาอีก ซึ่งก็จะทำให้มีเงื่อนไขที่ยากมากขึ้นไปอีก"



ขณะที่นางสาวภัทรพร เพ็ญประพัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดใหญ่สายการตลาดและประชาสัมพันธ์ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ผู้บริหารท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต แสดงความเห็นว่า เหตุผลที่ค้าปลีกรายใหญ่หันมาเปิดโมเดลค้าปลีกขนาดเล็กมากขึ้น นอกจากกฎหมายโซนนิ่งที่ทำให้เปิดสาขาขนาดใหญ่ยากขึ้นแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งก็คือการมุ่งตอบโจทย์พฤติกรรมลูกค้าเรื่องการช็อปใกล้บ้าน



นางสาวภัทรพรยังอ้างถึงผลสำรวจของเอ.ซี.นีลเส็นที่ระบุว่า ที่ผ่านมาคอนวีเนี่ยนสโตร์มีการเติบโตสูงมาก รวมถึงร้านโชห่วย ขณะที่ทั่วประเทศมีไฮเปอร์มาร์เก็ตกว่า 250 สาขา ซูเปอร์มาร์เก็ต 200 สาขา คนที่อยากได้มาร์เก็ตแชร์ก็ต้องมองหาโอกาสใหม่ ๆ



"ท็อปส์ เดลี่ ป็นโมเดลขนาดเล็กที่สุดของท็อปส์ ตอนนี้ มี 17 สาขา จะเป?ดอีก 5 สาขา ภายในสิ้นปีนี้ และจะเปิดอีก 40 สาขา ในปีหน้า โมเดลนี้ลูกค้ามีความถี่ในการใช้บริการมากที่สุด เฉลี่ยอยู่ที่ 3-3.5 ครั้งต่อสัปดาห์ สิ่งที่เป็นจุดแข็งของท็อปส์ เดลี่ คือการพยายามเพิ่มสินค้ากลุ่มอาหารสด"



Reblog this post [with Zemanta]

Thursday, October 22, 2009

CARREFOUR WITH LOCAL ENTRY


ห้างคาร์ฟูร์ซื้อใจคนชุมพร เปิดรับ พนักงานนับร้อย แถมซื้อสินค้าท้องถิ่น เตรียมเปิดเป็นทางการกลางเดือน ธ.ค.นี้

carrefour



นางสุชาลา เทพบุตร ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท เซ็นคาร์ จำกัด (ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์) เปิดเผยว่า เมื่อ วันที่ 8-9 ตุลาคมที่ผ่านมา ห้างคาร์ฟูร์ สาขาชุมพร รับสมัครพนักงานรวมประมาณ 400 คน เป็นทั้งพนักงานประจำและพนักงานสนับสนุนการขายในร้านจำนวนนี้ 80 % เป็นคนในพื้นที่ซึ่งน่าจะทำให้ลดช่องว่างระหว่างห้างคาร์ฟูร์กับคนในพื้นที่ลงได้




นางสุชาลาเปิดเผยว่า อัตรากำลังพนักงานสาขาชุมพรมีประมาณ 180-190 คน ที่เหลือ 200 คนเป็นในส่วนของพนักงานบริษัทต่าง ๆ เข้ามารับช่วง เช่น พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานทำความสะอาด หรือพนักงานของห้างร้านที่เข้ามาเช่าพื้นที่ภายในห้าง ซึ่งรับสมัครแยกออกจากกัน และได้ติดต่อประสานกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดชุมพร เพื่อแจ้งข่าวไปยังผู้ว่างงานที่ต้องการทำงานร่วมกับห้างคาร์ฟูร์



นางสุชาลาเปิดเผยว่า ทุกครั้งที่ห้างคาร์ฟูร์ไปเปิดสาขาจังหวัดใดก็ตาม นโยบายของบริษัทคือให้ความสำคัญด้วยการจ้างพนักงานซึ่งเป็นคนในพื้นที่ แม้ในระดับหัวหน้างาน หากเป็นผู้ที่มีประสบการณ์และมีคุณสมบัติ ห้างก็พร้อมรับเพื่อทำงานร่วมกับหัวหน้าจากส่วนกลาง นอกจากนี้จะรับซื้อผลผลิต ได้แก่ ผลไม้ และพืชผลทางการเกษตรในท้องถิ่นมาจำหน่ายด้วย



"ในอดีตที่ผ่านมา สินค้าส่วนใหญ่ในห้างมักมาจากส่วนกลาง โดยเฉพาะผลไม้และ พืชผลทางการเกษตรเน้นผลผลิตในพื้นที่ที่ห้างตั้งอยู่ก่อน เพื่อให้วิน-วินด้วยกันทั้งสองฝ่าย นั่นคือเราก็ได้สินค้าที่สดและใหม่จากในพื้นที่ ส่วนเกษตรกรก็จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า เพราะเราจะทำหน้าที่กระจายสินค้าไปยังสาขาต่าง ๆ ในแต่ละจังหวัดให้ด้วย" นางสุชาลากล่าวและว่า



แม้ห้างคาร์ฟูร์เป็นห้างต่างชาติ แต่ก็ล้วนเป็นคนไทยด้วยกันจึงต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ห้างคาร์ฟูร์จะเปิดอย่างเป็นทางการในกลางเดือนธันวาคมนี้


Reblog this post [with Zemanta]

Tuesday, October 20, 2009

FUTURE OF CARREFOUR ข่าวหุ้น


คาร์ฟูร์ เป็นชื่อห้างค้าปลีกหลายประเภทชื่อดังของฝรั่งเศส ได้ชื่อว่า มียอดขายอันดับสองของโลกรองลงมาจากวอล-มาร์ทของสหรัฐฯ



ชื่อคาร์ฟูร์ แปลว่า ทางแยก และดูเหมือนว่า ชะตากรรมของบริษัทในขณะนี้ ก็กำลังอยู่ตรงกลางทางแยกพอดี ส่วนจะเดินหน้าหรือถอยหลังนั้น อีกไม่นานก็คงจะได้รู้กัน



