Pages

Monday, April 26, 2010

3 ยักษ์ค้าปลีก" ปักธงรบ ผุดไซซ์ 2 พัน ตร.ม.ขยายสาขา


ยังคงพยายามหาโมเดลใหม่ ๆ มาให้บริการอย่างต่อเนื่อง สำหรับค้าปลีกรายใหญ่ที่วันนี้การขยับขยายสาขาเต็มรูปแบบทำได้ยากขึ้น ทั้งจากปัจจัยจากกฎหมายผังเมือง และการหาพื้นที่ขนาดใหญ่ทำได้ยากขึ้น โดยเฉพาะในกรุงเทพฯและหัวเมืองหลัก

นอกการพยายามหาช่องว่างและใช้โมเดลใหม่ ไซซ์ใหม่ ลงไปเจาะในหลาย ๆ พื้นที่แล้ว ทุกค่ายต่างเร่งปรับตัวด้วยการเริ่มพุ่งเป้าไปยังหัวเมืองระดับรองมากขึ้นแล้ว พร้อมเปิดกว้างในหลาย ๆ รูปแบบ เพื่อให้เปิดสาขาใหม่ได้ง่ายขึ้น

และถึงขณะนี้ดูเหมือนว่า ไซซ์ที่หลายค่ายให้ความสนใจมากขึ้น ก็คือซูเปอร์มาร์เก็ต ที่มีพื้นที่ประมาณ 2,000 ตารางเมตร
"สิทธิศักดิ์ วงศ์สมุทร" ผู้จัดการฝ่าย อสังหาริมทรัพย์ บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด เพื่อเปิดให้บริการ "เทสโก้ โลตัส ซูเปอร์มาร์เก็ต แอท ยูดี ทาวน์" (Tesco Lotus Supermarket @ UD Town) ขนาดพื้นที่ 2,000 ตารางเมตร ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของรูปแบบ "เทสโก้ โลตัส ซูเปอร์มาร์เก็ต" ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งว่าจะเริ่มเปิดให้บริการได้ภายในปลายเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายนนี้

ซูเปอร์มาร์เก็ตในเมืองอุดรฯจะมีสินค้ากว่า 17,000 รายการ รองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้า โดยเน้นกลุ่มอาหารสด, อาหารพร้อมปรุง, อาหารสำเร็จรูป สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และเพิ่มสินค้าในหมวดเสื้อผ้า สินค้าสำหรับเด็กเล็ก เครื่องมือ เครื่องใช้ รวมถึงเครื่องเขียน

ที่ผ่านมา ทั้ง เทสโก้ โลตัส และคาร์ฟูร์ต่างให้ความสนใจที่จะเข้ามาเช่าพื้นที่ของ ยูดี ทาวน์ และก่อนหน้านี้มีกระแสค่อนข้างแรงว่า คาร์ฟูร์จะได้สิทธิในการเช่า แต่ท้ายที่สุด เทสโก้ โลตัส ก็คว้าพื้นที่ทำเลทองของยูดี ทาวน์ มาครองสำเร็จ

ส่วนค่ายคาร์ฟูร์ หลังจากก่อนหน้านี้ได้ทดลองเปิดโมเดลคาร์ฟูร์ ซิตี้ ที่เออเบิ้น สแควร์ ตอนนี้มีนโยบายชัดเจนว่าจะยังไม่ขยายโมเดลนี้เพิ่ม แต่จะมาให้น้ำหนักกับโมเดลที่เรียกว่า "คาร์ฟูร์ มาร์เก็ต"

"ภูมิศักดิ์ พาทัน" ผู้จัดการฝ่ายคัดเลือกสินค้า ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เสื้อผ้า และเครื่องแต่งกาย บริษัท เซ็นคาร์ จำกัด คาร์ฟูร์ได้ปรับยุทธศาสตร์การลงทุนและการดำเนินธุรกิจใหม่ โดยจะหันกลับมาขยายสาขา ในเขตกรุงเทพฯ เน้นย่านชานเมืองและ ปริมณฑลเป็นหลัก โดยได้เตรียมเปิดอีก 4 สาขาภายในปีนี้

ล่าสุดเพิ่งเปิดสาขาหทัยราษฎร์ คลองสามวา ถนนสุวินทวงศ์ ในรูปแบบคาร์ฟูร์ มาร์เก็ต แห่งแรก ขนาด 2,465 ตารางเมตร ด้วยงบลงทุนประมาณ 200 ล้านบาท จำหน่ายสินค้าประเภทอาหารสด สินค้า อุปโภคบริโภคกว่า 15,000 รายการ เน้นของสดและสิ่งของจำเป็น

