Pages

Monday, March 30, 2009

คาร์ฟูร์ปักธงสาขา 2 หางดง

Carrefour BangkokImage via Wikipedia


ค้าปลีกเชียงใหม่เดือดปลายปีคาร์ฟูร์ยึดพื้นที่อำเภอหางดงปักธงสาขาที่ 2 ชูโมเดลคอมมิวนิตี้มอลล์ เน้นการเติบโตร่วมกับเศรษฐกิจท้องถิ่น เป็นสาขาที่เน้นอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน เปิดตัวเป็นทางการ 19 ธ.ค.นี้

เชียงใหม่นับเป็นสมรภูมิการตลาดของยักษ์ค้าปลีกสมัยใหม่ (modern trade) ที่ได้เข้ามาปักธงครบทุกค่ายก่อนจังหวัดใดๆ และมีการขยายตัวมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ทุกค่ายลงทุนเปิด 2 สาขาเท่ากัน ทั้ง Tesco Lotus, Carrefour, Big C และ Makro

นายเสกสรร ไตรอุโฆษ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท เซ็นคาร์ จำกัด ผู้บริหารคาร์ฟูร์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในวันที่ 19 ธ.ค.2551 คาร์ฟูร์จะเปิดตัวสาขาหางดง ซึ่งเป็นสาขาที่ 2 ของ จ.เชียงใหม่ บนพื้นที่กว่า 20 ไร่ พื้นที่โครงการ 6,000 ตารางเมตร ตั้งอยู่ห่างจากตัว อ.หางดงไปทางทิศใต้ 3 กิโลเมตร ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าสาขาแรก ใช้งบฯลงทุนประมาณ 150 ล้านบาท

การออกแบบสาขานี้มุ่งเน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม-พลังงาน มีที่จอดรถที่อยู่ใต้ร่มไม้ การก่อสร้างจะรักษาภูมิทัศน์เดิมให้มากที่สุดตามข้อเสนอแนะของทางจังหวัดและอำเภอหางดง คาดว่าต้นเดือน ธ.ค.นี้การก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์

นอกจากนี้ ยังได้วางรูปแบบสาขาหางดงให้เป็นลักษณะคอมมิวนิตี้มอลล์ เน้นการเติบโตร่วมกับเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยจะนำสินค้ามาจากซัพพลายเออร์ท้องถิ่นประมาณ 95% ทั้งงานหัตถกรรม สินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงการจ้างงานกว่า 150 คนก็จะใช้คนในท้องถิ่นเป็นหลัก

ซึ่งการขยายสาขาเพิ่มของคาร์ฟูร์ครั้งนี้มองว่าเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจที่เติบโตสูงและมีแนวโน้มที่ดี แม้จะมีคู่แข่งมากในหลายระดับทั้งโมเดิร์นเทรด ห้างสรรพสินค้า รวมถึงคอมมิวนิตี้มอลล์ของท้องถิ่น เช่น ริมปิง ซึ่งเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูง และสะท้อนว่าเชียงใหม่มีผู้บริโภคที่มีรสนิยมที่ดี




สำหรับยอดขายโดยรวมของห้างคาร์ฟูร์ในปี 2551 มียอดขายเพิ่มขึ้น 12-15%

หากประเมินสถานการณ์ในปี 2552 คาดว่าจะมีความลำบากอันเนื่องมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐและของโลก ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งทางตรง และทางอ้อมในด้านการท่องเที่ยวและการส่งออก ส่วนธุรกิจค้าปลีกค้าส่งนั้นกำลังซื้อในกลุ่มสินค้าเสื้อผ้าและเครื่องไฟฟ้าก็คงจะลดลงแน่นอน สำหรับยอดขายของ จ.เชียงใหม่ในภาพรวมก็สอดคล้องกับการเติบโตระดับประเทศ