ข่าวล่ามาแรงสุดก็คือว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุดของคาร์ฟูร์ กำลังพิจารณาจะขายทิ้งกิจการไฮเปอร์มาร์เกต ที่เคยได้ชื่อว่าเป็นตัวทำเงินทั้งยอดขายและกำไรสวยงามในสองประเทศทิ้ง นั่นคือ สาขาทั้งหมดในจีน และบราซิล



คนที่จะมาเจรจาซื้อกิจการต่อไปก็ไม่ใช่คนอื่นไกล ได้แก่ วอล-มาร์ท ของอเมริกานั่นเอง



Carrefour




คาร์ฟูร์เริ่มดำเนินกิจการไฮเปอร์มาร์เกตในจีน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 หรือ พ.ศ. 2538 และเติบโตอย่างรวดเร็วเป้นต้นแบบของการขยายกิจการในชาติกำลังพัฒนาของบริษัท ปัจจุบัน มีสาขาห้างค้าปลีกไฮเปอร์มาร์เกตที่จีนถึง 134 แห่ง มากที่สุดในเอเชีย



(เทียบกับ 61 สาขาในอินโดนีเชีย 48 สาขาในไต้หวัน 25 สาขาในไทย และ 12 สาขาในมาเลเซีย)



ส่วนในบราซิล คาร์ฟูร์เข้าไปเริ่มต้นกิจการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 หรือ พ.ศ. 2518 กันเลยทีเดียว และมีรูปแบบค้าปลีกหลากหลาย นับแต่ไฮเปอร์มาร์เกต 150 สาขา ซุปเปอร์มาร์เกต 38 สาขา และ ฮาร์ด ดิสเคาท์ อีก 300 สาขา โดยมีขนาดใกล้เคียงกับอาร์เจนติน่า ซึ่งบริษัทนี้มาส่วนแบ่งตลาดสูงสุด


ความใหญ่โตของตลาดค้าปลีกบริษัทในจีนและบราซิลนั้น หากเทียบเคียงกับในฝรั่งเศส ถือว่า ไม่เบาเลยทีเดียว เพราะที่ฝรั่งเศสนั้น บริษัทมีไฮเปอร์มาร์เกตแค่ 218 สาขา ซุปเปอร์มาร์เกต 1,021 สาขา ฮาร์ด ดิสเคาท์ 897 สาขา แต่มีคอนวีเนียนสไตร์มากถึง 3,245 สาขา และ แคช แอนด์ แครี่ประมาณ 134 สาขา โดยที่ใกล้เคียงกันก็คือสเปนเท่านั้น


การขายทิ้งกิจการในจีน และบราซิล จึงไม่ใช่เรื่องธรรมดาสำหรับบริษัทและคู่แข่งขันเลยทีเดียว


ดูเหมือนว่า วอล-มาร์ทเองซึ่งไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนักในทั้งจีนและบราซิล ก็พร้อมจะทุ่มเงินจ่ายสำหรับซื้อกิจการส่วนนี้อย่างเต้มที่ เพราะจะเป็นการเติบโตทางลัดได้ง่ายมาก


แรงจูงใจเบื้องหลังความพยายามจะขายทิ้งกิจการที่ทำกำไรสูงในจีนและบราวิลของบริษัทอยู่ที่ว่า สองผู้ถือหุ้นหลักของบริษัทกำลังถังแตก และต้องการเงินคืนจากการเข้าซื้อหุ้นของบริษัท แล้วขาดทุนหนักจากราคาหุ้นเป็นสำคัญ ความหวังว่าจะขายทิ้งสาขาเพื่อเอาเงินสดเข้ามาสร้างบุ๊กแล้วขายกิจการออกไป จึงเป็นวิศวกรรมการเงินธรรมดาที่เข้าใจกันได้


สองผุ้ถือหุ้นหลักนั้นได้แก่ กลุ่มนักซื้อขายกิจการชื่อ โคโลนี่ แคปิตอล กับ กลุ่มทุนฝรั่งเศสนายแบร์นาร์ด อาร์โนลท์ เจ้าของกิจการสินค้าฟุ่มเฟือย LVMH(หลุยส์ วิตตอง)นั่นเอง


ทั้งสองกลุ่มทุนนี้ ร่วมถือหุ้นในบริษัทลงทุนซื้อขายหุ้นชื่อ Blue Capital แล้วเข้าเก็บซื้อหุ้นเมื่อหลายปีก่อนของคาร์ฟูร์จนได้หุ้นมาครองมากกว่า 13% แต่ได้สิทธิในการลงคะแนนเสียงมากกว่า 20% ทำให้มีอิทธิพลมากในการประชุมผู้ถือหุ้น เพียงแต่กลุ่มนี้ไม่ได้มีสิทธิเข้ามาร่วมในการบริหารกิจการของบริษัท ตามสูตรของตลาดหุ้นตะวันตกที่ให้แยกความเป็นเจ้าของและการจัดการออกจากกันเด็ดขาด


การเข้าถือหุ้นโดยไม่ได้เข้ามาร่วมจัดการ ทำให้เมื่อราคาหุ้นของบริษัทตกอย่างหนักเพราะวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรงจนราคาหุ้นตกไปประมาณ 60% เป็นผลให้คนที่ซื้อหุ้นจำนวนมาก ซึ่งน่าจะมาจากการกู้เงินมาซื้ออย่างกลุ่มทุนใหญ่ดังกล่าว ต้องการจะถอนทุนออกไป แต่การถอนทุนเฉยๆ จะขาดทุนอย่างหนักแน่นอน เพราะจะยิ่งทำให้ราคาหุ้นย่ำแย่ไปอีก เนื่องจากคนซื้อต้องการกดราคารับซื้อ


วิธีคิดของวิศวกรการเงินอย่างง่ายสุด ก็คือ ก่อนขายทิ้งกิจการออกไป ซึ่งจะทำให้มีเงินสดเข้ามาประมาณ 1.3 หมื่นล้านยูโร ก็ต้องทำให้บุ๊กแวลลูของบริษัทสวยงามขึ้นกว่าปกติ วิธีการง่ายๆคือ ขายสินทรัพย์ที่มีกำไรมากที่สุดออกไป เพื่อที่จะทำให้มีกำไรกะทันหันและบุ๊กสวยงาม แล้วก็ต่อรองซื้อขายหุ้นที่ถือเอาไว้พร้อมกันไป อย่างนี้จะทำให้ขาดทุนน้อยลง