เพื่อรองรับพฤติกรรมการจับจ่ายของ ผู้บริโภคที่หันมาซื้อสินค้าใกล้บ้าน หรือย่านที่พักอาศัยมากขึ้น ถัดไปจะเปิดสาขาเคหะร่มเกล้า สาขาสายไหม และสาขาสุขาภิบาล 5

พร้อมกันนี้เขาให้เหตุผลว่า การเปิดสาขาขนาดประมาณ 2,000 ตารางเมตร จะทำได้ง่ายและเร็วในแง่การก่อสร้าง และสามารถคืนทุนได้เร็วกว่าโมเดลขนาดใหญ่

จากโมเดลใหม่ที่เพิ่มขึ้นมา ทำให้คาร์ฟูร์มีร้านค้าปลีก 4 รูปแบบ คือ สาขาขนาด 6,000 ตารางเมตรขึ้นไป สาขาขนาด 4,000 ตารางเมตร สาขาขนาด 2,000 ตารางเมตร หรือคาร์ฟูร์ มาร์เก็ต นอกจากนี้ ยังมีคาร์ฟูร์ ซิตี้ 300 ตารางเมตร

ก่อนหน้านี้ "รำภา คำหอมรื่น" รองประธานฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เพื่อเพิ่มโอกาสการเปิดสาขาในจังหวัดรอง ๆ บริษัททดลองสร้างสาขารูปแบบใหม่เป็นไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็ก มีพื้นที่ 2,000 ตร.ม. พร้อมพื้นที่เช่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะเลือกสินค้าประเภทใดไปจำหน่ายบ้าง

โดยหลัก ๆ จะเน้นกลุ่มอาหารและของใช้ทั่วไป ปีนี้บิ๊กซีเปิดสาขาใหม่ 4 สาขา ภาคกลาง 3 สาขา และอีสาน 1 สาขา เป็นสาขากลางและเล็กที่ใช้งบฯลงทุน 200-600 ล้านบาท

ปัจจุบันบิ๊กซีมีสาขา 3 รูปแบบ ได้แก่สแตนดาร์ด 10,000 ตร.ม. คอมแพ็กต์ 6,000 ตร.ม. และมินิคอมแพ็กต์ 4,500 ตร.ม.

นอกจากค้าปลีกไซซ์ 2,000 ตารางเมตร ที่ทั้ง 3 ค่ายใหญ่ต่างให้ความสำคัญในขณะนี้แล้ว เชื่อว่าอีกในอนาคต เราคงจะมีโมเดลใหม่ ไซซ์ใหม่ ๆ ตามออกมาอีกเป็นระลอก

Thursday, April 22, 2010

ทำเล ตจว. ไม่เวิร์ก "คาร์ฟูร์" ผุดโมเดลใหม่ ลุยศึกค้าปลีกชานเมือง



นายภูมิศักดิ์ พาทัน ผู้จัดการฝ่ายคัดเลือกสินค้า ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เสื้อผ้า และเครื่องแต่งกาย บริษัท เซ็นคาร์ จำกัด ผู้บริหารห้างคาร์ฟูร์ เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทมีแผนขยายสาขาไม่ต่ำกว่า 4 สาขา โดยเฉพาะสาขารูปแบบใหม่ที่ชื่อว่า คาร์ฟูร์ มาร์เก็ต ขนาด 2,000 ตารางเมตร (รวมช้อปปิ้งมอลล์ด้วยเป็น 10,000 ตารางเมตร) เน้นจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารสดและของใช้ ตกแต่งร้านด้วยโทนสีส้มและสีน้ำตาล โดยได้ลงทุน 200 ล้านบาท เปิดคาร์ฟูร์มาร์เก็ตสาขาแรกที่ซอยหทัยราษฎร์ กรุงเทพฯ และปีนี้มีแผนเปิดสาขารูปแบบใหม่อีก 1 สาขา ที่เคหะร่มเกล้า ส่วนอีก 2 สาขาที่จะเปิดใหม่ ได้แก่ ที่สายไหม และสุขาภิบาล ในรูปแบบ K2K พื้นที่ 2,000 ตารางเมตร

