Thursday, July 29, 2010
DAIRY QUEEN เปิดขายแฟรนไชส์ในไทย ผ่านโมเดล′หนึ่งจังหวัดหนึ่งแฟรนไชส์
แดรี่ ควีน ชูโมเดล "หนึ่ง จังหวัด หนึ่ง แฟรนไชส์" ขยายร้านไอศครีม ครอบคลุมจังหวัดหลักทั่วประเทศ เหตุเชื่อธุรกิจอาหารไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ การเมือง ประเดิมสาขาแรกเปิดที่หาดใหญ่ สงขลา 15 ส.ค.นี้ พร้อมปรับโมเดลคีออส รับขายแฟรนไชส์ ราคาเหลือ 1.8 ล้านจากเดิม 2.3 ล้าน ตั้งเป้าขยายให้ได้ 450 แห่งภายใน 4 ปี หวังดันยอดขายเพิ่มเป็น 2,000 ล้าน นายสุพจน์ ตันติสุนทร รองกรรมการผู้จัดการและกลุ่มผู้จัดการทั่วไป บริษัทไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านแดรี่ ควีน เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดขายแฟรนไชส์ ร้านแดรี่ ควีน ในไทย เป็นประเทศแรกในโลก โดยจะทำผ่านโมเดล "หนึ่งจังหวัดหนึ่งแฟรนไชส์" หรือการให้สิทธิแฟรนไชส์ซีให้สามารถขยายร้านในจังหวัดนั้นๆ ได้แต่เพียงผู้เดียว รายอื่นไม่มีสิทธิ เพื่อให้ขยายร้านแดรี่ ควีน ในเขตต่างจังหวัดเป็นหลัก
ส่วนในเขตกรุงเทพฯบริษัทจะเป็นผู้ลงทุนเอง ตั้งเป้าหมายขยายร้านให้ได้เพิ่มเป็น 450 แห่ง ภายในปี 2557 หรือภายใน 4 ปีข้างหน้านี้ในจำนวนนี้ 2 ใน 3 จะเป็นการขยายร้านผ่านระบบแฟรนไชส์ หรือราว 300 สาขา บริษัทลงทุนเอง 150 สาขา สร้างยอดขายให้บริษัทรวม 2,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัวจากปัจจุบันที่มีสาขารวม 230 แห่ง มียอดขายประมาณ 1,000 ล้านบาท เติบโตสูงสุดเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศจีน
นายสุพจน์กล่าวว่า ร้านแฟรนไชส์สาขาแรก จะเปิดที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในวันที่ 15 สิงหาคมนี้ เลื่อนจากแผนเดิมเปิดในวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพราะได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง และปีนี้ตั้งเป้าหมายเปิดร้านแฟรนไชส์รวม 30 แห่ง เน้นภาคใต้ทั้งหมด เนื่องจากเป็นภาคที่มีกำลังซื้อ เศรษฐกิจขยายตัวดี จากนั้นจะขยายรูปแบบสาขาแฟรนไชส์ไปยังภาคอีสานและเหนือต่อไป พร้อมกันนี้ยังได้ปรับเงินลงทุน คีออส พื้นที่เฉลี่ย 15-20 ตารางเมตร (ตร.ม.) ต่อสาขา ใช้เงินลงทุน 1.8 ล้านบาท จากเดิมที่ใช้เงินลงทุนประมาณ 2.3 ล้านบาท เพื่อให้เปิดสาขารูปแบบแฟรนไชส์ได้ง่ายขึ้น
นายสุพจน์กล่าวว่า สำหรับภาพรวมธุรกิจร้านอาหารประเภทไลท์ ฟู้ด (light Food) หรืออาหารทานเล่น ในช่วงที่ผ่านมายังคงมีการเติบโตที่ดี สวนกระแสธุรกิจประเภทอื่นๆ ทั้งนี้ สังเกตจากการเติบโตด้านยอดขายของแดรี่ ควีน ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมามีการเติบโตขึ้น 15-16% ขณะที่ยอดการใช้จ่ายต่อบิลของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจาก 31 บาท เป็น 33 บาท เป็นผลมาจากการเพิ่มเมนูในกลุ่มใหม่ๆ อาทิ ในกลุ่มของหวานและเครื่องดื่ม
Wednesday, July 28, 2010
HOMEPRO ยึดโคราชเปิดสาขา3รายได้ทะลุเป้า
เขย่าตลาดสินค้าและอุปกรณ์ตกแต่งบ้านโฮมโปรยึดทำเลตัวเมืองโคราช เปิดสาขาที่ 3 สิ้นเดือนนี้ ตั้งเป้าโกยรายได้ ปีละ 432 ล้าน เผยยอดขายสาขาเดอะมอลล์ และเขาใหญ่ ทะลุเป้าเกิน 30 ล้านทุกเดือน
นายณัฏฐ์ จริตชนะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มการตลาด บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือโฮมโปร เปิดเผยว่า โฮมโปร สาขานครราชสีมาแห่งใหม่ บริเวณถนนบายพาส ซึ่งเป็นสาขาที่ 3 ใน จ.นคราชสีมา และเป็นสาขาที่ 37 พร้อมจะเปิดเป็นทางการในวันที่ 31 ก.ค. นี้ ใช้งบประมาณ 450 ล้านบาท บนพื้นที่ 20 ไร่ เป็นพื้นที่ขายของโฮมโปรกว่า 7,900 ตารางเมตร
