Pages

Friday, September 25, 2009

Carrefour Promotes iWish as Loyalty Pragram


Prapaphan



CenCar Co, the local operator of Carrefour hypermarkets, is stepping up its customer loyalty and retention programmes to better compete with rivals Tesco Lotus and Big C.





CenCar merchandising director Prapaphan Ploysaengngam (centre), announces more promotions for ‘I Wish’ cardholders yesterday.



The launch of membership cards by major retail players has intensified in recent years.



Central Retail Corporation pioneered the innovation locally with the introduction of by Tops Supermarket's Spot Rewards in June 2004 followed by The 1 Card for the other CRC brands in 2006 ago.



Carrefour introduced its I Wish card in 2007. The Mall Group started its M Card loyalty programme earlier this year. A few months later Tesco Lotus and Big C Supercenter introduced the Club Card and Big Card, respectively.

Currently, CenCar has 1.6 million I Wish cardholders and expects the figure to rise to 2 million members by the year-end. Of the 1.6 million members, about 60% are active and spend an average 800 baht per shopping trip.


CenCar initially planned to spend 140-150 million baht to promote sales in the fourth quarter, said merchandising director Prapaphan Ploysaengngam. But, almost one-third of the budget, or 50 million baht, will now be allocated to the Carrefour Month 2009 campaign which runs from tomorrow until Oct 29.



The promotion offers I Wish cardholders discounts between 3% to 100% on their next purchase at 37 stores nationwide.



Apart from giving discounts, all vendors at Carrefour shopping centres will for the first time join a campaign and offer giveaways and promotional items to shoppers. "It is difficult to draw new customers to shop at our stores and it is more difficult to retain our existing customers particularly when the economy is weak," Ms Prapaphan said.



With the new campaign, CenCar expects to boost the number of loyal customers to 70%, up from current 60%.


For its expansion plan, the company will officially open its 37th Carrefour branch in Lop Buri today. Two outlets will be opened in Lam Luk Ka, Pathum Thani next month and in Chumphon province in December, increasing the total store count to 39 by the year-end.

Combined, the three new stores will cost 1.5 billion baht and hire 600 new jobs. Each outlet has 6,000 square metres of retail space.







Reblog this post [with Zemanta]

Monday, September 21, 2009

7Eleven Focus as Food Convenient


7/11ปูพรมสาขาแฟรนไชส์-ชูภาพ"ร้านอิ่มสะดวก"ดึงลูกค้า


"เซเว่นอีเลฟเว่น" ปรับยุทธศาสตร์เพิ่มน้ำหนักดึงเถ้าแก่หน้าใหม่เปิดแฟรนไชส์ ช่วยเพิ่มความคล่องตัว-ลดภาระการลงทุน มีเวลาทำหน้าที่สร้างประสิทธิภาพด้านยอดขายและกำไรมากขึ้น พร้อมโฟกัสภาพลักษณ์ "ร้านอิ่มสะดวก" แทนร้านสะดวกซื้อ เผยหลังทยอยปรับโพซิชันนิ่ง ตัวเลขวิ่งฉิว


นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการผู้จัดการ ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านเซเว่นอีเลฟเว่น กล่าวว่า จากนี้ไปบริษัทจะให้ความสำคัญกับการเพิ่มสาขาแฟรนไชส์มากขึ้น จากปัจจุบัน เซเว่นฯมีร้านแฟรนไชส์อยู่ 2,344 สาขา หรือ 45% และจะเพิ่มเป็น 46% ภายในสิ้นปี จากทั้งหมด 5,000 สาขา วางแผนภายใน 5 ปี สัดส่วนร้านแฟรนไชส์จะมีประมาณ 60% ส่วนอีก 40% ที่เหลือเป็นการลงทุนเองของบริษัท หรือเฉลี่ยมีแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นปีละ 3%

ที่ผ่านมา เซเว่นฯได้ปรับเงื่อนไขการเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ให้ง่ายขึ้น ทั้งการเพิ่ม รูปแบบการลงทุนที่มี 2 โมเดล คือลงทุน 500,000 บาท ระยะเวลาอนุญาตให้ดำเนินการร้าน 6 ปี กับลงทุน 1.7 ล้านบาท ระยะเวลาอนุญาต 10 ปี หรือแม้กระทั่งการการันตียอดขายด้วยการให้ผู้สนใจลงทุนเลือกซื้อแฟรนไชส์จากสาขาที่ประสบความสำเร็จแล้ว โดยไม่ต้องมีทำเลมาเสนอ



อย่างไรก็ตาม การเพิ่มจำนวนแฟรนไชส์ บริษัทจะเน้นนักธุรกิจรายใหม่มากกว่าแฟรนไชซีเดิม จึงมีกฎเข้มงวดสำหรับ แฟรนไชซีเดิมที่อยากซื้อแฟรนไชส์เพิ่ม ต้องทำมาตรฐานร้านเดิมให้เข้าเกณฑ์สูงถึง 90% ทั้งนี้ บริษัทต้องการสร้างนักธุรกิจ รุ่นใหม่ๆ มากกว่า

"ข้อดีของการมุ่งขยายแฟรนไชส์ หลักๆ ทำให้การทำงานของบริษัทคล่องตัวขึ้น เพราะแฟรนไชซีจะเป็นผู้บริหารจัดการร้านแทนบริษัท ขณะเดียวกัน บริษัทจะสามารถให้เวลากับการสร้างประสิทธิภาพด้าน ยอดขายและกำไรต่อสาขาได้อย่างเต็มที่"