ปัจจุบัน คาร์ฟูร์ มีรูปแบบสาขาทั้งหมด 6 รูปแบบ ได้แก่ K6K พื้นที่ 6,000 ตารางเมตร, K4K 4,000 ตารางเมตร, K2K 2,000 ตารางเมตร, คาร์ฟูร์ซิตี้ 300 ตารางเมตร และล่าสุด คาร์ฟูร์ มาร์เก็ต

"บริษัทจะชะลอการขยายสาขาในต่างจังหวัด เพราะที่ผ่านมาไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนัก และจะให้น้ำหนักกับการเปิดสาขาย่านชานเมืองมากขึ้น เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีกำลังซื้อมากกว่า โดยอนาคตมีแผนขยายสาขาปีละ 8-10 สาขา เน้นที่ไซซ์ 2,000 ตารางเมตรมากขึ้น" นายภูมิศักดิ์กาล่าว

Thursday, April 8, 2010

SWENSEN'S TO FOCUS EXISTING BRANCHES -เดินหน้ารีโนเวตเฟ้นยอดร้านเดิม



สเวนเซ่นส์ปรับยุทธศาสตร์ไม่เร่งเปิดสาขาใหม่ หันโฟกัสสาขาเดิม เฟ้นการเติบโตทุกร้าน ลุยรีโนเวต 20 แห่งปีนี้ ชูคอนเซ็ปต์ใหม่ คลาสสิก มีสไตล์ ลดสีสันจัดจ้าน ตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม เปิดตัว เมนูมะม่วงช่วงซัมเมอร์ หวังโต 8% คาดทั้งปีโต 7%






มร. ปีเตอร์ คิง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท สเวนเซ่นส์ ไทย จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กลยุทธ์หลักของสเวนเซ่นส์ในปีนี้จะกลับมาโฟกัสที่สาขาเดิม เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แต่ละสาขาและสร้างการเติบโตด้านยอดขายของ same store ไม่เพียงเป็นการเติบโตจากการเปิดสาขาใหม่ ๆ จากช่วง 5 ปีที่ผ่านมาสเวนเซ่นส์มีการเปิดสาขาอย่างรวดเร็วมาก โดยปีนี้ตั้งเป้าขยายสาขาประมาณ 10 สาขา น้อยกว่าปีที่แล้วที่มีการขยาย 15 สาขา ขณะที่ปีก่อนหน้านี้จะเน้นขยายสาขาปีละ 30 สาขา




ทั้งนี้ จะเป็นการอัพเกรดสาขาที่มีอยู่ให้ทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการลูกค้ามากขึ้น โดยปัจจุบัน สเวนเซ่นส์มีสาขาถึง 220 แห่ง คาดว่าจะรีโนเวตสาขาปีนี้รวม 20 สาขา โดยจะเป็นดีไซน์ใหม่ คือจะเน้นอัพเกรดดีไซน์ให้มีความตื่นเต้นมากยิ่งขึ้นในสไตล์ที่เรียกว่า "Urban eco chic" ที่เน้นความมีสไตล์และคลาสสิกมากขึ้น ลดสีสันที่จัดจ้านลงเพื่อตอบโจทย์คนทุกเพศทุกวัย ปัจจุบันมีสาขาที่รีโนเวตแล้ว 5 สาขา อาทิ เซ็นทรัล พระราม 3, เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน, ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ฯลฯ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีมาก โดยสามารถเพิ่มฐานลูกค้าและมียอดขายเพิ่มขึ้น 10%



"เราต้องการทำให้แน่ใจว่าแต่ละร้านยังคงดึงดูดลูกค้าได้ ร้านยังทันสมัย และมีบรรยากาศที่ดี ลูกค้าแฮปปี้เมื่อเข้ามาใช้บริการ ปัจจุบันบางสาขาเก่ามากจำเป็นต้องปรับปรุง ขณะเดียวกันเมื่อมีการเปิดสาขาอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา ทำให้แต่ละร้านอยู่ในทำเลที่ใกล้เคียงกัน เราจึงต้องกลับมาพิจารณาในเรื่องนี้ และทำให้ทุกสาขาเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง"