นอกจากมีสินค้าและบริการเกี่ยวกับบ้านที่ครบวงจรแล้ว ยังได้เพิ่มจุดให้บริการด้านศูนย์รวมภาพและเสียง "The Power" ด้วย และยังมีพื้นที่ร้านค้าให้เช่าอีก 7 ร้าน เช่น ซีเอ็ด บุ๊คเซ็นเตอร์ ร้านเฟอร์นิเจอร์ ร้านจำหน่ายอุปกรณ์ออกกำลังกาย ร้านอาหารนานาชาติ เป็นต้น รวมทั้งเพิ่มพื้นที่จอดรถได้มากกว่า 280 คัน
นางสาวอรพิน ศิริจิตเกษม ผู้จัดการทั่วไป สายพัฒนาการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ บริษัท โฮมโปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ให้เหตุผลถึงการเปิดสาขาแห่ง ที่ 3 ว่า เนื่องจากโคราชเป็นจังหวัดใหญ่และมีประชากรอาศัยอยู่จำนวนมาก เป็นศูนย์การค้าการลงทุนที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง อีกทั้งยังเป็นประตูทางผ่านไปยัง 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ความต้องการสินค้าและบริการเกี่ยวกับบ้านขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มลูกค้าหลักของโฮมโปร นครราชสีมา จะเป็นกลุ่มเจ้าของบ้านกว่า 80% ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มลูกค้าบ้านเก่า มากถึง 70% และบ้านใหม่ 30%
นอกจากนี้ ตลาดธุรกิจบ้านจัดสรรก็กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกลุ่มเขยฝรั่งถือเป็นแรงจูงใจที่ทำให้โฮมโปร ต้องเพิ่มจุดให้บริการ และเพิ่มความหลากหลายยิ่งขึ้น ซึ่งเห็นได้จากยอดขายสินค้าของ โฮมโปรที่สาขาเดอะมอลล์นครราชสีมา และสาขาเขาใหญ่ ที่อำเภอปากช่อง มียอดจำหน่ายทะลุเป้าทุกเดือน เดือนละมากกว่า 30 ล้านบาท ในวันเปิดให้บริการวันที่ 31 ก.ค.นี้ ตั้งเป้ายอดจำหน่ายวันแรกไว้ที่ 3.5 ล้านบาท และตั้งเป้าทั้งปีไว้ที่ 432 ล้านบาท หรือเดือนละ 36 ล้านบาท
ส่วนสถานการณ์ครึ่งปีหลังของธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการเกี่ยวกับบ้านและที่อยู่อาศัย ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มมากขึ้น แม้ก่อนหน้านี้มีการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยเฉพาะในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ความ ไม่สงบ แต่สินค้าที่เกี่ยวกับบ้านไม่ได้รับ ผลกระทบมากนัก เนื่องจากบ้านถือเป็นปัจจัย 4 ทำให้ตลาดเดินหน้าไปได้ดี
ในปีนี้โฮมโปรมีแผนขยายสาขาเพิ่มอีก 3 สาขา คือ สาขาลำลูกกา และสาขา ร่มเกล้า รวมถึงเตรียมแผนที่จะขยายสาขาไปยังจังหวัดนครศรีธรรมราชอีกด้วย
นายณัฏฐ์ จริตชนะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มการตลาด บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือโฮมโปร เปิดเผยว่า โฮมโปร สาขานครราชสีมาแห่งใหม่ บริเวณถนนบายพาส ซึ่งเป็นสาขาที่ 3 ใน จ.นคราชสีมา และเป็นสาขาที่ 37 พร้อมจะเปิดเป็นทางการในวันที่ 31 ก.ค. นี้ ใช้งบประมาณ 450 ล้านบาท บนพื้นที่ 20 ไร่ เป็นพื้นที่ขายของโฮมโปรกว่า 7,900 ตารางเมตร
นอกจากมีสินค้าและบริการเกี่ยวกับบ้านที่ครบวงจรแล้ว ยังได้เพิ่มจุดให้บริการด้านศูนย์รวมภาพและเสียง "The Power" ด้วย และยังมีพื้นที่ร้านค้าให้เช่าอีก 7 ร้าน เช่น ซีเอ็ด บุ๊คเซ็นเตอร์ ร้านเฟอร์นิเจอร์ ร้านจำหน่ายอุปกรณ์ออกกำลังกาย ร้านอาหารนานาชาติ เป็นต้น รวมทั้งเพิ่มพื้นที่จอดรถได้มากกว่า 280 คัน