7 Eleven



นายปิยะวัฒน์กล่าวว่า พร้อมกันนี้ เซเว่นฯก็จะปรับภาพลักษณ์จากร้านสะดวกซื้อเป็นร้านอิ่มสะดวกควบคู่ไปด้วย เริ่มจากการถอดรายการสินค้าของใช้ทั่วไปออกจากร้านนับพันรายการ เพื่อนำเสนอสินค้าอาหารเพิ่มเข้ามา โดยเฉพาะชิลล์ฟู้ด เบเกอรี่ และเครื่องดื่ม จากที่ก่อนหน้านี้มีสัดส่วนอาหาร 70% ของใช้ทั่วไป 30% ก็ปรับเป็นอาหาร 80% ของใช้ทั่วไป 20% และภายใน 3 ปี จะปรับเป็น 85 : 15 รวมถึงการเพิ่มธุรกิจใหม่ๆ ในร้าน ปัจจุบันมีร้านอิ่มสะดวกเต็มรูปแบบ 200-300 สาขา ในกรุงเทพฯและปริมณฑล บางสาขาที่ไม่มีชิลล์ฟู้ด ก็จะมีเบเกอรี่นำร่องไปก่อน

การที่บริษัทปรับมาเป็นร้านอิ่มสะดวก เพราะการขายสินค้าทั่วไปจะไม่ฉีกจากร้านมินิมาร์ตและโชห่วย นอกจากนี้ บริษัทในเครือยังมีความชำนาญเรื่องอาหาร จึงสามารถซัพพอร์ตสินค้าในร้านได้เต็มที่ และที่สำคัญ สินค้ากลุ่มอาหารมีมาร์จิ้นสูงถึง 30% ขณะที่ของใช้ทั่วไปมีมาร์จิ้นเพียง 10%

"อาหารยังเป็นสินค้าที่ขายออกง่ายกว่า เพราะลูกค้าสามารถเข้ามาซื้อได้ 3 มื้อต่อวัน ไหนจะมื้อทานเล่นที่มีไม่จำกัด ตรงข้ามกับของใช้ทั่วไปที่ใช้เวลานานกว่าจะขายหมด บางสินค้าใช้เวลานานสุดถึง 7 เดือน"



นายปิยะวัฒน์กล่าวต่อไปว่า หลังจากเริ่มปรับภาพลักษณ์มาเป็นร้านสะดวกอิ่มตั้งแต่ต้นปี ทำให้ 8 เดือนที่ผ่านมา บริษัทสามารถเติบโตได้ตามเป้าที่ตั้งไว้คือ 5% และสินค้าอาหารก็ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้า โดยเฉพาะแบรนด์อีซี่โก ซึ่งมียอดขายสาขาละ 15 แพ็กต่อวัน หรือมากกว่า 2 ล้านแพ็กต่อเดือน


Reblog this post [with Zemanta]

JIFFY PARTNERING WITH TOPS


jiffy



เมื่อใหญ่มาเจอกับใหญ่ จึงไม่แปลกที่สูตรการตลาดใหม่ๆ ย่อมเกิดขึ้น กลางสัปดาห์ที่ผ่านมา "ปตท." เซ็นสัญญากับ "เซ็นทรัลรีเทล" หรือซีอาร์ซี สำหรับการเข้ามาช่วยดูแลการจัดซื้อสินค้าให้ร้านจิฟฟี่ 146 สาขาทั่วประเทศ

เป็นการเซ็นสัญญา 3 ปี โดยเซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล 1 ในหน่วยธุรกิจหลักของซีอาร์ซี ผู้บริหารร้านท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ตและเซ็นทรัลฟู้ดฮอลล์ จะเป็นผู้รับผิดชอบดูแลสินค้าให้กับร้านจิฟฟี่

"ทศ จิราธิวัฒน์" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ระบุว่า รูปแบบการขยายธุรกิจในอนาคตของเซ็นทรัลรีเทลไม่จำเป็นที่จะต้องขยายด้วยตัวเองเท่านั้น การร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ในธุรกิจต่างๆ จะเห็นภาพที่ชัดและมากขึ้น กลยุทธ์ของบริษัทจะ open & flexible มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระดับธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่ ซีอาร์ซีพร้อมคุยหมด




สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ระหว่างเซ็นทรัลรีเทล ผู้นำในธุรกิจค้าปลีก และ ปตท. บริษัทอันดับหนึ่งของประเทศ

"ทศ" ชี้ว่า ย่อมแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการขยายธุรกิจทั้ง 2 ฝ่าย เป็นกลยุทธ์ที่วิน-วินทั้งคู่

โดยจิฟฟี่มีความแข็งแกร่งของแบรนด์ที่สูงมาก เช่นเดียวกับท็อปส์ ที่มีภาพของซูเปอร์มาร์เก็ต



โดยที่ท็อปส์จะทำหน้าที่เป็นหลังบ้านให้จิฟฟี่ ด้วยการใช้ความเชี่ยวชาญในการบริหารและจัดซื้อสินค้าและโครงสร้างทั้งระบบขนส่งและคลังสินค้าผ่านท็อปส์ทั้ง 117 สาขา ซึ่งจะสร้างความมั่นใจให้กับจิฟฟี่ว่าสามารถวางสินค้าใหม่ได้เร็วและทันกับความต้องการของตลาด เป็น "first in market" การทำธุรกิจที่ดีและจะสำเร็จได้นั้นทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านต้องดีและไปด้วยกัน