มร.คิง กล่าวว่า ปัจจุบันโอกาสการขยายสาขายังมีอีกมาก โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ขณะที่ในกรุงเทพฯบริษัทก็มองว่ายังมีโอกาสเช่นเดียวกัน ขณะนี้มีห้าง ศูนย์การค้า และทำเลต่าง ๆ ในกรุงเทพฯที่บริษัทมองว่ามีศักยภาพในการเปิดสาขา 6-7 สาขา อย่างไรก็ตาม แนวทางจากนี้จะไม่ได้เน้นขยายรวดเร็วเหมือนสมัยก่อน แต่จะมีความรอบคอบและระมัดระวังมากขึ้น



"เราจะเซ็กเมนต์ลูกค้าตามโลเกชั่นที่สาขานั้น ๆ ตั้งอยู่ ที่เห็นชัดคือฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิตซึ่งมีการรีโนเวตดีไซน์ใหมโดยเน้นจับกลุ่มครอบครัวและกลุ่มคนเริ่มทำงาน ขณะที่ชั้น 3 ซึ่งใกล้โรงหนังก็จะเน้นกลุ่มวัยรุ่น"



ปัจจุบันตลาดไอศกรีมพรีเมี่ยมมีมูลค่าประมาณ 7,000 ล้านบาท สเวนเซ่นส์มีส่วนแบ่งถึง 80% แต่ก็ไม่ได้ประมาทกับบรรดาคู่แข่งใหม่ ๆ ที่เข้ามาในตลาด แต่เน้นพัฒนาเรื่องต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น ปัจจุบันสเวนเซ่นส์ถือเป็นแบรนด์อันดับ 1 ในตลาดร้านอาหารประเภทไลต์ฟู้ด หรือร้านในกลุ่มเบเกอรี่, กาแฟ ฯลฯ ในแง่ของความแข็งแกร่งของแบรนด์



ล่าสุดในช่วงซัมเมอร์นี้ได้เปิดตัว โปรโมชั่นมะม่วงในปีนี้แตกต่างจากปีก่อน ซึ่งได้มีการเพิ่มวาไรตี้ทั้งรสชาติมะม่วง นอกจากไอศกรีมซันเดย์ ซัมเมอร์ บรีซ แมงโก้ ยังเพิ่มทาโร แมงโก้ ไอศกรีมมะม่วงเสิร์ฟพร้อมข้าวเหนียวม่วง เผือกกรอบ โรยด้วยซอสเผือก แตกต่างจากทุกปี ตั้งเป้าเติบโตในช่วงมีนาคม-เมษายน อยู่ที่ 8%



นอกจากนี้ ยังมี 2 ไซซ์ในราคา 59 บาท และ 79 บาท ตอบโจทย์กำลังซื้อที่แตกต่างกัน จากปีก่อนที่บริษัทใช้กลยุทธ์ราคาที่ 49 บาท จากเศรษฐกิจที่ซบเซาส่วนปีนี้เชื่อว่ากำลังซื้อจะดีขึ้น โดยเน้นเรื่องความคุ้มค่า คุ้มราคามากกว่าลดราคาสินค้าอย่างเดียว



มร. คิงกล่าวทิ้งท้ายว่า สถานการณ์ปีที่แล้วในช่วงครึ่งปีแรกไม่ดีนักจากสถานการณ์ปิดสนามบินและเศรษฐกิจที่ตกต่ำ แต่กลับมากระเตื้องขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2552 โดยปีที่แล้วสเวนเซ่นส์มีฐานลูกค้าที่เข้ามารับประทานไอศกรีมถึง 34 ล้านคน และมียอดขายภาพรวมเติบโตขึ้น 9-10% ขณะที่ปีนี้ตั้งเป้าเติบโต 7% เพราะไม่เน้นการขยายเชิงรุก โดย 2 เดือนแรกที่ผ่านมามีการเติบโตที่ดีมาก ต่อเนื่องมาถึงสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคมที่เติบโตถึง 20% แต่เริ่มลดลงเมื่อมีปัจจัยลบต่าง ๆ โดยเฉพาะการชุมนุมของเสื้อแดงที่เกิดขึ้นตลอดช่วงเดือนมีนาคม



Reblog this post [with Zemanta]

Tuesday, April 6, 2010

UD TOWN "ไม่จำเป็นต้องใหญ่...ก็สำเร็จได้"

photo credit by sat29sun14

ภาพการขับเคลื่อนของกลุ่มทุนค้าปลีกจากเมืองหลวงเข้าสู่พื้นที่ต่างจังหวัดเริ่มเห็นชัดมากขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในจังหวัดที่เป็นหัวเมืองใหญ่และรองของแต่ละภูมิภาคที่ต่างล้วนมีศักยภาพการเติบโตและช่องว่างอีกมหาศาลจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของกำลังซื้อและดีมานด์ รวมทั้งไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้าที่เทียบเคียงแล้วก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าตลาดเมืองกรุง