นางสาวอรพิน ศิริจิตเกษม ผู้จัดการทั่วไป สายพัฒนาการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ บริษัท โฮมโปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ให้เหตุผลถึงการเปิดสาขาแห่ง ที่ 3 ว่า เนื่องจากโคราชเป็นจังหวัดใหญ่และมีประชากรอาศัยอยู่จำนวนมาก เป็นศูนย์การค้าการลงทุนที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง อีกทั้งยังเป็นประตูทางผ่านไปยัง 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ความต้องการสินค้าและบริการเกี่ยวกับบ้านขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มลูกค้าหลักของโฮมโปร นครราชสีมา จะเป็นกลุ่มเจ้าของบ้านกว่า 80% ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มลูกค้าบ้านเก่า มากถึง 70% และบ้านใหม่ 30%
นอกจากนี้ ตลาดธุรกิจบ้านจัดสรรก็กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกลุ่มเขยฝรั่งถือเป็นแรงจูงใจที่ทำให้โฮมโปร ต้องเพิ่มจุดให้บริการ และเพิ่มความหลากหลายยิ่งขึ้น ซึ่งเห็นได้จากยอดขายสินค้าของ โฮมโปรที่สาขาเดอะมอลล์นครราชสีมา และสาขาเขาใหญ่ ที่อำเภอปากช่อง มียอดจำหน่ายทะลุเป้าทุกเดือน เดือนละมากกว่า 30 ล้านบาท ในวันเปิดให้บริการวันที่ 31 ก.ค.นี้ ตั้งเป้ายอดจำหน่ายวันแรกไว้ที่ 3.5 ล้านบาท และตั้งเป้าทั้งปีไว้ที่ 432 ล้านบาท หรือเดือนละ 36 ล้านบาท
ส่วนสถานการณ์ครึ่งปีหลังของธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการเกี่ยวกับบ้านและที่อยู่อาศัย ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มมากขึ้น แม้ก่อนหน้านี้มีการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยเฉพาะในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ความ ไม่สงบ แต่สินค้าที่เกี่ยวกับบ้านไม่ได้รับ ผลกระทบมากนัก เนื่องจากบ้านถือเป็นปัจจัย 4 ทำให้ตลาดเดินหน้าไปได้ดี
ในปีนี้โฮมโปรมีแผนขยายสาขาเพิ่มอีก 3 สาขา คือ สาขาลำลูกกา และสาขา ร่มเกล้า รวมถึงเตรียมแผนที่จะขยายสาขาไปยังจังหวัดนครศรีธรรมราชอีกด้วย
Sunday, July 25, 2010
Berli Jucker keen to bid for Carrefour
Berli Jucker Plc is looking to bid for Carrefour's Thailand operations to help support its consumer products supply chain, according to BJC president Aswin Techajareonvikul.
BJC, 70% owned by Charoen Sirivadhanabhakdi's TCC Holding, has expanded rapidly in recent years through mergers and acquisitions. The company operates five core businesses: industrial supply chain, consumer goods, health care, technical services and international businesses.
"We are considering the [Carrefour] bid. It would certainly fit in with one of our current businesses, the consumer supply chain. Retailing is part of that supply chain," said Mr Aswin.
"Right now, we have a presence in the upstream side, such as potato farms for our potato chips, or cold-storage facilities. But what we lack is downstream, namely a distribution channel to consumers."BJC, one of the country's oldest firms at 128 years, produces and distributes thousands of products, including Tasto chips, Cellox facial tissues and Dozo and Campus snacks.
"[Retail] would be a new business. We would be newcomers and would have a lot to learn. But there is the potential to create long-term value for our company," said Mr Aswin.
He said BJC had contacted Carrefour about its interest, and was waiting for more details about the bidding process and timetable.