จะว่าไปแล้วความร่วมมือครั้งนี้เป็นเหมือนการกลับมาร่วมงานกันอีกครั้งของกลุ่มธุรกิจค้าปลีกของ ปตท.และเซ็นทรัล เพราะก่อนหน้านี้เซ็นทรัลเคยเข้ามาบริหารจัดซื้อสินค้าให้กับจิฟฟี่ก่อนที่กลุ่มโคโนโค (ผู้ถือหุ้นเดิมปั๊มน้ำมันเจ็ท) ได้เปลี่ยนให้กลุ่มสตาร์มาร์ทมาบริหาร และเมื่อ ปตท.ซื้อกิจการปั๊มน้ำมันเจ็ท ปตท.ก็วางใจให้ซีอาร์ซีบริหารการจัดซื้อสินค้าให้อีกครั้ง

"ดร.กฤษณะพล โกมลบุณย์" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด กล่าวว่า การร่วมมือในครั้งนี้เป็น เพียงจุดเริ่มต้นสำหรับการทำธุรกิจร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย นอกจากให้ท็อปส์เข้ามา บริหารสินค้าร้านจิฟฟี่ในกลุ่มสินค้าทั่วไปสัดส่วน 60% ในอนาคตสัดส่วน 40% ที่เป็นกลุ่มอาหารสดอาจให้สิทธิ์กลุ่ม เซ็นทรัลด้วย จากปัจจุบันที่จิฟฟี่สั่งตรงจากซัพพลายเออร์



ส่วนโปรเจ็กต์ที่จะทำร่วมกับกลุ่มเซ็นทรัลต่อจากนี้คือการดึงสินค้าแฟชั่น แบรนด์เนมของกลุ่มซีเอ็มจีเข้ามาเปิดช็อปในปั๊ม ปตท. โดยจะเริ่มนำร่องในโมเดลใหม่ "แพลตินั่ม" ของ ปตท.สาขาแก่งคอย (ทาง ไปปากช่อง) ก่อนที่จะขยายในปั๊ม ปตท. อื่นๆ ตามหัวเมืองและจุดท่องเที่ยวร่วมกัน

การดึงคู่ค้ารายใหม่ๆ หรือการตลาดในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น สอดคล้องกับนโยบายของกลุ่มค้าปลีก ปตท.ที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนรายได้ในกลุ่มน็อนออยล์มากขึ้น เพื่อเสริมจากรายได้น้ำมันที่ค่อนข้างทรงตัว

"ที่ผ่านมาเรากำลังสร้างทีมรีเทลให้แข็งแกร่ง ดึงคนที่มีศักยภาพจากค้าปลีกต่างๆ มาร่วมงานกัน เพื่อเตรียมรับมือกับการแข่งขัน ซึ่งทั้งสินค้า โปรโมชั่นส่งเสริมการขาย เราต้องเร็วและสู้คนอื่นให้ได้"



ส่วนประเด็นที่ว่าปั๊ม ปตท.ทั่วประเทศกว่า 1.2 พันแห่งที่มีร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นเปิดอยู่นั้น จะเปลี่ยนเป็น จิฟฟี่ทั้งหมดด้วยหรือไม่ "ดร.กฤษณะพล" ชี้ว่ายังบอกไม่ได้ เพราะบริษัท ปตท.บริหาร ธุรกิจค้าปลีก เป็นบริษัทลูกที่ทำหน้าที่เสมือนดีลเลอร์บริหารเฉพาะปั๊ม ปตท.ที่เป็นเจ็ทเดิม 146 สาขาเท่านั้น ส่วนปั๊ม ปตท.ที่เหลือบริหารโดย ปตท.บริษัทแม่ ซึ่งให้สิทธิ์เซเว่นอีเลฟเว่นเปิดร้านสะดวกซื้อ และยังเหลือเวลาอีก 4 ปีที่จะหมดสัญญา และกว่าจะถึงวันนั้นค่อยมาว่ากันอีกที

แต่ภาพที่จะได้เห็นมากขึ้นหลังจากนี้ของกลุ่มค้าปลีก ปตท. คือ ก้าวเข้าสู่การแข่งขันธุรกิจค้าปลีกอย่างเต็มตัว ด้วยการเตรียมขยายร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ออกนอกปั๊มน้ำมัน ปตท.เป็นครั้งแรก โดยจะยกระดับให้เป็น รูปแบบร้านพรีเมี่ยมและคัดเลือกสินค้าเฉพาะเท่านั้น

เป็นโมเดลร้านแบบใหม่ที่ไม่เหมือนกับจิฟฟี่ หรือจิฟฟี่เอ็กซ์เพรสทั้ง 146 สาขา และจะเห็นสาขาแรกที่ตึก "Energy Complex" บนพื้นที่ขนาด 125 ตร.ม.