"อุดรธานี" เป็นหนึ่งในจังหวัดของภาคอีสานที่มีการเติบโตทางธุรกิจสูง ไม่เพียงกลุ่มทุนในประเทศอย่างเซ็นทรัล แต่รวมถึงไฮเปอร์มาร์เก็ตทุกกลุ่มทุกค่ายย่อมไม่พลาดที่จะเข้าไปเป็นทางเลือกที่มีกำลังซื้อสูง จึงไม่แปลกที่กลุ่มทุนท้องถิ่นจะต้องหาจุดขายเพื่อสร้างความแตกต่างและโดดเด่นเข้ามาสู้



"ไม่จำเป็นต้องใหญ่...ก็สามารถประสบความสำเร็จได้"




คำตอบของ "วรพล วีรชาติยานุกูล" กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุดรพลาซ่า จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้ายูดี ทาวน์ ไลฟ์สไตล์มอลล์ระดับพรีเมี่ยมเพื่อบอกเล่าแนวทางการต่อสู้เมื่อต้องต่อกรกับยักษ์ใหญ่อย่างกลุ่มเซ็นทรัลที่ทุ่มงบฯกว่า 5,400 ล้านบาทสำหรับปั้นเซ็นทรัล พลาซา อุดรธานีเป็นเกตเวย์ของอินโดจีนหลังจากเข้าเทกโอเวอร์กิจการจากกลุ่มท้องถิ่นเจริญศรี ได้เร่งรีโนเวตศูนย์และโรงแรมใหม่พร้อมแปลนการลงทุนขยับขยายในพื้นที่ที่ได้ซื้อเพิ่มเติม



หัวเรือใหญ่ยูดี ทาวน์ชี้ว่า โดยทำเลอยู่ห่างกันเพียง 700-800 เมตร เช่นเดียวกับกลุ่มลูกค้าที่ไม่ปฏิเสธว่าต้องคาบเกี่ยวกันอยู่แล้ว แต่บรรยากาศการตกแต่งและไลฟ์สไตล์ของยูดี ทาวน์จะเป็นตัวชี้วัดความแตกต่างกับเซ็นทรัล



"ร้านอาหารและสไตล์จะเป็นตัวตอบโจทย์ของลูกค้าว่าเขามาที่เราเพื่ออะไร แต่ถ้าต้องการบรรยากาศสบาย ๆ โอเพ่นแอร์ การตกแต่งมีเสน่ห์ ซึ่งเป็น สิ่งที่ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ไม่มี"



ปัจจุบัน "ยูดี ทาวน์" เปิดบริการแล้ว 60% มีลูกค้าเข้าใช้บริการเฉลี่ย 4,000-5,000 คน/วัน มีอัตราการใช้จ่ายเฉลี่ย 500 บาท/คน/ครั้ง ภายในเดือนมิถุนายนนี้ร้านค้าทั้งหมดจะพร้อมเปิดได้ครบเต็มพื้นที่ คาดว่าจะมีลูกค้าใช้บริการเฉลี่ย 1.5-2 หมื่นคน/วัน และใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 1,500 บาท/คน/ครั้ง



ล่าสุดเตรียมขยายพื้นที่เต็มโครงการเป็น 1.5 หมื่น ตร.ม. โดยเพิ่มพื้นที่ศูนย์เอ็กซิบิชั่นรองรับการจัดงานแสดงนิทรรศการ การประชุม คอนเสิร์ต งานแฟร์ เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าประมาณ 200 คนในแต่ละงาน ที่ผ่านมาการจัดงานจะถูกจำกัดเฉพาะในพื้นที่ปิดตามศูนย์การค้าหรือโรงแรมเท่านั้น แต่ลานอีเวนต์นี้จะเป็นแบบเปิดสอดรับกับพฤติกรรมของกลุ่มคนรุ่นใหม่



อีกทั้งในปีหน้าเตรียมขยายการลงทุนบูติคโฮเต็ลเก๋ ๆ ขนาดไม่เกิน 50 ห้อง ซึ่งอยู่ระหว่างออกแบบ



ด้านฟากฝั่ง "เซ็นทรัล" ด้วยชื่อชั้นการันตีความเป็นศูนย์ขนาดใหญ่ที่ครบเครื่องได้เป็นอย่างดี เซ็นทรัลตั้งงบฯลงทุนถึง 5.3 พันล้านบาทสำหรับเข้าซื้อกิจการและปรับเปลี่ยนโฉมใหม่โดยครอบคลุมทั้งศูนย์การค้า โรงแรม และคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แผนขยายโครงการต่อในอนาคตเนื่องจากมีที่ดินเหลืออยู่จากทั้งหมด 53 ไร่ เป้าหมายขยายพื้นที่เป็น 2 แสน ตร.ม.