"Right now, the whole thing still is uncertain. There's a 50-50 possibility of winning," said Mr Aswin.
Carrefour earlier this month announced it may divest its operations in Malaysia, Singapore and Thailand in order to refocus on its core markets.
In Thailand, Carrefour operates 40 stores, including 39 hypermarkets. Besides BJC, other potential buyers are reported to include the retailers Tesco Lotus and Big C, as well as other regional retailers and private equity investors. Carrefour's sales in Thailand last year were estimated at $800 million.
Mr Aswin said BJC was studying whether it would submit a bid for only the Thai branches or look to bid for Carrefour's Singapore and Malaysian operations as well. The French retailer operates two stores in Singapore and 19 in Malaysia.
Analysts estimate that the Thai assets could be sold for 15 to 20 billion baht. Mr Aswin said BJC had a number of possible financing options for the deal, including a capital increase, bond issues or a bank loan.
A successful bid would nearly double the size of the company. BJC posted first-quarter profits of 515 million baht on revenues of 6.17 billion, and assets as of March stood at 22.8 billion baht. The company reported 2009 profits of 1.26 billion baht on revenues of 23 billion.
Mr Aswin noted that historical EBITDA (earnings before interest, taxes, depreciation and amortisation) was around 3-4 billion baht per year. For 2010, the company is targeting 10% revenue growth.
BJC, which this week completed the acquisition of Malaya Glass Products in Malaysia, is now the largest manufacturer and marketer of glass packaging in the region, with five manufacturing plants in Thailand, Vietnam and Malaysia and a combined production capacity of 3,300 tonnes per day.
The Malaya Glass acquisition was done through BJC O-I Glass, a 50-50 joint venture between BJC and Owens-Illinois, the world's largest glass packaging manufacturer.
The company is also in the process of concluding an acquisition of a trading company in Vietnam, is working on setting up a tissue paper manufacturing plant and considering investing in the Vietnamese snack business.
He said the company would continue to look for acquisition opportunities that offered an internal rate of return of 10% or more over funding costs and synergies with the firm's existing operations.
BJC shares closed yesterday on the SET at 18.10 baht, up 30 satang, in trade worth 377 million baht.
Monday, July 12, 2010
CARREFOUR ทิ้งไทย-มาเลย์-สิงคโปร์ ? ถอดโมเดล 3 ยักษ์ค้าปลีกบุกตลาดเอเชีย
กลายเป็นข่าวใหญ่ระดับโลก เมื่อสื่อต่างประเทศรายงาน ข่าวว่า "คาร์ฟูร์" ยักษ์ค้าปลีก อันดับ 2 ของโลกจากฝรั่งเศส กำลังเจรจาขายธุรกิจในไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ โดยว่าจ้างโกลด์แมน แซกส์ และยูบีเอส ให้ดำเนินการ
คาดกันว่าคาร์ฟูร์จะทำเงินได้ราว 1 พันล้านดอลลาร์ จากการขายธุรกิจ ครั้งนี้ โดยธุรกิจของคาร์ฟูร์ในไทยน่าจะมีมูลค่าราว 500-600 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ในมาเลเซียและสิงคโปร์น่าจะอยู่ที่ 350-400 ล้านดอลลาร์