ภาพความเคลื่อนไหวของกลุ่มธุรกิจ 2 รายใหญ่ที่ผนึกกำลังด้วยกลยุทธ์วิน-วิน ย่อมส่งสัญญาณให้กับกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ว่าต้องปรับตัวและรับมือสู้กับโลกการแข่งขันที่ดุเดือดต่อจากนี้ไป



Reblog this post [with Zemanta]

Monday, September 14, 2009

MK Suki Launches Small Size

MK Suki at Siam SquareImage via Wikipedia


เอ็มเคสุกี้เล็งเปิดสาขาไซซ์เล็ก

นายสมชาย หาญจิตต์เกษม รองกรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจสาขา บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ จำกัด กล่าวว่า ในปี 2553 บริษัทวางแผนเปิดสาขาใหม่ 20 สาขา ในรูปแบบร้านขนาดเล็ก 25-30 โต๊ะ ใช้งบประมาณร้านละ 7-8 ล้านบาท ขณะที่ภาพรวมของเอ็มเคปัจจุบัน รักษาการเติบโตไว้ได้ 8-10% จากการขยายสาขาใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ควบคู่แผนการสื่อสารการตลาดเชิงรุก เพื่อย้ำภาพลักษณ์ร้านอาหารของครอบครัวและกลุ่มเพื่อน รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ และได้ใช้งบประมาณลงทุน 20 ล้านบาท สำหรับทำหนังโฆษณาชุดใหม่ตอกย้ำแนวคิดที่ว่า อยากให้คนไทยมีสุขภาพดี พร้อมทั้งเตรียมขยายธุรกิจร้านอาหารที่มีโอกาสและเหมาะกับความชำนาญของบริษัท ทั้งในประเทศและต่างประเทศ


นายสมชายกล่าวต่อไปว่า สำหรับปีนี้เอ็มเคตั้งเป้าหมายยอดขายตลอดทั้งปีเติบโต 5% หรือประมาณ 8,800 ล้านบาท นอกจากนี้ล่าสุดในโอกาสครบ 300 สาขา เอ็มเคได้จัดแคมเปญภายใต้แนวคิด มีชีวิตชีวาขึ้นเสมอที่เอ็มเค ประกอบด้วยกิจกรรมอิ่มท้อง ลุ้นอิ่มทอง ให้ลูกค้าลุ้นรับของรางวัลทุกๆ เดือน



Reblog this post [with Zemanta]

Mc Donalds Launches M Park

Ronald McDonaldImage via Wikipedia


แมคโดนัลด์พลิกโฉมฟาสต์ฟู้ดเตรียมเผยโฉม "เอ็มพาร์ค" ซูเปอร์คอนวี่เนียนแห่งแรก พ.ย.นี้ หวังตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์แบรนด์ "แมคโดนัลด์" ให้แข็งแกร่ง ตั้งเป้าปีละ 1-2 โครงการ พร้อมเดินหน้าสร้าง strong community ผ่านกีฬา-กิจกรรมสังคม เดินหน้าปั้นเฮลตี้ไลฟ์สไตล์ ตั้งเป้าแบรนด์ในดวงใจอีก 3 ปี


แมคโดนัลด์แบรนด์อาหารจานด่วน หรือ QSR (quick service restaurant) ยักษ์ใหญ่ระดับโลก ถึงวันนี้เรียกว่ามีการเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ หลังเข้ามาอยู่ภายใต้การบริหารของ "วิชา พูลวรลักษณ์" เครือเมเจอร์ เจ้าพ่อไลฟ์สไตล์ในยุคนี้ ซึ่งทำให้แมคโดนัลด์ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้มีการเติม "ไลฟ์สไตล์" ใหม่ๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ด้วยจุดยืนทั้งเรื่องความสะดวกที่ให้กับผู้บริโภค และไลฟ์สไตล์ที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ควบคู่กันไป




ไทยขึ้นแท่นเทรนด์เซตเตอร์เอเชีย

เฮสเตอร์ ชิว ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมคไทย จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากการดำเนินการมา 3 ปี ปัจจุบันแมคโดนัลด์ ประเทศไทยถือเป็นผู้นำเทรนด์ (trend setter) ให้กับแมคโดนัลด์ในเอเชีย ซึ่งที่ผ่านมาจากการประชุมกับแมคโดนัลด์ในโซนอาเซียน, จีน และตะวันออกกลาง ประเทศไทยก็ได้รับเลือกให้เป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับ development strategy ให้กับแมคโดนัลด์ในเอเชีย

อาทิ การทำ care mobile หน่วยบริการตรวจสายตาและสุขภาพเคลื่อนที่ มูลนิธิโรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ ตระเวนไปตามสถานที่ต่างๆ หรือแมคคาเฟ่ ที่ประสบความสำเร็จมากและสามารถเปิดได้อย่างรวดเร็วจนถึงปัจจุบัน 48 สาขา เพียงปีแรกสามารถเปิดได้ถึง 17 สาขา ขณะที่ประเทศอื่นๆ อาทิ สิงคโปร์ต้องใช้เวลาถึง 5 ปีในการเปิด 33 สาขา ที่สำคัญสามารถพลิกโฉมอิมเมจของแมคโดนัลด์ จากเพียง QSR สู่ความเป็นไลฟ์สไตล์แบรนด์ รวมถึงการตกแต่งที่แตกต่าง ฯลฯ

"ปัจจุบันแมคโดนัลด์อื่นๆ ในเอเชียต้องมาดูงานที่เราว่าทำได้อย่างไรใน 3 ปี มาจากการเชื่อในระบบที่เราสร้างมาอย่างดี ปัจจุบันแมคฯในไทยเป็นผู้นำในเรื่องการพัฒนาคอนเซ็ปต์ใหม่ๆ รวมถึงแนวคิดการลดต้นทุน"



ผุด "เอ็มพาร์ค" ตอบโจทย์

ไลฟ์สไตล์แบรนด์

นายเฮสเตอร์กล่าวอีกว่า เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์แบรนด์มากขึ้น ในเดือนพฤศจิกายนนี้จะเปิดตัว "เอ็มพาร์ค" อย่างเป็นทางการในย่านคลอง 3 นครนายก บนพื้นที่ 2 ไร่ครึ่ง ถือเป็นการพลิกบทบาทจาก QSR สู่การเป็นผู้พัฒนาพื้นที่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปรายละเอียดต่างๆ ให้ลงตัว คาดว่าจะเป็น business impact ได้เป็นอย่างดี โดยจะเหมาะกับทำเลที่มีหมู่บ้านตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก

รูปแบบจะเป็น super convenience โดยร้านค้าอื่นๆ ที่เข้ามาเปิดจะตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่เร่งรีบในแต่ละวัน (daily use) ถือเป็นคอนวี่เนียนแม็กเนต อย่างไรก็ตาม รูปแบบดังกล่าวจะไม่ซ้ำซ้อนกับคอนเซ็ปต์ของสยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเมนท์ (เอสเอฟ) ซึ่งเป็นมอลล์ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมืองอย่างชัดเจน

"เราคิดว่าทำได้ อยากจะลองดู แต่ไม่ได้หมายความว่าแมคโดนัลด์เปลี่ยนกลยุทธ์ "เอ็มพาร์ค" เป็นการซัพพอร์ตแบรนดิ้งให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น วันนี้แมคโดนัลด์ยังเป็น QSR เหมือนเดิม และคอนเซ็ปต์จากนี้ที่เราจะเน้นเปิดไม่ใช่เอ็มพาร์คต่อปี คาดว่าจะเปิดเพียง 1-2 แห่ง แต่สิ่งที่เน้นคือคอนเซ็ปต์ไดรฟ์ทรูที่ตั้งเป้าเปิดที่ 7-8 สาขาต่อปี"



ลุยสาขา "สแตนด์อะโลน" บิวต์แบรนด์

สำหรับทิศทางการขยายสาขาของแมคโดนัลด์ จากนี้จะเน้นไปที่สแตนด์อะโลน นั่นคือสาขาที่ให้บริการไดรฟ์ทรูเป็นหลัก ซึ่งจะใช้พื้นที่อย่างน้อย 1 ไร่ ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 18 สาขา โดยตั้งเป้าในอีก 5 ปีแมคโดนัลด์จะเปิดสาขาอีก 80-90 สาขา และ 50% จะเป็นรูปแบบไดรฟ์ทรู จากปัจจุบันแมคโดนัลด์มีทั้งสิ้น 120 สาขา จะเพิ่มอีก 8-9 สาขาภายในสิ้นปีนี้

"กลยุทธ์ของเราไม่ได้เน้นที่ต้องมีสาขาจำนวนมาก เข้าไปทุกทำเล หรือต้องย่อไซซ์ร้านเพื่อบุกต่างจังหวัด แต่เน้นทำเลที่ดีที่ตอบโจทย์ได้อย่างแท้จริง ผมเชื่อว่าธุรกิจ QSR สามารถทำร้านให้สวยได้ ทำให้เกิดฟิลลิ่งได้ เราจะสร้างร้านให้เป็นเหมือนบิลบอร์ดที่โฆษณาแบรนด์แมคโดนัลด์ไปในตัวตลอด 24 ชั่วโมง"

ทั้งนี้ มองว่าธุรกิจร้านอาหารไม่ใช่ ฟังก์ชั่นนอลอย่างเดียว แต่ต้องเติมเรื่องอื่นๆ เข้าไปด้วย ซึ่งเป้าหมายแมคโดนัลด์ต้องการเป็น lifestyle destination ที่ผ่านมาจึงมีการทยอยปรับโฉมสาขาใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องไปแล้วถึง 70%



เดินหน้าสร้าง "เฮลตี้ไลฟ์สไตล์"

ซีอีโอแมคโดนัลด์กล่าวอีกว่า ในส่วนของการตลาดด้วยการเป็นไลฟ์สไตล์แบรนด์ ทำให้กิจกรรมต่างๆ ของแมคโดนัลด์จะลิงก์กับไลฟ์สไตล์ต่างๆ ของคนรุ่นใหม่ภายใน 3 ปี สิ่งที่แมคโดนัลด์เมืองไทยจะมุ่งไปจากนี้คือสร้าง strong community image โดยมุ่งไปที่ 2 กิจกรรมหลัก กิจกรรมเพื่อสังคมและกีฬา ซึ่งทั้งคู่สามารถเข้าถึงคนได้มหาศาล

โดยเฉพาะกิจกรรมด้านกีฬาที่ยังตอบโจทย์ความเป็น "เฮลตี้ไลฟ์สไตล์" ของแมคโดนัลด์ ซึ่งต้องการสร้างให้เกิดขึ้นอย่างชัดเจนจากนี้ โดยในวันที่ 5 ตุลาคมนี้จะเปิดตัวกิจกรรมใหญ่ที่เกี่ยวกับกีฬา จากที่ผ่านมามีกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวบ้าง อาทิ วิ่งมาราธอน หรือโครงการ WOW Police... ตำรวจฟิต พิชิตไขมัน ฯลฯ

"นโยบายบริษัทแม่เห็นชัดในเรื่องการสนับสนุนด้านกีฬาที่เป็นสปอนเซอร์ให้กับโอลิมปิก และปีหน้ากับเวิรลด์คัพ ซึ่งแมคโดนัลด์ในแต่ละประเทศก็จะนำไป ประยุกต์กิจกรรมด้านกีฬาที่ตอบโจทย์ในประเทศนั้นๆ"