วิธีคิดทางการเงินแบบนี้ ไม่ผิดอย่างแน่นอน เป็นไปตามตำรานักการเงินและหลักสูตรเอ็มบีเอที่สอนๆกันในโลกยามนี้ แต่มันส่งผลกระทต่อยุทธศาสตร์ทางการตลาดอันเป็นธรรมชาติของธุรกิจค้าปลีก เพราะการขายสินทรัพย์ให้คู่แข่งรายสำคัญในตลาด คือ การยอมให้คู่แข่งข่มคอในตลาดเอาได้ง่ายมากขึ้นในอนาคต


ที่ร้ายไปกว่านั้น ทรัพย์สินที่เหลือขาย ก็คือทรัพย์สินที่ทำกำไรได้ต่ำ ซึ่งจะทำให้ในอนาคต ความสามารถทำกำไรของบริษัทจะลดลงฮวบฮาบ และส่งผลต่อราคาหุ้นหลังจากรายใหญ่ทิ้งไปแล้วอย่างรุนแรง


เรื่องนี้ จึงไม่ใช่เรื่องธรรมดา และเมื่อผสมโรงเข้ากับเรื่องอื่นๆ ก็ยิ่งไม่ธรรมดาใหญ่


ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ รัฐบาลจีน แสดงความไม่พอใจกับความพยายามที่จะขายทรัพย์สินของบริษัทในจีนทิ้งไป เพราะจีนนั้น พยายามเสมอมาเพื่อที่จะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของห้างค้าปลีกต่างชาติในจีนมีสมดุลกัน ไม่หนักไปกลุ่มทุนใดกลุ่มหนึ่งมากเกินไป หากคาร์ฟูร์ขายกิจการในจีนให้วอล-มาร์ทแล้วก็ทำให้ส่วนแบ่งของฝ่ายหลังพุ่งพรวดในจีนอย่างมากเหนือรายอื่น ซึ่งจีนไม่ต้องการ แต่ย้ำว่าหากจะขายทรัพย์สินจริง ควรจะต้องขายให้บริษัทจีนก่อนอื่นใด


เรื่องนี้ ทำให้ฝ่ายบริหารบริษัท รีบออกมาแถลงข่าวว่า ข่าวจะขายทรัพย์สินทิ้งเป็นแค่ข่าวลือที่ไม่มีมูล


เพียงแต่ใครๆที่อยู่ในธุรกิจนี้ ก็รับรู้กันแล้วว่า จากนี้ไปคาร์ฟูร์คงจะต้องถกเถียงถึงอนาคตของตนกันยาวนานทีเดียวในยามที่ทิศทางการลงทุนเริ่มมีคำถามท้าทายในยามเศรษฐกิจผันผวนหาความแน่นอนไม่ได้เหมือนในอดีต



Reblog this post [with Zemanta]

HOUSEBRAND เขย่าบัลลังก์แบรนด์หลัก ทุบตลาดกระจาย...จากโนเนมสู่พรีเมี่ยม


tesco house brand



ถ้าพูดถึง "สินค้าเฮาส์แบรนด์" ในสายตาคนทั่ว ๆ ไปมักถูกมองว่าเป็นสินค้าราคาถูก ไม่ค่อยมีคุณภาพ และไม่ค่อยได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเท่าที่ควร แต่ค่ายค้าปลีกหลายรายที่ปลุกปั้นสินค้ากลุ่มนี้มานานนับ 10 ปี ก็ยังไม่ละความพยายาม ยังคงเดินหน้า ส่งสินค้าใหม่ ๆ ออกมาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง


ทั้งเทสโก้ โลตัส, บิ๊กซี, คาร์ฟูร์, ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต, แม็คโครรวมถึงร้านจำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพและความงามทั้งวัตสัน และบู๊ทส์ ต่างก็มีสินค้าเฮาส์แบรนด์ออกมารับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายด้วยเช่นกัน


จากสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ไม่กี่รายการ น้ำมันพืช น้ำตาล น้ำปลา ซอส ปลากระป๋อง บะหมี่สำเร็จรูป ฯลฯ ก็ค่อย ๆ ขยายไลน์สินค้าออกมายัง ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม เครื่องสำอาง สกินแคร์ เสื้อผ้า อุปกรณ์เครื่องครัว อุปกรณ์ประดับยนต์ อาหารพร้อมรับประทาน ฯลฯ


ถึงวันนี้ สินค้าเฮาส์แบรนด์ในมุมมองของ ผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนไป และเป็นการเปลี่ยนไปในทิศทางบวก และเริ่มกลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภค โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจฝืด กำลังซื้อตกเช่นในปัจจุบัน



"กวิน สัณฑกุล" กรรมการและประธานบริหารฝ่ายการตลาด บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ผู้บริหารห้างเทสโก้ โลตัส ย้ำว่า ปีนี้ถือเป็นปีทองของเฮาส์แบรนด์ เพราะลูกค้าเริ่ม ปรับพฤติกรรมมาใช้เฮาส์แบรนด์มากขึ้น ที่น่าสนใจคือเป็นผู้บริโภคทุกระดับ ไม่ใช่เฉพาะคนที่มีกำลังซื้อน้อย ๆ เท่านั้น


สอดคล้องความเห็นของค่ายบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ โดย "จริยา จิราธิวัฒน์" รองประธานฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เห็นพ้องว่า ปัจจุบันสินค้าเฮาส์แบรนด์ได้รับความนิยม จากผู้บริโภคมากขึ้นจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้บริโภคหันมาหาทางเลือกที่ประหยัดกว่า