ซึ่งเมื่อนับถึงสิ้นปี 2552 คาร์ฟูร์มี 40 สาขา ในไทยมี 22 สาขา ในมาเลเซีย และ 2 สาขาในสิงคโปร์
สื่อต่างประเทศรายงานข่าวนี้โดยอ้างแหล่งข่าววงใน ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่า มีความเป็นไปได้ โดยตีความจากคำพูด ของ "ลาร์ส โอลอฟสัน" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของคาร์ฟูร์ ที่ระบุก่อน หน้านี้ว่า บริษัทเปิดกว้างที่จะขายธุรกิจในตลาดที่ไม่ได้เป็นผู้นำในอันดับ 1 และ 2 ซึ่งทั้งไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ก็เข้าข่าย
แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน แม้ว่าคาร์ฟูร์ในมาเลเซียและสิงคโปร์ จะออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้มีแผนจะปิดสาขาใน 2 ประเทศนี้ ทว่าก็ไม่ได้ตอบคำถามในประเด็นเรื่องการขายธุรกิจ
หากคาร์ฟูร์ตัดสินใจถอนสมอจาก 3 ตลาดอาเซียนจริง ๆ ก็เป็นการตอกย้ำ ถึงการเดินเกมที่ไม่ประสบความสำเร็จในตลาดเอเชีย
หลังจากก่อนหน้านี้คาร์ฟูร์ ต้องโบกมือลาจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ในปี 2548 และ 2549 โดยขายไฮเปอร์มาร์เก็ต 8 สาขา ในญี่ปุ่นให้ค่ายอิออน กรุ๊ป และขายไฮเปอร์มาร์เก็ต 32 แห่ง ในเกาหลีใต้ให้กับอี-แลนด์ ซึ่งต่อมาก็ขายให้กับเทสโก้
สาเหตุที่ทำให้คาร์ฟูร์ต้องขายทิ้งกิจการในญี่ปุ่น หลังจากเข้าไปทำตลาด ตั้งแต่ปี 2543 เป็นเพราะคาร์ฟูร์ไม่เข้าใจตลาดญี่ปุ่นเพียงพอ เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคแดนซามูไรแตกต่างจากชาติเอเชียอื่น ๆ ทั้งที่ในวันเปิดตัวสาขาแรกมีชาวญี่ปุ่นยืนต่อแถวรออุดหนุนอย่างล้นหลาม
คาร์ฟูร์ไม่สามารถหาสูตรที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคญี่ปุ่นได้ เพราะคนญี่ปุ่นนิยมซื้อสินค้าที่ต้องการเพียงเล็กน้อย แต่จะซื้อทุก ๆ 2-3 วัน ซึ่งนี่เป็นโจทย์หินสำหรับยักษ์ค้าปลีกต่างชาติ ไม่เพียงแต่คาร์ฟูร์ แต่ยังรวมถึงวอล-มาร์ตด้วย และแม้คนญี่ปุ่นจะเริ่มนึกถึงเรื่อง ราคามากขึ้น แต่ก็ยังให้ความสำคัญ รองจากเรื่องคุณภาพ
นอกจากนี้คาร์ฟูร์ยังมีปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ อาทิ ติดฉลากผิดจนทำให้เนื้อหมูญี่ปุ่นเกรดต่ำกลายเป็นผลิตภัณฑ์จากอเมริกันที่ขายในราคาแพง ซึ่งสร้างความสับสนให้ลูกค้า รวมถึงขายของหมดอายุ ซึ่งเรื่องเล็ก ๆ เหล่านี้กลับบั่นทอนความรู้สึกและความเชื่อมั่นของชาวญี่ปุ่น และยังมีปัญหาในการเลือกทำเล เปิดสาขาใหม่ ๆ ซึ่งส่งผลกับโมเดลธุรกิจ ที่ต้องเร่งทำยอดขายให้ครอบคลุมต้นทุนและใช้การประหยัดจากขนาด (economies of scale) สำหรับเครือข่ายโลจิสติกส์ ทั้งยังไม่ลงรอยกับผู้ค้าส่งหลังจากบริษัทพยายามซื้อผลิตภัณฑ์โดยตรงจากผู้ผลิต
ขณะที่คู่แข่งทั้ง วอล-มาร์ต และ เทสโก้ ยังอยู่รอดในตลาดญี่ปุ่น เพราะใช้วิธีเทกโอเวอร์ธุรกิจค้าปลีกท้องถิ่นใน ญี่ปุ่นก่อน โดยเฉพาะเทสโก้ที่หันใช้โมเดลไซซ์เล็ก "เทสโก้ เอ็กซ์เพรส" ซึ่งทำให้ไม่ต้องเผชิญแรงต้านจากซูเปอร์มาร์เก็ตท้องถิ่น รวมถึงใช้เทคนิคการตลาดแบบแซนด์วิชวางสินค้าแบรนด์ ตัวเองประกบกับสินค้าที่ราคาแพง และถูกกว่า
ส่วนวอล-มาร์ตที่เข้าไปถือหุ้นใน ห้างสรรพสินค้า "เซยู" ก็ปรับระบบกระจายสินค้าใหม่ ปิดสาขาที่ไม่ทำกำไร ลดต้นทุน และใช้กลยุทธ์ราคาถูกทุกวัน จนประสบความสำเร็จ