นายเฮสเตอร์กล่าวถึงเป้าหมายในอีก 3 ปีข้างหน้า ว่า แมคโดนัลด์ต้องการเป็น แบรนด์ที่ผู้บริโภคชื่นชอบ หรือ brand for me สามารถตอบโจทย์คนทุกเพศทุกวัย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนทางรายได้และกำไรไม่ได้ตั้งเป้าเป็นแบรนด์ที่มีสาขามากที่สุด เพราะปัจจุบันเคเอฟซีถือเป็นผู้นำด้านนี้ แต่ตั้งเป้าเป็นแบรนด์ที่มีการเติบโตสูงกว่าผู้นำ คือ เคเอฟซีในทุกปี ที่สำคัญคือโตมากกว่าตลาด



Reblog this post [with Zemanta]

วัดกำลังค้าปลีก "ชานเมือง" ขาใหญ่เดินหน้า...ลงทุนไม่อั้น

Seri CenterImage via Wikipedia


เม็ดเงินสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจและกระตุ้นกำลังซื้อใช่ว่าจะกระจุกตัวอยู่แต่กลางเมืองและย่านธุรกิจเท่านั้น ภาพเด่นชัดของการลงทุนศูนย์การค้าใหม่ๆ ขนาดใหญ่ตามแนวชานเมืองรอบนอกที่คึกคักและต่อเนื่องตลอดช่วง 1-2 ปีท่ามกลางภาวะการลงทุน ที่ซบเซาตามภาวะเศรษฐกิจโลกเป็นตัวสะท้อนถึงความไม่หยุดนิ่งของตลาดค้าปลีกได้เป็นอย่างดี

ทุกค่ายในวงการค้าปลีกต่างเคลื่อนทัพเข้าไปจับจองและลงทุนพื้นที่รอบนอกกรุงเทพฯแล้วทั้งนั้น อาทิ ไล่เรียงมาตั้งแต่แจ้งวัฒนะ งามวงศ์วาน ที่เป็นการประชันศึกศักดิ์ศรีของเดอะมอลล์เจ้าถิ่นและกลุ่มเซ็นทรัล ราชพฤกษ์ พระราม 5 มีโฮมโปรชนโฮมเวิร์ค, บางนาที่กลุ่มสยามฟิวเจอร์ลงทุนเตรียมเปิดโครงการขนาดใหญ่ "เมกะบางนา", ย่านรามอินทราที่มี 1 เดียวของศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ลงทุน 600 ล้านบาทปรับโฉมครั้งใหญ่ในรอบ 13 ปีตั้งแต่ทำธุรกิจมา

แต่ที่ขาดไม่ได้คือพื้นที่ย่านกรุงเทพฯตะวันออกตลอดเส้น "ศรีนครินทร์" ที่นักพัฒนาธุรกิจค้าปลีกแต่ละค่ายไม่ยอมตกขบวนด้วยถนนในรัศมี 10-15 กิโลเมตร

ตลอดเส้นถนนศรีนครินทร์กลายเป็นแหล่งรวมของพื้นที่ค้าปลีกแทบทุกค่าย นอกเหนือจากเจ้าถิ่นดั้งเดิมอย่างศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ แล้วยังมีบิ๊กซี, แม็คโคร, คาร์ฟูร์, เทสโก้ โลตัส, แม็กซ์แวลู (จัสโก้) และพาราไดส์ พาร์ค โครงการใหม่บนพื้นที่เสรีเซ็นเตอร์เดิมที่กลุ่มเอ็มบีเค-สยามพิวรรธน์ วางงบฯ 2,000 ล้านบาท




รวมทั้งกลุ่มเซ็นทรัลที่เตรียมเปิดรูปแบบคอมมิวนิตี้มอลล์โดยมีโฮมเวิร์คและกลุ่มบียูเซ็นทรัลรีเทลเป็นแม่เหล็ก ทั้งหมดล้วนต่างขยับตัวเพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่เริ่มขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

แม้ตลอดทั้งปีนี้กลุ่มทุนค้าปลีกจะซึมซับถึงกำลังซื้อที่ลดลงได้เป็นอย่างดี แต่กลับยังคงเดินหน้าลงทุนโครงการใหม่-รีโนเวตปรับโฉมสาขาเดิมเพื่อรอตลาดในอนาคตที่ตั้งความหวังว่าอีก 1-3 ปีข้างหน้า...น่าจะดีขึ้น

ความน่าสนใจของทำเลแถบชานเมืองเริ่มขึ้นเมื่อกลุ่มลูกค้าหลักของค้าปลีกขยายตัวออกไปตามเมืองและชุมชนใหม่ที่ออกไปสู่รอบนอกต่อเนื่อง โซนกรุงเทพฯฝั่งตะวันออกตลอดช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมาไม่มีศูนย์การค้าใหม่เกิดขึ้นมาเลยโดยเฉพาะในโครงการขนาดใหญ่พื้นที่ตั้งแต่ 1 หมื่น ตร.ม.ขึ้นไปนั้นมีเพียง 3 ค่ายหลัก คือ ซีคอนสแควร์, เซ็นทรัล และเสรีเซ็นเตอร์ ประกอบกับพื้นที่นี้ติดโซนสีส้ม ทำให้โครงการใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้นั้นจึงมักอยู่ในรูปแบบคอมมิวนิตี้มอลล์