เป้าหมายจึงมิใช่แค่รองรับกลุ่มลูกค้าในประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงตลาดเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาว และเวียดนาม ด้วยยุทธศาสตร์การขยายตัวออกสู่ภาคอีสานเซ็นทรัล พลาซาวางตำแหน่งให้ศูนย์อุดรธานีและขอนแก่นเป็น "เกตเวย์ และเทรนด์เซตเตอร์" มัดใจลูกค้าภูมิภาคนี้




Reblog this post [with Zemanta]

Saturday, April 3, 2010

CENTRAL UDON


central udon



เซ็นทรัล อุดรธานี โครงการนี้ทางเซ็นทรัลไปเทคโอเวอร์มาจากกลุ่มทุนท้องถิ่น ในราคาเกือบ 3,000 ล้านบาท ได้ที่ดินมาเกือบ 40 ไร่ พร้อมสิ่งปลูกสร้าง จึงใส่งบไปอีก 2,000 ล้าน เป็นค่าปรับปรุงและตกแต่งเพิ่มอีกหน่อย เพื่อจะทำให้สาขานี้เป็นศูนย์กลางอีสานตอนบน โดยมีสิ่งน่าสนใจคือ จะมีส่วนที่เป็น open air ด้วย..มาแน่ ต้นปี 2555



central udon

CENTRAL PHITSANULOK


central phitsanulok



เซ็นทรัล พิษณุโลก บนพื้นที่กว่า 100 ไร่ ติดถนนใหญ่ ภายใต้งบ 1,700 ล้านบาท ไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 สาขานี้จะถูกเปิดมาเป็นประตูดักผู้คนที่โหยหาการจับจ่าย



central phitsanulok

CENTRAL FESTIVAL CHIANGMAI


central festival chiangmai



เซ็นทรัล เฟสติวัล เชียงใหม่ บริเวณสี่แยกดอยสะเก็ด ออกแบบสไตล์รีสอร์ต เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ใช้งบ 3,000 ล้านบาท เพื่อสร้างความแตกต่างจาก เซ็นทรัล เชียงใหม่ เดิม...พบกัน ธันวาคม ปี 2555



central festival chiangmai


Reblog this post [with Zemanta]

CENTRAL CHIANGRAI



Central Chiangrai



เซ็นทรัล เชียงราย ติดถนนไฮเวย์ ตรงข้ามบิ๊กซี บนเนื้อที่ 52 ไร่ รองรับการสร้างสะพานที่เชียงแสนและการสร้างถนนเชื่อมจากจีน ภายใต้งบลงทุน 1,600 ล้านบาท สาขานี้พร้อมสวัสดีชาวเชียงรายกลางปี 2554



Central Chiangrai

Reblog this post [with Zemanta]

CENTRAL CHIDLOM


Central Chidlom

Central Embassy


เซ็นทรัล ชิดลม ไม่ได้ทำใหม่หรือปิดปรับปรุง แต่จะทำการขยายห้างออกไปอีก หลังซื้อที่ดินใกล้เคียงได้จากสถานทูตอังกฤษในราคาสุดแพง ตารางวาละ 1 ล้านบาท ทั้งหมด 9 ไร่ รวมเงินเฉพาะแค่ค่าที่ดิน 3 พันกว่าล้านบาท โดยในส่วนที่ขยายออกมา จะทำเป็นโรงแรมระดับ 6 ดาว ด้านล่างเป็นห้างสรรพสินค้า เริ่มสร้างปีหน้า แล้วเสร็จปี 2557



Central Chidlom



เคยเขียนแล้วที่นี่


http://thairetail.blogspot.com/2009/04/new-central-chidlom.html

Reblog this post [with Zemanta]