สำหรับตลาดเกาหลีใต้ก็ปราบเซียน ไม่แพ้กัน เพราะไม่เพียงแต่คาร์ฟูร์ที่ต้องโบกมือลาหลังจากทำธุรกิจอยู่นาน 10 ปี กระทั่งเบอร์ 1 ของธุรกิจค้าปลีก "วอล-มาร์ต" ก็ต้องยอมถอย ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่า ทั้งวอล-มาร์ตและคาร์ฟูร์ต่างก็อ่านรสนิยมของลูกค้า ชาวเกาหลีผิดไปมาก จนนำไปสู่ความ ล้มเหลวจนต้องถอนตัวออกไป เพราะคนเกาหลีชอบบริการที่ดีมากกว่าเน้นสินค้าราคาถูก และห้างค้าปลีกท้องถิ่น ก็สามารถหยิบยื่นสิ่งที่ผู้คนต้องการได้ดีกว่าห้างค้าปลีกต่างชาติ
นอกจากนี้ทั้งวอล-มาร์ตและคาร์ฟูร์เข้าไปในตลาดเกาหลีเพียงลำพัง โดยไม่มีหุ้นส่วนท้องถิ่น
มีเพียงเทสโก้ที่ยังไปได้ดีในแดนกิมจิ เพราะไม่ได้พยายามยัดเยียดรูปแบบค้าปลีกสไตล์อังกฤษให้กับคนเกาหลี แต่ปรับให้เข้ากับท้องถิ่นแทน อาทิ การที่เทสโก้จ้างผู้จัดการในท้องถิ่นแทนที่จะนำเข้า ผู้เชี่ยวชาญจากอังกฤษ และเทสโก้ยัง เรียนรู้จากหุ้นส่วนท้องถิ่นในการสร้างสมดุลระหว่างรูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ตของตะวันตกกับวิถีค้าปลีกสไตล์เกาหลีที่เน้นบริการ
อีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่ทำให้เทสโก้ประสบความสำเร็จคือ การสร้างคุณค่าที่สอดคล้องกับรสนิยมชาวเกาหลี เช่น การที่เทสโก้นำเสนอผลไม้สดที่แปรรูป บางส่วน และนำไปรีแพ็กเกจให้พร้อม ปรุงหรือรับประทาน รวมถึงมีแผนก ของสดที่ขายอาหารเกาหลียอดนิยม และแผนกเนื้อสัตว์ที่ขายตามความต้องการของลูกค้า
ที่สำคัญเทสโก้ยังเป็นผู้นำนวัตกรรมและมีวัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนโดยผู้บริโภค โดยใช้คลับการ์ดในการเก็บข้อมูล ลูกค้า และนำไปสู่การปรับสิ่งต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นโมเดล ในการขยายสาขาไปจนถึงโปรโมชั่นที่ตอบโจทย์
อย่างไรก็ตามแม้คาร์ฟูร์จะถอดใจจากไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ แต่คาร์ฟูร์ ก็ไม่ได้ทอดทิ้งตลาดเอเชีย เพียงแต่จะโฟกัสเฉพาะตลาดขนาดใหญ่ที่เติบโต อย่างรวดเร็ว ได้แก่ จีนและอินเดีย โดยเฉพาะในจีน คาร์ฟูร์มีแผนเปิดไฮเปอร์มาร์เก็ต 22 แห่ง และดิสเคานต์สโตร์ 140 แห่ง
ทว่าความหวังที่จะสยายปีกในจีนและอินเดียก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะยังมีความ ท้าทายรออยู่เบื้องหน้า
สำหรับตลาดจีน "โกลบอล ไทม์ส" ระบุว่า คาร์ฟูร์ดูเหมือนจะกำลังถูกคุกคาม จากคู่แข่ง ถึงแม้ปีที่แล้วจะยังทำ ยอดขายโต 16% และเปิดสาขาใหม่ 22 แห่ง แต่ก็ถูกสั่นคลอนสถานะผู้นำทั้งในแง่จำนวนสาขาที่เปิดใหม่และรายได้ เมื่อเทียบกับวอล-มาร์ตที่เปิดสาขาใหม่ 50 แห่งในปีที่แล้ว
นักวิเคราะห์มองว่า การที่คาร์ฟูร์ สูญเสียส่วนแบ่งในตลาดจีนเป็นเพราะปัญหาในการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่น เกินไป โดยเปิดโอกาสให้ผู้จัดการแต่ละสาขามีอำนาจรับผิดชอบการจัดซื้อ ทำโปรโมชั่น และตั้งราคาสินค้าจนนำไปสู่การคอร์รัปชั่นตามมา รวมทั้งพึ่งพา ผลกำไรจากซัพพลายเออร์มากไป
กลยุทธ์การตลาดของคาร์ฟูร์ในจีน ก็มุ่งมั่นกับโมเดลไฮเปอร์มาร์เก็ตเป็นหลัก ขณะที่ยักษ์ค้าปลีกคู่แข่ง ทั้งวอล-มาร์ตและเทสโก้ประยุกต์ใช้ โมเดลธุรกิจอื่นๆ มาช่วย โดยเฉพาะ การเน้นไซซ์เล็กและการขยายสาขาในเมืองระดับรอง
ขณะที่ตลาดอินเดียก็ยังเปิดไม่เต็มที่ เพราะรัฐบาลต้องการคุ้มครองร้านค้าปลีกท้องถิ่น
Labels:
Aeon,
BJC,
Carrefour,
Divestment,
Global,
Mergers and acquisitions,
Strategy,
Tesco,
Walmart
Tuesday, July 6, 2010
3rd UPDATE: Leading Retailers Eye Carrefour SE Asia Assets - Sources
SINGAPORE (Dow Jones)--Leading supermarket chains are interested in the assets of French hypermarket Carrefour SA (CA.FR) in Singapore, Thailand and Malaysia, two people with direct knowledge of the deal said Tuesday.