ที่น่าสนใจคือวันนี้ สินค้าเฮาส์แบรนด์เริ่มทำรายได้ให้แต่ละค่ายอย่างเป็นกอบเป็นกำ และมีแนวโน้มว่าจะเติบโตมากขึ้น อย่างกรณีของเทสโก้ โลตัส ที่มีสินค้ามากกว่า 9,000 รายการ สามารถทำยอดขายได้คิดเป็น 10% จากยอดขายรวม


หรือคาร์ฟูร์ ที่ปัจจุบันมีสินค้าเฮาส์แบรนด์อยู่ราว ๆ 5,000 รายการ คาดว่าปีนี้จะเพิ่มเป็นเกือบ 6,000 รายการ จากปีที่แล้ว 3,000 รายการ ก็ทำรายได้เป็นสัดส่วนถึง 12% จากยอดขายรวม จากปีก่อนหน้านี้ที่ทำยอดขายได้เป็นสัดส่วน ประมาณ 10%



house brand



ส่วนของค่ายท็อปส์ ก่อนหน้านี้ผู้บริหารก็ระบุว่า สินค้าเฮาส์แบรนด์ สามารถทำรายได้เป็นสัดส่วน 30% และคาดว่าสิ้นปีจะเพิ่มเป็น 40%



ชูคุณภาพ-ราคาเดินหน้าบูมตลาด


เมื่อผู้บริโภคยอมรับกับสินค้าเหล่านี้มากขึ้น หลาย ๆ ค่ายจึงไม่รอช้าที่จะเปิดเกมรุก เพื่อต่อยอดให้สินค้าเฮาส์แบรนด์สามารถครองใจผู้บริโภคและขยายตัวออกไปในวงกว้าง ที่น่าจับตามากก็เห็นจะเป็นค่ายยักษ์ เทสโก้ โลตัส ที่ให้ความสำคัญกับสินค้ากลุ่มนี้มากเป็นพิเศษ ถึงขนาดว่าตั้ง"ศูนย์สาธิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์" ขึ้นมาเพื่อดูแลสินค้ากลุ่มนี้โดยเฉพาะ และช่วงหลังเปลี่ยนชื่อเป็น เทสโก้ศูนย์วิจัยผลิตภัณฑ์ (Tesco Research Centre) ทำหน้าที่ในการประเมินการยอมรับคุณภาพของเฮาส์แบรนด์วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และทดสอบความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ และคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่


แต่ที่มากไปกว่านั้นก็คือในแง่ของการแข่งขันที่มีดีกรีความรุนแรงขึ้นแต่ หลาย ๆ ค่ายเริ่มใส่งบฯการตลาดและการทำกิจกรรมทางการตลาดกับสินค้ากลุ่มนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมการเปิดตัวสินค้าการเปิดบูทชงชิมสำหรับสินค้ากลุ่มอาหาร การใช้พรีเซ็นเตอร์มาเป็นตัวดึงดูด


"กวิน" แห่งค่ายเทสโก้ โลตัส ย้ำว่าจะเกาะติดเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคใหม่ ๆ มากขึ้น ผ่านการเก็บฐานข้อมูลจากบัตรคลับการ์ดที่เพิ่งเปิดตัวไป โดยเฉพาะสินค้าเฮาส์แบรนด์ที่ได้รับการยอมรับมากขึ้นในปัจจุบัน และบริษัทยังมีศักยภาพที่จะพัฒนาสินค้ากลุ่มนี้ได้อีกมาก



"เทสโก้ในอังกฤษมีเฮาส์แบรนด์ถึง 40% ส่วนเมืองไทยยังมีสัดส่วนน้อยมาก โดยมีเพียง 2 แบรนด์หลัก คือ เทสโก้ และคุ้มค่า ในอนาคตจะนำเฮาส์แบรนด์ระดับพรีเมี่ยม "ไฟน์เนสส์" เข้ามาทำตลาดเพิ่มอีก"


ไม่หยุดเพียงเท่านี้ ปีหน้า เทสโก้ โลตัส มีแผนจะนำเข้าเสื้อผ้า เอ็กซ์คลูซีฟแบรนด์ "เอฟแอนด์เอฟ" เข้ามาทำตลาดเพิ่ม และเพื่อรองรับการรุกตลาดแฟชั่นดังกล่าว ยักษ์ใหญ่รายนี้ก็ได้เริ่มทยอยปรับภาพลักษณ์โซนเสื้อผ้าแฟชั่นบ้างแล้ว


ยิ่งไปกว่านั้น ภายในสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้าจะเปิดตัวหนังโฆษณาของสินค้าเฮาส์แบรนด์โดยเฉพาะ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค



ก่อนหน้านี้ บิ๊กซี ก็เป็นอีกค่ายหนึ่งที่เพิ่มดีกรีการบุกสินค้าเฮาส์แบรนด์ มาอย่างต่อเนื่อง อย่างกรณีการเปิดตัวสินค้าแบรนด์ใหม่ที่ชื่อว่า "แฮปปี้บาท" สินค้าอุปโภค สินค้าบริโภค และสินค้าอาหารสด ซึ่งมีราคาถูกกว่าสินค้าทั่วไปโดยเฉลี่ยถึง 40% โดยบิ๊กซีจะทยอยเปิดตัวประเภทสินค้าให้ครอบคลุมทุกไลน์อย่างต่อเนื่อง และตั้งเป้าว่าภายในปีนี้จะมีสินค้าตรา "แฮปปี้บาท" ไม่ต่ำกว่า 200 รายการ นอกจากลูกค้าทั่ว ๆ ไปแล้ว "แฮปปี้บาท" ยังเน้นจับกลุ่มลูกค้าร้านอาหารและภัตตาคาร ลูกค้ากลุ่มเอสเอ็มอี



ส่วนบริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ผู้บริหารท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ตได้วางทิศทางการดำเนินนโยบายสินค้าเฮาส์แบรนด์จากนี้ไปว่า จะมุ่งพัฒนาสินค้าให้กลายเป็นสินค้าที่ดีที่สุดในหมวดหมู่นั้น ๆ และโฟกัสที่อิมเมจของสินค้าเป็นหลัก โดยวางโพซิชันนิ่งของเฮาส์แบรนด์เป็นสินค้าที่มี ความหลากหลายและมีคุณภาพดี โดยให้ความสำคัญกับขั้นตอน การผลิตที่มีคุณภาพ ขนาดของผลิตภัณฑ์ วัตถุดิบ และรสชาติ