"ทางคาร์ฟูร์มีนโยบายชัดเจนที่ต้องการให้ชุมชน-ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นเป็นหลัก ซึ่งจะต้องเข้าใจถึงเป้าหมายว่าเราจะต้องให้เกิดการแข่งขันในตลาดให้สูงสุด เพราะมิเช่นนั้นก็จะเกิดการผูกขาดหรือ monopoly ในตลาด ซึ่งผลสุดท้ายก็จะทำให้รายเล็กอยู่รอดไม่ได้เพราะทำให้กลไกการแข่งขันไม่เกิดขึ้น และกรณีของการออก พ.ร.บ. ค้าปลีกค้าส่งก็เช่นกันที่ทางคาร์ฟูร์ก็ให้การสนับสนุนเพื่อสร้างกลไกไม่ให้เกิดการผูกขาด รวมถึงต้องสร้างดุลกับซัพพลายเออร์ด้วย" นายเสกสรรกล่าว

ด้านนายสุรพล สัตยารักษ์ นายอำเภอหางดง เปิดเผยว่า ประชาชนในพื้นที่ อ.หางดง ไม่มีการคัดค้านโครงการลงทุน ดังกล่าว คาร์ฟูร์ได้มีการทำประชาพิจารณ์ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ก็ยอมรับและเห็นว่าจะส่งผลดีในเชิงเศรษฐกิจ ขณะที่ผู้ลงทุนก็พยายามเข้าถึงชุมชนในหลายๆ รูปแบบ โดยเฉพาะการส่งเสริมสินค้าหัตถกรรมในท้องถิ่นจากผู้ผลิต รวมถึงการส่งเสริมการจ้างงานในพื้นที่




Reblog this post [with Zemanta]

Sunday, March 29, 2009

เทสโก้ เฉลยคีย์...ค้าปลีก ยึดลูกค้าเป็นที่ตั้ง รายได้เป็นเรื่องรอง

หลังจากเปิดตัวโมเดลใหม่ "พลัส" ศรีนครินทร์ เมื่อปลายปีก่อน ภารกิจการสร้างแบรนด์ใหม่ของเทสโก้ โลตัส ยังคงดำเนินต่อไป ท่ามกลางความท้าทายจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลกระทบกับกำลังซื้อของลูกค้าและร้านค้าผู้เช่าพื้นที่

ล่าสุด "วีณา อรัญญเกษม" รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายบริหารพื้นที่เช่าและสื่อโฆษณา เทสโก้ โลตัส ให้สัมภาษณ์กับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงแนวทางผลักดันให้ "พลัส" เติบโตสมฐานะโมเดลธุรกิจใหม่ของยักษ์ค้าปลีก

- หลังเปิดตัวถึงวันนี้ผลตอบรับของ "พลัส" ศรีนครินทร์ เป็นอย่างไร

ที่ผ่านมาไฮเปอร์มาร์เก็ตมีช็อปปิ้งมอลล์กันทุกค่าย แต่ช่วง 5 ปีมานี้ เราเริ่มคิดให้แตกต่าง โดยทำ customer focus มากขึ้น โดยจะมองและหาคำตอบว่าอะไรคือความต้องการของผู้บริโภค และจะถามลูกค้าว่าอยากจะได้อะไร ต้องการอะไร เพื่อจะนำไปทำแผนเพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภค นี่คือจุดแข็งของเทสโก้ ทั้งในสหราชอาณาจักร (UK) และทั่วโลก

สำหรับพลัส ศรีนครินทร์ ตอนนี้ตัวเลขคนเข้าศูนย์เพิ่มขึ้น 30-40% หรือฟู้ดคอร์ต ตอนนี้มีคนใช้บริการ 63% จากแต่ก่อนมีเพียง 23% นอกจากนี้ยังมีเอาต์ดอร์ พลาซ่า ที่พัฒนาขึ้นใหม่กลายเป็นคอมมิวนิตี้ให้ คนเดินเล่นช็อปปิ้งตอนเย็น ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดผู้เช่าที่ยั่งยืน ส่งผลให้ "พลัส" มีอัตราพื้นที่เช่าว่างต่ำมาก คือไม่เกิน 2%