"It's the big boys that are interested. Big C Supercenter PCL (BIGC.TH) and Tesco PLC (TSCO.LN) for the Thai assets; Tesco, Dairy Farm International Holdings Ltd.(D01.SG) and Japanese supermarkets for the Malaysia stores, and Tesco for Singapore," one of those people told Dow Jones Newswires.
A second person said if a single buyer emerges for all three countries "the deal will probably be wrapped up this year. If not, it could take a bit longer."A second person said if a single buyer emerges for all three countries "the deal will probably be wrapped up this year. If not, it could take a bit longer."
A third person said Monday that Carrefour was in the early stages of selling its stores in Thailand, Singapore and Malaysia and that if the sale goes through it could fetch the French retail giant up to US$1 billion.
Carrefour, Tesco, Dairy Farm and Big C all declined to comment.
A spokesman for Japanese supermarket AEON Co. Ltd (8267.TO)--which has bought the Japan assets of Carrefour--said he hasn't heard about any deal and had no further comment to make. An official from AEON's Malaysia unit declined to comment.
Carrefour Chief Executive Lars Olofsson in May said he was open to offers for the company's operations in markets where it isn't in the top two. Analysts have cited Thailand, Malaysia and Singapore as likely candidates.
Under Olofsson's direction, Carrefour has focused efforts on its key European markets of France, Spain, Italy and Belgium, where weak consumption is hurting business. France alone accounts for nearly half of the company's annual revenue.
-By P.R. Venkat and Costas Paris, Dow Jones Newswires; 65 6415 4151; costas.paris@dowjones.com
(Kenneth Maxwell and Jamie Miyazaki in Tokyo, Lee Kwan-Por in Kuala Lumpur, Phisanu Phromchanya in Bangkok, Kazuhiro Shimamura in Tokyo and Simon Zekaria in London contributed to this article.)
Carrefour Said to Seek Buyers for Three Southeast Asia Units
July 6 (Bloomberg) -- Carrefour SA, the world’s second- biggest retailer, plans to exit Singapore, Malaysia and Thailand, and is seeking offers for its operations in the Southeast Asian countries, said four people familiar with the matter.
Carrefour has approached potential buyers and may ask for bids by early September, said two of the people, who declined to be identified because the sale process isn’t public. The combined operations may fetch $800 million to $1 billion, they said. Florence Baranes-Cohen, spokeswoman for Paris-based Carrefour, declined to comment.
The retailer will consider selling the units separately as potential buyers may not be interested in bidding for all three combined, according to two of the people. Carrefour’s Thai business may have a value of $500 million to $600 million, while the Malaysian and Singapore operations may be valued at $350 million to $400 million, the people said. Carrefour plans to retain its units in China and Indonesia, they said.
“It’s a positive move, in line with what the company has been doing,” Fabio Fazzari, an analyst at Equita Sim in Milan, said by telephone. “The new management is more focused on non- capital intensive retail. What they’ve been seeking to do for about a year now is get rid of all underperforming assets.”
Tesco Plc, the U.K.’s largest supermarket chain, Japan’s Aeon Co., Hong Kong’s Dairy Farm International Holdings Ltd. and Thailand’s Big C Supercenter Pcl may be putting in a bid, three of the people familiar with the matter said. South Korea’s Lotte Group was earlier approached to make a bid, they said.
Aeon, Tesco, Lotte
Aeon spokesman Eiichi Yamatani declined to comment, saying Japan’s second-largest retailer is “checking the situation.” Zhuang Nanbin, vice president for corporate affairs at Tesco China, wouldn’t comment on “market rumors.”
Both Lancy Ng, spokeswoman for Singapore-listed Dairy Farm, and Pimwanich Poolkasem, head of investor relations at Big C, declined to comment in phone interviews today.