เป้าหมายเพื่อทำให้สินค้าภายใต้แบรนด์ "ท็อปส์" กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดบนเชลฟ์ และวางแผนเพิ่มจำนวนสินค้าให้ได้ 700 รายการ ภายในสิ้นปี



ขณะที่คาร์ฟูร์ให้ความสำคัญกับสินค้าเฮาส์แบรนด์มาอย่างต่อเนื่อง "ประภาพรรณ พลอยแสงงาม" ผู้อำนวยการฝ่ายคัดเลือกสินค้า บริษัท เซ็นคาร์ จำกัด ผู้บริหารห้างคาร์ฟูร์ กล่าวในเรื่องนี้ว่า ที่ผ่านมาแม้ว่าสินค้าเฮาส์แบรนด์จะได้รับการยอมรับมากขึ้น และได้รับการตอบรับจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นที่น่าพอใจ แต่คาร์ฟูร์จะไม่เน้น การเพิ่มจำนวนสินค้าเฮาส์แบรนด์มากนัก แต่จะพยายามเพิ่มยอดขายของเฮาส์แบรนด์ที่มีอยู่ให้มากกว่าโดยเน้นพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ เทียบเท่ากับแบรนด์ชั้นนำในราคาถูกกว่า 20%



เขย่าบัลลังก์แบรนด์หลัก



การเติบใหญ่ของสินค้าเฮาส์แบรนด์ในวันนี้แม้ว่าอาจจะยังไม่หวือหวานัก หากเมื่อเทียบกับสินค้าที่เป็นสินค้าแบรนด์หลัก ๆ ที่วางจำหน่ายในตลาด แต่ด้วยปัจจัยในแง่ของกำลังซื้อที่ไม่ดีนักคุณภาพของเฮาส์แบรนด์ที่ได้มีการพัฒนาในแง่คุณภาพที่ผู้บริโภคยอมรับได้และราคาที่ต่ำกว่าสินค้าแบรนด์หลัก 20-40% ก็เป็นสิ่งจูงใจ ให้ผู้บริโภค รวมถึงร้านอาหาร ร้านก๋วยเตี๋ยวริมทางจำนวนไม่น้อยที่หันมาใช้สินค้าเหล่านี้ มากขึ้น เนื่องจากสินค้าเหล่านี้ช่วยลดรายจ่าย ลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี



โดยเฉพาะสินค้าที่ไม่จำเป็นต้องอาศัย เรื่องหน้าตาหรืออิมเมจ กะปิ น้ำปลา น้ำมันพืช น้ำตาล กระดาษทิสชู ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน ฯลฯ



แม้แต่แหล่งข่าวจากวงการสินค้าอุปโภคบริโภคก็ยอมรับว่า สินค้าเฮาส์แบรนด์หลาย ๆ อย่าง ผู้บริโภคมีการซื้อหาจับจ่ายเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันพืช น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก ฯลฯ โดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่พฤติกรรมการบริโภคไม่ได้ยึดติดกับแบรนด์ และมองในแง่ของราคาเป็นตัวตั้ง



หากมองอีกมุมหนึ่งจะเห็นว่า นี่คือเกมการแข่งขันที่ส่งผลกระทบกับแบรนด์สินค้าของซัพพลายเออร์ที่ผลิตสินค้าออกวางจำหน่ายอย่างเลี่ยงไม่ได้



นักการตลาดผู้คร่ำหวอดในวงการค้าปลีก กลยุทธ์การทำตลาดสินค้า เฮาส์แบรนด์เริ่มจากการทำให้ลูกค้าทดลองใช้สินค้า โดยอาศัยแพ็กเกจจิ้ง คุณภาพและราคา เป็นตัวดึงดูดใจ และสเต็ปต่อไปคือการทำให้ลูกค้าซื้อซ้ำ ดังนั้นยุทธศาสตร์แรกของสินค้าเฮาส์แบรนด์ก็คือ การใช้แพ็กเกจจิ้งและสีสัน ที่ละม้ายคล้ายคลึงกับแบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาด



นักการตลาดรายนี้ยกตัวอย่างถึงกรณีของผงซักฟอก "พลัส" เฮาส์แบรนด์ของเทสโก้ โลตัส ที่เริ่มส่งออกวางตลาดเมื่อกลางปีที่ผ่านมา ซึ่งหากสังเกต จะเห็นว่าสีสันของแพ็กเกจจิ้ง ตัวอักษร สีที่ใช้กับตัวอักษร จะมีความคล้ายคลึงกับผงซักฟอกแบรนด์หลักในตลาดมาก และหากไม่พิจารณา ในรายละเอียดก็จะไม่รู้ว่าเป็นผงซักฟอกเฮาส์แบรนด์


อย่างไรก็ตามกลยุทธ์ทางการตลาดที่ซัพพลายเออร์หลาย ๆ ค่าย นำออกมาใช้ในภาวะที่เศรษฐกิจไม่เอื้อในยามนี้ก็คือ การงัดโปรโมชั่น ลดแลกแจกแถม มาจูงใจผู้บริโภค โดยอาศัยความแข็งแกร่งของแบรนด์ที่เป็นทุนเดิมเป็นตัวตั้ง


นี่อาจจะเป็นเพียงจุดเริ่ม ต้นของการแข่งขันระหว่างเฮาส์แบรนด์กับสินค้าแบรนด์หลัก และเกมนี้คงจะไม่จบลงง่าย ๆ และต้องดูกันไปอีกหลายยก



Reblog this post [with Zemanta]