- การเพิ่มพื้นที่เช่ามากขึ้นดังกล่าวจะเป็นการช่วยให้เทสโก้มีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย

รายได้เป็นเรื่องรอง และอยู่ใต้เงื่อนไขว่าเราต้องบริหารให้ผู้เช่ามีความสุข โดยหลักแล้วมาจาก opportunity แต่แน่นอน คุณเข้าใจถูก พอเราไปเปิด รายได้จากพื้นที่เช่ามันอยู่ยั้งยืนยงแน่นอน แต่ต้องตราบเท่าที่เราบริหารให้เขามีความสุขอยู่กับเรา โดยเฉพาะเมื่อเราไปเปิดในกลางจังหวัดเล็ก ถ้าเราไม่ดูแลเขา เวลาเขาออกเนี่ย ลำบากนะ มันเสียเงินเสียทองเพื่อจะบินไปดีลกับเขา มันยากนะ

หลักการของเราอีกอันหนึ่งก็คือว่า ถ้าเราไปต่างจังหวัด เราจะเน้นให้ 50-60% ของคู่ค้าเป็นคนท้องถิ่น อย่างเช่นแบล็คแคนยอน เราก็ไปหาคู่ค้าให้ แล้วลูกค้าก็มาซื้อไลเซนส์แบล็คแคนยอน แม้กระทั่งพิซซ่า เราก็ช่วยเขาติดต่อ 













- ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อ ทำให้การบริหารพื้นที่เช่ายากขึ้นหรือไม่


วิธีการทำงานหลักๆ เทสโก้ โลตัสจะให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้า โดยเลือกผู้เช่าหรือธุรกิจที่ตอบสนองคนในพื้นที่ ถือเป็นการการันตีความสำเร็จในเบื้องต้น ส่วนกรณีที่ ผู้เช่าหรือธุรกิจไม่เคยทำงานร่วมกันมาก่อนเราก็ต้องช่วยพัฒนาและแนะนำแนวทางให้ โดยมีผู้จัดการฝ่ายพื้นที่เช่าคอย

ตรวจเยี่ยมร้านอยู่เสมอ ทำให้สามารถช่วยเหลือผู้เช่าในเรื่องต่างๆ ได้ ที่ผ่านมาก็ช่วยเหลือบางร้านด้วยการทำโปรโมชั่นร่วมกัน โดยให้ลูกค้าแสดงใบเสร็จเทสโก้เพื่อรับส่วนลดของร้าน

นอกจากนี้เพื่อกระตุ้นให้มีลูกค้าเข้ามาหมุนเวียนในศูนย์ เทสโก้มีทีมงานที่จะคอยดูแล อาทิ การจัดอีเวนต์ตามซีซันนิ่งต่างๆ เช่น สงกรานต์ ปีใหม่ คริสต์มาส รวมทั้งอีเวนต์อื่นๆ เข้ามาเสริม เช่น มินิมอเตอร์โชว์ คอนเสิร์ต โดยพยายามดึงผู้เช่าเข้ามาร่วม ตรงนี้มองว่าหากไม่ดูแลผู้เช่าให้ดีพอเขาย้ายออกจะลำบากมาก เพราะต้องเสียเวลาไปติดต่อหารายใหม่

- ถึงวันนี้ถือว่า "พลัส" ประสบความสำเร็จแล้วหรือยัง และต้องปรับปรุงอะไรบ้าง

อย่าใช้คำว่าสำเร็จเลย เรียกว่ามาถูกทางดีกว่า เพราะตอนนี้ พลัส ศรีนครินทร์ เป็นที่รู้จักและถูกใจลูกค้า ด้วยการใช้หลักการตลาดง่ายๆ คือหาสิ่งที่ลูกค้าต้องการ แล้วจากนี้ไปคงต้องทำอะไรเพิ่มอีกหลายอย่าง