Lotte Group isn’t considering a purchase of Carrefour’s assets, Lee Byung Hee, a Seoul-based spokesman, said by phone.
Carrefour is “obliged” to listen to offers for its businesses in markets where leadership is unattainable, Chief Executive Officer Lars Olofsson told shareholders in May. Asia was Carrefour’s smallest market by sales in 2009, accounting for about 7.5 percent of the total, according to the company’s website. France was the biggest, generating 43 percent, followed by the rest of Europe at 36 percent.
Carrefour plans to open 22 hypermarkets and 140 discount stores in China this year, Olofsson said in May. The retailer also intends to add 13 stores in Indonesia, where it recently sold a 40 percent stake to Trans Corp., a unit of Para Group.
Carrefour this year agreed to sell 40 percent of its Indonesian business to Trans Corp., forming a strategic partnership in the country. It didn’t disclose the price.
The retailer may opt for a franchise model in India, and plans to open its first wholesale outlet in New Delhi in the next few months, Jean Noel Bironneau, managing director of operations in the South Asian nation, said in May.
--With assistance from Andrew Roberts in Paris, Anuchit Nguyen in Bangkok and Sungwoo Park in Seoul. Editors: Chitra Somayaji, Frank Longid
To contact the reporter on this story: Cathy Chan in Hong Kong at kchan14@bloomberg.net
To contact the editors responsible for this story: Philip Lagerkranser at lagerkranser@bloomberg.net; Frank Longid at flongid@bloomberg.net
Carrefour has approached potential buyers and may ask for bids by early September, said two of the people, who declined to be identified because the sale process isn’t public. The combined operations may fetch $800 million to $1 billion, they said. Florence Baranes-Cohen, spokeswoman for Paris-based Carrefour, declined to comment.
The retailer will consider selling the units separately as potential buyers may not be interested in bidding for all three combined, according to two of the people. Carrefour’s Thai business may have a value of $500 million to $600 million, while the Malaysian and Singapore operations may be valued at $350 million to $400 million, the people said. Carrefour plans to retain its units in China and Indonesia, they said.
“It’s a positive move, in line with what the company has been doing,” Fabio Fazzari, an analyst at Equita Sim in Milan, said by telephone. “The new management is more focused on non- capital intensive retail. What they’ve been seeking to do for about a year now is get rid of all underperforming assets.”
Tesco Plc, the U.K.’s largest supermarket chain, Japan’s Aeon Co., Hong Kong’s Dairy Farm International Holdings Ltd. and Thailand’s Big C Supercenter Pcl may be putting in a bid, three of the people familiar with the matter said. South Korea’s Lotte Group was earlier approached to make a bid, they said.
Aeon, Tesco, Lotte
Aeon spokesman Eiichi Yamatani declined to comment, saying Japan’s second-largest retailer is “checking the situation.” Zhuang Nanbin, vice president for corporate affairs at Tesco China, wouldn’t comment on “market rumors.”
Both Lancy Ng, spokeswoman for Singapore-listed Dairy Farm, and Pimwanich Poolkasem, head of investor relations at Big C, declined to comment in phone interviews today.
Lotte Group isn’t considering a purchase of Carrefour’s assets, Lee Byung Hee, a Seoul-based spokesman, said by phone.
Carrefour is “obliged” to listen to offers for its businesses in markets where leadership is unattainable, Chief Executive Officer Lars Olofsson told shareholders in May. Asia was Carrefour’s smallest market by sales in 2009, accounting for about 7.5 percent of the total, according to the company’s website. France was the biggest, generating 43 percent, followed by the rest of Europe at 36 percent.
Carrefour plans to open 22 hypermarkets and 140 discount stores in China this year, Olofsson said in May. The retailer also intends to add 13 stores in Indonesia, where it recently sold a 40 percent stake to Trans Corp., a unit of Para Group.
Carrefour this year agreed to sell 40 percent of its Indonesian business to Trans Corp., forming a strategic partnership in the country. It didn’t disclose the price.
The retailer may opt for a franchise model in India, and plans to open its first wholesale outlet in New Delhi in the next few months, Jean Noel Bironneau, managing director of operations in the South Asian nation, said in May.
--With assistance from Andrew Roberts in Paris, Anuchit Nguyen in Bangkok and Sungwoo Park in Seoul. Editors: Chitra Somayaji, Frank Longid
To contact the reporter on this story: Cathy Chan in Hong Kong at kchan14@bloomberg.net
To contact the editors responsible for this story: Philip Lagerkranser at lagerkranser@bloomberg.net; Frank Longid at flongid@bloomberg.net
Subscribe to:
Posts (Atom)