CENTRAL แฮปปี้ พท.อีเวนต์แน่น คิวจองยาวข้ามปี


Central Khonkean


Central Khonkean Project open Dec 2009


"ซีพีเอ็น" รับเต็ม ๆ สัญญาณ ศก.ฟื้นตัวชัด พื้นที่จัดอีเวนต์คิวยาว "ลาดพร้าว-บางนา-ปิ่นเกล้า" ฮอตสุด เผยคอนซูเมอร์ โปรดักต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ เรียลเอสเตต มือถือ แห่ยึดพื้นที่จัดกิจกรรมกระตุ้นยอด เดินหน้าลุยต่อเปิดสาขาขอนแก่น ตัดริบบิ้นต้นธันวาคม เล็งผนึก 3 ศูนย์จัดงานเคานต์ดาวน์



ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากสถานการณ์โดยรวมทางเศรษฐกิจที่มีทิศทางดีขึ้น ผู้ประกอบการเริ่มมีความมั่นใจและกลับมาใช้งบฯจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นตลาดและยอดขายมากขึ้น ส่งผลให้การจองพื้นที่อีเวนต์ของศูนย์การค้าที่อยู่ในไพรมแอร์เรีย เช่น ลาดพร้าว บางนา ปิ่นเกล้า



ขณะที่ศูนย์ในระดับรอง ๆ ลงมีการจองพื้นที่จัดกิจกรรมเข้ามามากขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นสาขาพระราม 2 สาขารัตนาธิเบศร์ ตอนนี้มียอดการจองเพื่อจัดกิจกรรมภายในศูนย์เข้ามายาวไปจนถึงปีหน้า หรือศูนย์ใหม่อย่างแจ้งวัฒนะตอนนี้ก็มีทราฟฟิกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในแต่ละวันมีจำนวนรถเข้าจอดถึง 12,000 คัน/วัน


"การที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมในศูนย์ เนื่องจากศูนย์ตอบโจทย์ความต้องการพื้นฐาน และเป็นแหล่งที่รวมของแบงก์ สถาบันการศึกษา ความบันเทิง ร้านอาหาร ฯลฯ ซึ่งทำให้มีทราฟฟิกมาก เมื่อทราฟฟิกเพิ่มก็จะรีเฟล็กซ์ไปถึงงานที่จัดกิจกรรมในศูนย์"


ดร.ณัฐกิตติ์กล่าวว่า ผู้ประกอบการที่เข้ามาจัดงานในศูนย์ หลัก ๆ เป็นกลุ่มคอนซูเมอร์ โปรดักต์ คอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ เรียลเอสเตต ฯลฯ เพื่อกระตุ้นยอดขายและสร้างการเติบโตในช่วงไตรมาสสุดท้าย อย่างกรณีของบีเอ็มดับเบิลยูที่เข้ามาจัดงานในศูนย์เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา เท่าที่ทราบยอดขายก็เป็นที่น่าพอใจ


"หากมู้ดเป็นแบบนี้ต่อไปและการเมืองไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร ธุรกิจก็น่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวมองว่าภาครัฐควรเข้ามามีบทบาทในการทำมาสเตอร์แพลนเพื่อโปรโมตการท่องเที่ยว เพื่อดึงนักท่องเที่ยวออกมาอย่างชัดเจน เพราะต้องยอมรับว่า ภาคการท่องเที่ยวนั้นเป็นหัวใจสำคัญที่จะกระตุ้นให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต่าง ๆ มีการฟื้นตัวขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ"


ดร.ณัฐกิตติ์กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและทราฟฟิกในส่วนของเซ็นทรัลเวิลด์ที่มีมากขึ้น ทำให้มีแบรนด์ใหม่ ๆ อีก 7-8 แบรนด์ สนใจจะเข้ามาเปิดร้าน นอกจากนี้ก็มีร้านอาหารแบรนด์ดังที่จะเข้ามาเปิดเพิ่ม นอกจากนี้ในเดือนพฤศจิกายนที่เซ็นทรัลเวิลด์จะเปิดโซนใหม่ คือ เอดูเทนเมนต์ เพื่อรองรับกลุ่มครอบครัวที่มีบุตรหลานตั้งแต่ 2-8 ขวบ ส่วนสาขาลาดพร้าวที่จะรีโนเวตใหม่ ตอนนี้ก็มีเสื้อผ้าแบรนด์ดังจากต่างประเทศ คลินิกความงาม ฯลฯ สนใจที่จะเข้ามาเปิดให้บริการเช่นกัน


"สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เรามีความมั่นใจที่จะขยายศูนย์มากขึ้น และต้นเดือนธันวาคมนี้จะเปิดศูนย์การค้าที่ขอนแก่นอย่างเป็นทางการ ซึ่งตอนนี้ทุกอย่างก็เป็นไปตามโปรเซส นอกจากนี้เพื่อสร้างความคึกคักในเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่มีแนวคิดจะจัดงานเคานต์ดาวน์พร้อมกันที่ 3 ศูนย์ คือ เซ็นทรัลเวิลด์ พัทยา และขอนแก่น ที่แน่นอนแล้ว คือ เซ็นทรัลเวิลด์ ส่วนที่ขอนแก่นและพัทยา จะต้องร่วมหารือกับนายกเทศมนตรีเทศบาลขอนแก่นและนายกเมืองพัทยาก่อน"



Reblog this post [with Zemanta]

Wednesday, October 14, 2009

CARREFOUR LAUNCHES "CITY" ITS FIRST MINI FORMAT


French hypermarket chain Carrefour is launching a new retail format to bolster its position in the Thai market.



Carrefour City




Thailand’s first 300-squaremetre Carrefour City convenience store is a retail anchor at Urban Square community mall near Dhurakij Pundit University.



It opened its first mini-supermarket in Bangkok's Pracha Chuen area last Saturday.



CenCar Co, the local Carrefour operator, opened the "Carrefour City" store at Urban Square, a new community mall developed by Chananin Co, located behind Dhurakij Pundit University.



The new-format 300-square-metre retail outlet is double the size of a Tesco-Lotus Express store, its direct competitor. Carrefour City opens daily from 7am-11pm.

<


The store provides both ready-to-eat meals and other convenience products for breakfast and lunch, as well as groceries, frozen foods, drinks and household products.



The French retail giant Carrefour Group launched the Carrefour City format in France early this year, promoting it as a new convenience store concept which capitalises on the Carrefour brand.