- ปีนี้จะเห็นโมเดล พลัส อีกกี่แห่ง

คงมีที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ชลบุรี ที่เดียว ส่วนที่จะรีโนเวตคงเป็นปีหน้า เพราะต้องระมัดระวังเรื่องการใช้เงิน ความจริงแล้วสาขาที่จะรีโนเวตก็ยังทำยอดขายได้อยู่

- จากการตอบรับของพลัสดังกล่าว ตอนนี้เวตติ้งลิสต์ "พลัส" ที่กำลังจะเปิดมีมากน้อยเพียงใด

น่าจะเปิดได้ไม่ยาก แต่ก็ต้องดูความสำเร็จจากที่ศรีนครินทร์ด้วย เพราะถึงจะสร้างการรับรู้แบรนด์พลัสไปแล้ว แต่ก็ยังต้องมีแผนต่อ เพื่อจะ build ลูกค้าไปสู่สาขา ต่อไป และเนื่องจากเราเน้นความต้องการลูกค้า ตอนนี้ก็ต้องทำวิจัยที่อมตะนครต่อไป

ประชากรที่นั่นส่วนใหญ่เป็นคนที่อยู่ในโรงงาน ดังนั้นสินค้าหรือบริการที่จะเข้าไป อาจไม่เหมือนกับที่ศรีนครินทร์ เพราะกลุ่มเป้าหมายไม่เหมือนกัน และช็อปปิ้งมอลล์ ไม่ได้ขนาดใหญ่เท่าช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ เราจะใส่ทุกอย่างเข้าไปไม่ได้ จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายว่าจะทำอย่างไรให้ลูกค้าเข้ามาแล้วรู้สึกว่าเรามีครบทุกอย่าง

- กับคอมมิวนิตี้มอลล์ที่มีอยู่จะต้องทำอะไรเพิ่มบ้าง

ปีนี้ maintaine คงยังไม่เปิดเพิ่ม และจะทำตลาดคอมมิวนิตี้มอลล์ทั้ง 7 สาขา แบบคอนเซอร์เวย์ทีฟ เพราะคอมมิวนิตี้มอลล์จะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจมากกว่า เนื่องจากขนาดเล็กกว่าพลัส ประกอบกับสินค้าน็อนฟู้ดปีนี้แย่กว่าปีก่อน และต้องดูอีกว่าสินค้ากลุ่มไหนยังเติบโตก็ดันต่อด้วยการหาพื้นที่เช่าให้มากขึ้น เพื่อให้เป็นตัวเรียกลูกค้า เช่นกลุ่มเฮลท์แอนด์บิวตี้ ส่วนกลุ่มไหนที่นิ่งไป หรือติดลบ ก็ต้องปรับ

ในอนาคตต้องมีการทำอะไรเพิ่มเติมในโมเดลนี้อีกแน่นอน

- คอมมิวนิตี้มอลล์ที่มีอยู่ มีที่ไหนที่สำเร็จ และที่ไหนบ้างต้องปรับ

โดยส่วนตัวยังไม่ค่อยแฮปปี้นัก ตอนนี้ที่ดี มีที่ทาวน์อินทาวน์กับหาดราไวย์ ส่วนที่อื่นถือว่าพออยู่ได้ แต่ต้องมีการปรับเพื่อให้ลูกค้าสะดวกและได้ของที่ต้องการมากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลจากการวิจัย และเนื่องจากเป็นโมเดลที่ลอนช์ในช่วงเศรษฐกิจผันผวน จึงต้องระวัง เพื่อจะทำหรือช่วยให้ ผู้เช่าอยู่ได้ ซึ่งยอมรับว่าคอมมิวนี้ตี้มอลล์ ไม่เหมือนมอลล์ใหญ่ๆ ที่ไม่ต้องทำอะไร ลูกค้าก็มา ต้องมีฝ่ายที่ช่วยจัดกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้ของโลเกชั่น