การก้าวเข้ามาลงทุนของกลุ่มสยามพิวรรธน์และเอ็มบีเคเพื่อเปิด "พาราไดส์ พาร์ค" จึงกลายเป็นโอกาส "ชฎาทิพ จูตระกูล" หนึ่งในผู้ถือหุ้นโครงการนี้ ชี้ว่า โจทย์สำคัญของการแปลงโฉมให้เป็นห้างแห่งใหม่ที่ทันสมัย เป็นความท้าทายของการทำธุรกิจ เนื่องจากที่ผ่านมาสยามพิวรรธน์แข่งขันอยู่ใจกลางเมืองเป็นหลัก ขั้นตอนตัดสินใจต้องรอบคอบเพื่อให้ได้มาตรฐานแบบศูนย์การค้าที่สมบูรณ์แบบใจกลางเมือง

ด้าน "เซ็นทรัล บางนา" ตั้งเป้าขยายลูกค้าฝั่งกรุงเทพฯตะวันออก ด้วยการลงทุน 300 ล้านบาท ปรับใหญ่โดยตกแต่งภายใน ขยายพื้นที่เพิ่มแผนกและแบรนด์ใหมˆเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า



การสำรวจผ่านบริษัทวิจัยที่ทำแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่พักอาศัยในย่านกรุงเทพฯตะวันออกในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา พบว่าการขยายตัวของลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผลจากการเพิ่มของจำนวนโครงการหมู่บ้านจัดสรรในระดับราคาปานกลาง-ราคาสูงกว่า 70 โครงการ

และพบว่ารายได้ต่อครัวเรือนในพื้นที่ ดังกล่าวกว่า 43% มีสูงกว่า 5 หมื่นบาทต่อเดือน ขณะที่ครัวเรือนทั่วทั้งกรุงเทพฯมีสัดส่วนเพียง 20% และมีครอบครัวถึง 2.8 หมื่นครอบครัว มีรายได้สูงกว่า 1 แสนบาทต่อเดือน สอดคล้องกับพฤติกรรมการจับจ่ายที่ชี้ว่าอันดับแรกของพฤติกรรมลูกค้าตอนนี้ คือเลือกซื้อสินค้าอาหารเข้าบ้าน 2.ออกไปทานอาหารนอกบ้าน และ 3.ช็อปปิ้งเสื้อผ้า แฟชั่นและแอ็กเซสซอรี่ต่างๆ เป็นต้น



เช่นเดียวกับโซนกรุงเทพฯฝั่งตะวันตก ศูนย์การค้าไม่ได้ตั้งเป้าเพียงเพื่อเจาะทาร์เก็ตย่านแจ้งวัฒนะ-งามวงศ์วานเท่านั้น แต่ยังตั้งเป้ากินอาณาเขตไกลถึง นนทบุรี, ปทุมธานี, อยุธยา และสุพรรณบุรี

กลายเป็นทำเลทองหลังภาครัฐพัฒนาพื้นที่เป็นศูนย์ราชการ ซึ่งการขยายเมืองส่งผลให้เกิดชุมชนใหม่ๆ โดยเฉพาะหมู่บ้านเกรดเอกว่า 50 หมู่บ้าน อาทิ นิชาดา, Grand Cannel, ลัดดาวัลย์, เศรษฐสิริ โรงเรียนนานาชาติชั้นนำ เช่น ISB, Harrow, เซนต์ฟรังฯ ซึ่งถือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญของศูนย์การค้า


"ชำนาญ เมธปรีชากุล" ผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส สายการตลาด เดอะมอลล์ กรุ๊ปชี้ว่า จำนวนหมู่บ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม ระดับราคา 3 ล้านบาทขึ้นไปการเพิ่มขึ้นของประชากรไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคนในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา



ขนานไปกับเส้น "ราชพฤกษ์-พระราม 5" เป็นอีกหนึ่งทำเลทองที่กลุ่มนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีกจับจ้อง ความเคลื่อนไหวของค้าปลีกย่านนี้คือสงครามแย่งชิงกลุ่มลูกค้าที่มีเงินหนาและกำลังซื้อสูง โดยเซ็นทรัลเปิดตัวในรูปแบบสแตนด์อะโลน โดยมีโฮมเวิร์คพร้อมเพาเวอร์บาย-ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต เป็น แม่เหล็ก ห่างออกไปเพียง 1.5 ก.ม.เจ้าถิ่น"โฮมโปร" ได้ซื้อพื้นที่เพิ่มและยกระดับ ศูนย์เป็นคอมมิวนิตี้มอลล์ด้วยการดึง "วิลล่า มาร์เก็ท" ซูเปอร์มาร์เก็ตพรีเมี่ยมมาร่วม

ภาพความเคลื่อนไหวของกลุ่มทุนค้าปลีกที่เทน้ำหนักรุกลูกค้าชานเมืองรอบด้านล้วนเพื่อช่วงชิงกำลังซื้อลูกค้าของกลุ่มใหม่ระหว่างรอเศรษฐกิจมากระตุ้นกำลังซื้อกลุ่มลูกค้าเดิมกลับมา เป็นตัวสะท้อนถึงความไม่หยุดนิ่งและไม่ยอมจำนนต่อปัจจัยลบของกลุ่มทุนค้าปลีกได้เป็นอย่างดี


Reblog this post [with Zemanta]

Monday, September 7, 2009

TCC OPENS FIRST COMMUNIY MALL WITH CARREFOUR

Carrefour BangkokImage via Wikipedia


"ทีซีซีแลนด์"บุกคอมมิวนิตี้มอลล์ ยึดโมเดลตลาดสดควงคาร์ฟูร์เปิดไซซ์2พันตร.ม.


"เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี" ปรับโฟกัสมุ่งธุรกิจค้าปลีก ไฟเขียวกลุ่มทีซีซีแลนด์ ดีเวลล็อปเม้นท์ เดินหน้าขยายทั้ง 4 สาขา พันธุ์ทิพย์-ดิจิทัล เกตเวย์-ตะวันนา และน้องใหม่ "เดอะมาร์เก็ต" หมื่น ตร.ม. วางคอนเซ็ปต์คอมมิวนิตี้มอลล์ ขายสินค้าไม่แพง จับลูกค้าชุมชน-ตลาดสด ยึดกรุงเทพฯ-ชานเมือง พร้อมควงคาร์ฟูร์ไซซ์ย่อม 2 พัน ตร.ม. เซ็นสัญญา 15 ปีร่วมดึงลูกค้า



นายชัยพงศ์ ภู่สุนทรศรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส กลุ่มทีซีซีแลนด์ ดีเวลล็อปเม้นท์ บริษัทในเครือของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี สำหรับการเข้าสู่กลุ่มธุรกิจค้าปลีก กล่าวถึงทิศทางการเติบโตของกลุ่มว่า ปัจจุบันบริษัทมี 4 กลุ่มหลัก คือพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า, ตะวันนา พลาซ่า, ดิจิทัล เกตเวย์ และเดอะมาร์เก็ต น้องใหม่ล่าสุดในรูปแบบของคอมมิวนิตี้มอลล์ที่เจาะเข้าชุมชนต่างๆ ในกรุงเทพฯและชานเมือง

โดยจะเป็นการเดินเครื่องขยายสาขาเดอะมาร์เก็ตแบบก้าวกระโดด เนื่องจากค้าปลีกรูปแบบคอมมิวนิตี้มอลล์เป็นเทรนด์ที่มีความต้องการในตลาดเติบโตกว่า 10-20% ทุกปี เห็นได้จากมีผู้ประกอบการหลายๆ รายเข้าสู่ตลาดต่อเนื่อง นอกจากนี้การลงทุนคอมมิวนิตี้มอลล์ยังเป็นการลงทุนที่ไม่สูงมากนัก ใช้งบฯลงทุน 300-400 ล้านบาทต่อสาขา เมื่อเทียบกับการลงทุนใน 3 รูปแบบก่อนหน้านี้ ทั้งพันธุ์ทิพย์ ตะวันนา และดิจิทัล เกตเวย์ ที่ต่างเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้งบฯกว่า 1-2 พันล้าน

ทั้งนี้ นายชัยพงศ์กล่าวว่า กลุ่มตั้งเป้าขยายจำนวนสาขาของคอมมิวนิตี้มอลล์ภายใน 3 ปีนี้ให้ครบ 12 แห่ง หลังจากนำร่องสาขาแรกที่บางโพ และปีหน้าเพิ่มอีก 3 สาขา ย่านเทเวศร์ บางบัวทอง และพุทธมณฑลสาย 4 ในพื้นที่ขนาด 5-8 ไร่ อย่างไรก็ตามรูปแบบเดอะมาร์เก็ตจะโฟกัสเฉพาะในกรุงเทพฯและย่านชานเมือง เนื่องจากเป็นทำเลที่บริษัทมีความแข็งแกร่งและชำนาญในการบริหารมากกว่าที่จะขยายออกไปในต่างจังหวัด


โดยบริษัทได้วางคอนเซ็ปต์ให้เดอะมาร์เก็ต บางโพ เป็นแหล่งพบปะของชุมชน มีความครบถ้วนของสินค้าในราคาที่ไม่แพง เพื่อให้เป็นเหมือนตลาดของชุมชน บนพื้นที่ 1 หมื่น ตร.ม. แบ่งเป็นพื้นที่ขาย 6.5 พัน ตร.ม. ซึ่งมีไฮเปอร์มาร์เก็ต คาร์ฟูร์ ไซซ์ขนาดย่อม 2 พัน ตร.ม. ซึ่งเซ็นสัญญาเช่า 15 ปี เป็นแม่เหล็กในการดึงดูด นอกเหนือจากร้านอาหาร ธนาคาร และร้านค้ารายย่อยประมาณ 250 ร้านค้า ซึ่งจะเปิดให้บริการในวันที่ 4 ตุลาคมนี้ จากปัจจุบันขายพื้นที่แล้ว 90% ในราคา 500 บาทต่อ ตร.ม. เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายชุมชนในรัศมี 2 กิโลเมตร

นอกจากนี้พื้นที่เหลือโดยรอบนอกจากที่จอดรถที่รองรับได้ 250 คันแล้วนั้น ศูนย์จะเปิดเป็นพื้นที่ตลาดนัดให้เช่าขายของตอนเย็นและเสาร์-อาทิตย์แบบเปิดท้ายขายของ ซึ่งมีสินค้าสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนมานำเสนอลูกค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อเติมเต็มทุกความต้องการของตลาด

สำหรับแนวทางการขยายสาขาของ 3 กลุ่มธุรกิจเดิมที่มีแล้วนั้น ผู้บริหารกลุ่มทีซีซีแลนด์ฯชี้ว่า ในช่วง 1-3 ปีหลังจากนี้ พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า จะเพิ่มอีก 1 สาขา ดิจิทัล เกตเวย์ 1-2 สาขา ตะวันนา พลาซ่า อีก 1 สาขา รวมทั้งมีโปรเจ็กต์ใหม่ที่อยากจะทำเพิ่มขึ้นในปีหน้า เป็นคอนเซ็ปต์ "ฟู้ด คอมเพล็กซ์" แหล่งรวม



Reblog this post [with Zemanta]

LinkWithin

Related Posts with Thumbnails