Carrefour has operated in Thailand for 12 years but the operator has focused exclusively on hypermarkets. Three Carrefour hypermarket formats are available in the Thai market: the standard format with 6,000 sq m of retail space; the compact format with 4,000 sq m; and the mini format with 2,000 sq m. Arch-rival Tesco Lotus operates six retail formats locally. France-based Casino offers three formats - Big C Supercenter, Mini Big C and Pure by Big C.



Launching the new store format confirms that Carrefour will continue its Thai operations despite rumours that it wanted to pull out from growth markets, especially in Asia.



Lars Olofsson, CEO of Carrefour Group, said its strategy approved by the board in March remained unchanged as the group's geographic priorities are France, other European countries and growth markets, particularly Brazil, India and China.

About the author


Writer: Pitsinee Jitpleecheep
Position: Business Reporter


Reblog this post [with Zemanta]

Friday, October 9, 2009

TESCO LOTUS CLUBCARD THE KEY OF LOYALTY STORE





การแข่งขันเรื่องลอยัลตี้โปรแกรมของห้างไฮเปอร์มาร์เก็ตในช่วงที่ผ่านมา ถือว่ามีความเข้มข้น ไม่น้อยหน้ากัน เมื่อ "เทสโก้ โลตัส" เปิดตัวบัตรขอบคุณ "คลับการ์ด" ไม่กี่สัปดาห์ ต่อมา ค่าย "บิ๊กซี" ก็ดัน "บิ๊กการ์ด" ออกมาใช้แทนบัตรช็อปโทร.ฟรี พร้อมเกทับด้วยการมอบคูปองเงินสดทันทีเมื่อซื้อครบตามเงื่อนไขที่กำหนด ใกล้เคียงกับเงื่อนไขของ "บัตรไอวิช" ของคาร์ฟูร์



ถึงนาทีนี้ ผู้บริหารห้างค้าปลีกหลายค่ายต่างยอมรับว่า บัตรสมาชิกมีผลต่อพฤติกรรมลูกค้ามากขึ้น ที่เห็นได้ชัดคือลูกค้าในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่มีลอยัลตี้ต่อห้างน้อยลง และพร้อมที่จะสวิตชิ่งไปหาสิ่งที่ให้ดีลพิเศษมากกว่า




"ประชาชาติธุรกิจ" ได้มีโอกาสพูดคุยกับ "กวิน สัณฑกุล" กรรมการและประธานบริหารฝ่ายการตลาด เทสโก้ โลตัส ถึงการแข่งขันอันร้อนแรงในสมรภูมิค้าปลีก ซึ่ง "กวิน" บอกว่า สุดท้ายลูกค้าที่มีหลายบัตรจะเลือกเบเนฟิตที่เหมาะกับเขาที่สุด และจะชินกับการใช้บัตรนั้น ดังนั้น โจทย์สำคัญก็คือ ต้องทำให้คลับการ์ดกลายเป็นพรีเฟอร์การ์ด หรือการ์ดใบโปรดให้ได้ ลูกเล่นแรกที่เทสโก้ฯนำมาใช้ คือการ สะสมพอยต์ และหลังจากนี้ 2-3 เดือนก็จะมีคูปองเงินสดและคูปองส่วนลดให้ลูกค้านำกลับมาใช้ต่อ



"คีย์หลักของคลับการ์ดเน้นที่การขอบคุณลูกค้า ยิ่งซื้อมาก ยิ่งได้รับการขอบคุณมาก เงื่อนไขไม่ยุ่งยาก และแต้มไม่มีวันหมดอายุ อีกทั้งรูปแบบสาขาที่หลากหลาย รองรับช็อปปิ้งมิสชั่นที่แตกต่างกันของลูกค้าได้ ลูกค้าจึงมีโอกาสได้แต้มง่าย"



สเต็ปแรกของคลับการ์ดเริ่มจากในสโตร์ ต่อมาจึงขยายผลไปยังร้านเช่า เช่น เอ็มเค สุกี้ ซีเอ็ด หรือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ในรูปของคูปองส่วนลด ซึ่งเป็นผลดีกับ กลุ่มเวนเดอร์ที่ต้องการโปรโมตสินค้า



"ฐานข้อมูลลูกค้าสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายขายหรือ ฝ่ายผลิต เพราะเมื่อเรารู้ว่าลูกค้าเป็นใคร ต้องการอะไร และมีพฤติกรรมอย่างไร ฝ่ายขายและฝ่ายผลิตก็สามารถทำราคา โปรโมชั่น ผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้เหมาะสมกับลูกค้า ช่วยเพิ่มโปรดักทิวิตี้ ทำให้เขามีเงินเหลือ สามารถลงทุนให้ลูกค้าได้มากขึ้น เป็นข้อดีที่หมุนเวียนไปเป็นวัฏจักร"



สเต็ปต่อไปเป็นการมอบโปรโมชั่นที่เหมาะสมกับพฤติกรรมรายบุคคล จากนั้นก็จะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของเทสโก้ฯชัดขึ้น เช่น การสร้างเบบี้คลับรองรับลูกค้าที่เพิ่งมีลูก หรือเฮลท์คลับ ไวน์คลับ ฯลฯ



ถือเป็นการดีไซน์สโตร์ให้เหมาะกับพฤติกรรม ช่วยเสริมในเรื่องช็อปปิ้งเอ็กซ์พีเรียนซ์และเพิ่มความถี่ในการจับจ่าย



"กวิน" กล่าวตบท้ายว่า ความสำคัญของการทำลอยัลตี้โปรแกรม ไม่ได้อยู่ที่ว่าใครมาก่อนมาหลัง หรือสิทธิประโยชน์ที่มอบให้ลูกค้า แต่อยู่ที่ว่าเราจะเอาข้อมูลที่ได้ไปทำอะไร ไปครีเอตแวลูอย่างไร



เกมนี้ใครขยับตัวตามลูกค้าไว้ที่สุด โอกาสชนะก็ยิ่งสูง





Reblog this post [with Zemanta]