หลักๆ ปีนี้จะต้องกลับมาดูว่าจะทำ อย่างไรให้ขั้นตอนการทำงานของเราดีขึ้น ทั้งการคัดเลือกผู้เช่า สินค้า และบริการ ต้องกลับมาดูงานในบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการเทรนพนักงาน เพราะธุรกิจช็อปปิ้งมอลล์ไม่มีหลักสูตรสอนในประเทศไทย บุคลากรหายาก เราก็ต้องพัฒนาเขามากขึ้น เพราะโอกาสในการทำช็อปปิ้งมอลล์ยังมีอีกมาก แต่เราก็ต้องก้าวอย่างระมัดระวัง

- ตอนนี้เทสโก้ โลตัสเหลือใบอนุญาตการเปิดธุรกิจค้าปลีกมากน้อยแค่ไหน

ต้องบอกว่ายังคงหาอยู่ เพราะการทำธุรกิจค้าปลีก โลเกชั่น คือปัจจัยตัวแรกของความสำเร็จ ถ้าเรื่องโลเกชั่นพลาดก็จบ ดังนั้นปีนี้เราคงต้องบอกว่าเป็นเรื่องของความระมัดระวังมากขึ้นในการหาโลเกชั่น และต้องหาให้ได้ในทำเลที่ดีจริงๆ



นโยบายหลักของเทสโก้ โลตัส คือ การพยายามพาตัวเราเข้าไปใกล้ลูกค้า strategy การทำงาน คือ Tesco for all เราจะไปในที่ที่มีลูกค้า เราขายของกินของใช้ก็ต้องพาตัวเองเข้าไปหาลูกค้า เมื่อคอนเซ็ปต์ของเรา คือ ประหยัด เราไปหาเขา เราก็ทำให้เขาประหยัดจริงๆ ทั้งประหยัดการเดินทาง และประหยัดหลายๆ อย่าง นี่คือคอนเซ็ปต์ของการทำงานว่าเราเอาลูกค้าเป็นที่ตั้ง




Reblog this post [with Zemanta]

Friday, March 27, 2009

Tesco to be world no. 2 retailer by 2012

TescoImage via Wikipedia

Britain's Tesco PLC will overtake France's Carrefour SA to become the world's second-largest retailer by turnover behind U.S.-based Wal-Mart Stores Inc. by 2012, according to an industry report released on Tuesday.


The report by international food and grocery expert IGD forecasts Tesco to grow at an average of 11 percent between 2007 and 2012, compared with 7 percent growth for Carrefour.


IGD said that international expansion in markets such as China, the United States and India will contribute to Tesco's annual turnover reaching $157.1 billion by 2012, just pipping Carrefour with turnover of $157 billion by the same date.


Jonathan Gunz, a senior business analyst at IGD, said emerging markets will not be immune to the global economic slowdown, but the pace of growth will continue to outstrip that of the developed world.

"We estimate that in grocery, retail markets in China and India will each grow at a compound annual rate of 13.2 percent between 2008 and 2012, exceeding any other country in the top ten," he said. "Other emerging markets to watch include Indonesia, Ukraine and Vietnam."


Tesco revealed last week that its international business, particularly in Asia, remains strong as it reported that worldwide sales rose 11.7 percent in the third quarter, compared to the same period a year ago.


In the trading update, the company added that it remains on track to open several new stores in its international division this year, which will provide around eight million square feet of new selling space.


The IGD report also showed that Wal-Mart will remain the clear front-runner in the global retail industry, with annual turnover expected to rise by around $100 billion to $476.2 billion in 2012.

Reblog this post [with Zemanta]

LinkWithin

Related Posts with Thumbnails