CENTRAL IN THE PARK


 


central in the park โปรเจ็คท์ใหญ่ที่ทางกลุ่มเซ็นทรัลหมายมั่นปั้นมือจะสร้างให้เป็นตึกที่สูงสุดในไทย โดยจะทำเป็นโรงแรม สำนักงาน และห้าง บนตึกสูงที่ออกแบบไว้ 76 ชั้น บริเวณสวนลุมไนท์บาซาร์ ซึ่งทางเซ็นทรัลประมูลได้จากสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พื้นที่ 52 ไร่ สัญญา 30 ปี มูลค่าหมื่นกว่าล้านบาท



central pre-cadet school or central lumpini

CENTRAL RAMA IX


central ram 9



เริ่มที่ เซ็นทรัล พระราม 9 ตรงข้ามห้างฟอร์จูน รัชดา ใช้งบราว 4,500 ล้านบาท สร้างเพื่อรองรับการหมดสัญญาของโรบินสัน รัชดา (กลุ่มธุรกิจในเครือเซ็นทรัล) ที่จะย้ายมาอยู่รวมกัน สาขานี้เริ่มตอกเสาเข็มแล้ว เจอกันแน่ เดือนธันวาคม ปี 2554



central rama 9



http://thairetail.blogspot.com/2009/11/central-plaza-rama-9.html


Reblog this post [with Zemanta]

New Central Ladprao


ใครที่อาศัยอยู่ในย่านลาดพร้าว และละแวกใกล้เคียง หรืออาจต้องสัญจรไปมาผ่าน เซ็นทรัล ลาดพร้าว อยู่ทุกวี่วัน หรือใครก็ตามที่เป็นทั้งขาช้อป ขาจร ประจำห้างนี้ อาจต้องจำภาพของ เซ็นทรัล ลาดพร้าว แบบเดิม ๆ ไว้ในความทรงจำ เพราะปี พ.ศ.นี้ เซ็นทรัล ลาดพร้าว ที่เคยเป็นเอกลักษณ์ ดูคลาสสิค แม้จะดูเก่าแก่ทรุดโทรม กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลง...



old central ladprao



ทำไมต้องกล่าวถึง...ก็แค่ห้าง ๆ หนึ่งที่จะปิดปรับปรุง ?




นั่นเป็นเพราะ เซ็นทรัล ลาดพร้าว ไม่ใช่แค่ห้างสรรพสินค้า แต่เป็นจุดรวมตัวของวัยรุ่นมาหลายต่อหลายยุค เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2520 บนพื้นที่ที่เรียกว่า ท้องทุ่งบางเขนในอดีต มาวันนี้ เซ็นทรัล ลาดพร้าว ผ่านร้อน ฝน หนาว มากว่า 32 ปีแล้ว และยังคงเป็นจุดศูนย์รวมความบันเทิง จุดนัดพบ จุดเดินทาง ที่เกือบทุกคนในกรุงเทพฯ ต้องเคยมาเยือน



current central ladprao



เมื่อคิดจะผลัดรูปเปลี่ยนโฉมกันทั้งที ทางกลุ่มเซ็นทรัล จึงต้องการให้ เซ็นทรัล ลาดพร้าว มีรูปลักษณ์ใหม่ที่ทันสมัย สวยไฉไลถูกใจนักช้อป ตอบรับไลฟ์สไตล์ในยุคดิจิตอล ภายใต้งบประมาณกว่า 2 พันล้านบาท นั่นยังไม่รวมถึงการต่อสัญญาเช่าที่ดินครั้งล่าสุดกับทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่กลุ่มเซ็นทรัลต้องจ่ายเงินถึง 2 หมื่นกว่าล้าน แลกกับระยะเวลาสัมปทาน 20 ปี บนเนื้อที่ 42 ไร่



new central ladprao



ด้วยเม็ดเงินมหาศาลเช่นนี้ จากเดิมทีที่คิดจะปรับปรุงบางส่วน พร้อม ๆ กับเปิดให้บริการบางส่วน หรือทำไป ขายไป แต่เมื่อประเมินแล้วต้องใช้เวลานานถึง 2 ปี ทางกลุ่มจึงตัดสินใจประกาศปิดทั้งห้าง เพราะใช้เวลาแค่ 6 เดือน โดยจะเริ่มปิดตั้งแต่ 23 เม.ย.เป็นต้นไป กำหนดเปิดอีกทีก็ 29 ต.ค.นี้ ...ไม่นานเกินรอ




reference: kapook.com, pantip.com



Reblog this post [with Zemanta]

LinkWithin

Related Posts with Thumbnails