Thursday, October 1, 2009

7Eleven ผูกมิตร "โชห่วย" มองข้ามชอตเพิ่มสัดส่วนแฟรนไชส์

how to hide a 7elevenImage by garycycles2 via Flickr


เดินทางมาครบ 5 ครั้งแล้ว สำหรับการจัดงานสัมมนา "ทำโชห่วยให้รวยอย่างยั่งยืน" ที่จัดโดยกรมการค้าภายในและเซเว่นอีเลฟเว่น



โดยสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นคิวของจังหวัดระยองและใกล้เคียง ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการโชห่วยราว 200 คน



หัวข้อหลักในการสัมมนา เน้นให้ผู้ประกอบโชห่วยเร่งปรับตัว เพื่อรับมือกับการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย โดยให้มองเซเว่นฯเป็นต้นแบบการบริหารจัดการ แทนที่จะคิดว่าเป็นคู่แข่งเหมือนในอดีต



เพราะเซเว่นฯได้ประกาศปรับโพซิชั่นนิ่งใหม่เป็น "ร้านอิ่มสะดวก" ที่จะไม่แย่งลูกค้ากับโชห่วยอีกต่อไป




"นริศ ธรรมเกื้อกูล" ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการ ซีพี ออลล์ ได้มอบอาวุธหลักให้โชห่วย ด้วยหลัก 4 ข้อ



ได้แก่การสร้างคุณค่า (Value) ให้ร้าน เลือกขายสินค้าที่เป็นที่ต้องการของชุมชน และสินค้านั้นต้องแตกต่างจากร้านอื่น ๆ หรือหายาก (Rare) ใช้ต้นทุนไม่สูงมาก (Costly to limited) และคนอื่นไม่สามารถเลียนแบบได้ (Hard to Substitute)



พร้อมเทคนิคการบริหารจัดการค้าปลีกทันสมัยแบบหมดเปลือก



รวมทั้งกลยุทธ์การยึดลูกค้าเป็นที่ตั้ง การวางตำแหน่งทางการตลาด คอนเซ็ปต์ ที่ชัดเจนของธุรกิจ ทำเล การจัดการ ภายในร้าน แม้กระทั่งสูตรการบริหาร สต๊อกของแห้ง



แม้จะดูเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับนักการตลาดทั่วไป แต่ก็เป็นหัวข้อที่น่าสนใจไม่น้อยสำหรับผู้ประกอบการโชห่วย



ขณะที่ "ตัน ภาสกรนที" กรรมการ ผู้จัดการ โออิชิ กรุ๊ป วิทยากรรับเชิญ ได้เผยเคล็ดลับการชนะใจลูกค้า ด้วยการทำในสิ่งที่เกินความคาดหมายอยู่เสมอ



"ถ้าอยากจะชนะใจลูกค้า เราต้องใจป้ำ ยิ่งถ้ามาถูกทางแล้ว ก็ต้องทุ่มทุนให้มาก ยกตัวอย่างแคมเปญไปแต่ตัว ทัวร์ยกแก๊ง ที่สามารถเข้าไปอยู่ในใจลูกค้าได้ เพราะให้ในสิ่งที่ลูกค้าคาดไม่ถึง และไม่คิดว่าจะให้มากขนาดนี้"



ส่วน "พันธ์รบ กำลา" ประธานกรรมการผู้จัดการ ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว แนะเคล็ดลับตั้งแต่การตั้งชื่อแบรนด์ และแนวทางการสร้างแบรนด์ ซึ่งต้องใช้จินตนาการควบคู่ไปด้วย



พร้อมประวัติความเป็นมาของทั้ง "โออิชิ" และ "ชายสี่หมี่เกี๊ยว" ที่ล้มลุก คลุกคลานมาหลายตลบ กว่าจะประสบความสำเร็จเหมือนทุกวันนี้



งานนี้จึงช่วยสร้างแรงบันดาลใจและบิลด์อารมณ์ให้ผู้ประกอบการโชห่วยกลับมาหึกเหิม พร้อมสู้ในสนามค้าปลีกอีกครั้ง



เหตุผลที่เซเว่นอีเลฟเว่นหันมายื่นมือช่วยเหลือโชห่วย จัดสัมมนาเผยเคล็ดลับความสำเร็จอย่างหมดเปลือก นอกจากจะสลัดภาพในอดีตที่เคยเป็นคู่แข่งกันแล้วยังสอดคล้องกับแผนขยายธุรกิจแฟรนไชส์ที่ เซเว่นฯตั้งเป้าว่าภายใน 3 ปีจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 60% จากปัจจุบันมีสัดส่วน 45%



โดยเป้าหมายในการขยายแฟรนไชส์จะเน้นนักธุรกิจรายใหม่มากกว่าแฟรนไชซีเดิม



"ปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล" กรรมการผู้จัดการ ซีพี ออลล์ เปิดเผยถึงข้อดีของการขยายแฟรนไชส์ว่า ทำให้การทำงานของบริษัทคล่องตัวขึ้น เพราะแฟรนไชซีจะเป็นผู้บริหารจัดการร้านเอง



ขณะเดียวกัน บริษัทก็จะสามารถให้เวลากับการสร้างประสิทธิภาพด้านยอดขายและกำไรต่อสาขาได้อย่างเต็มที่



ที่ผ่านมา เซเว่นฯได้ปรับเงื่อนไขการเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ให้ง่ายขึ้น ทั้งการเพิ่ม รูปแบบการลงทุนที่มี 2 โมเดล



กลˆาวคือลงทุน 500,000 บาท ระยะเวลาอนุญาต 6 ปี กับลงทุน 1.7 ล้านบาท ระยะเวลา 10 ปี



หรือแม้กระทั่งการการันตียอดขายด้วยการให้ผู้สนใจลงทุนเลือกซื้อแฟรนไชส์จากสาขาที่ประสบความสำเร็จแล้ว โดยไม่ต้องมีทำเลมาเสนอ



มอบทั้งอาวุธ ทั้งเงื่อนไขดี ๆ แบบนี้ ไม่เข้าตา "โชห่วย" กันบ้าง ให้มันรู้ไป !





Reblog this post [with Zemanta]

LinkWithin

Related Posts with Thumbnails